วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สงครามเย็นครั้งใหม่ new cold war

สงครามเย็นครั้งใหม่  new cold war  กับผม เรืออู

สงครามเย็นได้จบลงไปแล้วหลังการล่มสลายของ สหภาพโซเวียด

แต่ตอนนี้สงครามเย็นได้กลับมาอีกครั้ง ระหว่าง คู่เดิม คือ สหรัฐอเมริกา นำโดย ประธานาธิบดี บารัค โอบามา และ รัสเซีย (อดีตสหภาพโซเวียดเดิม) นำโดย วลาดีมีร์ ปูติน

ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปัญหา สงครามในซีเรีย ที่ไม่ต่างไปจาก อดีต สงครามโซเวียดกับอัฟกานิสถาน  สงครามเวียดนาม ที่เห็นจะหนักที่สุดคือ สงครามในยูเครน ที่ต่างฝ่ายต่างหนุนหลังกันสุดกำลัง

ทั้งสงครามทางเศรษฐกิจ

เหตุเครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสายการเงินมาเลเซีย เที่ยวบิน MH17ถูกยิงตกในเขตยูเครนตะวันออก ที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน

กลายเป็นชนวนให้อเมริกา ประกาศมาตรการคว่ำบาตรชุดใหม่ทันที คว่ำบาตรในหมวดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พลังงาน และธนาคาร ด้านอียูดำเนินนโยบายตามสหรัฐ คว่ำบาตรกิจการด้านตลาดทุน การป้องกันประเทศ สินค้าที่ใช้ประโยชน์ได้สองทาง (dual use goods) และด้านพลังงาน

ทางรัสเซียได้ตอบโต้ทันควันโดยการประกาศ จะหยุดส่งพลังงานให้กับ อียู ระงับการนำเข้าสินค้าเกษตร อาหาร และวัตถุดิบทำเอาเศรษฐกิจ มีทีท่าจะเสียหายหนักทั้ง2ฝ่าย  ในรอบนี้ รัสเซียหันไปจับมือกันจีน และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นแนวร่วมทางเศรษฐกิจ อย่าง BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้)

ความตึงเครียดระหว่างเริ่มทวีความรุนแรง จนทั้ง2 ประเทศต้อง มีขยับตัวกันรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้น

จนทางอเมริกา ต้องปัดฝุ่นกลับมาใช้ ฐานทัพลับใต้ภูเขาไชแอนน์ (Cheyenne Mountain Complex) รัฐโคโลราโด หลังปิดไปเมื่อ 10 ก่อน หลังเห็นว่ารัสเซียไม่เป็ยภับคุกคาม หนึ่งในสัญลักษณ์ที่ยังหลงเหลือของอดีตสงครามเย็นถูกปัดฝุ่นกลับมานำใช้งานอีกครั้ง หลังเพนตากอนสั่งให้มีการปรับปรุงล่าสุด รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารใหม่ทั้งหมด  บังเกอร์นิวเคลียร์แห่งนี้อยู่ลึกลงไปใต้ภูเขาไชแอนน์ร่วม 620 เมตร เคยถูกใช้เป็นฐานบัญชาการของ NORAD ศูนย์ควบคุมป้องกันภัยทางอากาศสหรัฐฯ เพื่อค้นหามิสไซล์สัญชาติรัสเซีย และยังเป็นศูนย์กองบัญชาการเหนือแห่งสหรัฐฯ (US Northern Command) ในกรณีเกิดเหตุสงครามโลกครั้งที่ 3

ภาพฐานบัญชาการ NORAD


ทางรัสเซียก็ไม่อยู่เฉย กำลังเปิดใช้สถานีเรดาร์ยุคสหภาพโซเวียต บนคาบสมุทรไครเมียอีกครั้ง เพื่อใช้เตือนภัยการโจมตีด้วยขีปนาวุธ เช่นกัน สถานีเรดาร์ในเมืองท่าเซวาสโตปอลของไครเมีย จะสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้งในปี 2559 หลังถูกปรับปรุงให้ทันสมัย และระบบเตือนภัยขีปนาวุธทางอากาศ "ดนิโปร" ของสถานีดังกล่าว ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยของกองทัพรัสเซีย และยัง  ปัดฝุ่นตกลงร่วมกับคิวบาในการเปิดในการเปิด “ฐาน Lourdes” ศูนย์บัญชาการจารกรรมทางระบบอิเล็กทรอนิกของรัสเซียบนเกาะคิวบาที่เคยใช้ในยุคสงครามเย็นในสมัยอดีตสหภาพโซเวียต  ฐาน Lourdes ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงฮาวานา คิวบา ห่างจากสหรัฐฯ ไปเพียง 250 กิโลเมตร

สงครามเย็นรอบใหม่นี้  ประเทศต่างๆรอบก็โดนลูกหลงจากมหาอำนาจโดยได้รับผลกระทบไปเช่นกัน ทางด้านเศรษฐกิจ ในการ คว่ำบาทกันไปมา จนทำให้สินค้าตกค้าง  เน่าเสีย เดือดร้อนไปตามๆกัน

สงครามเย็นรอบใหม่นี้อาจทวีความรุนแรงไปถึงปัญหานิวเคลียร์อีกครั้ง ทำให้ทั้งโลกต้องกลับมาสะพรึงกลัวภัยของนิวเคลียร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น