วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การส่งราชบรรณาการของสยาม ต่อประเทศจีน ทำเอาทางจีนขาดทุนกันเลยทีเดียว


การส่งราชบรรณาการของสยาม ต่อประเทศจีน ทำเอาทางจีนขาดทุนกันเลยทีเดียว
หนังสือหลักฐานที่กล่าวถึงราชทูตไทยไปกรุงปักกิ่งครั้งสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาโบราณโน้นก็มี กล่าวว่าเครื่องบรรณาการที่ไทยเอาไปกำนัลเมืองจีนนั้นมีเป็นต้นก็คือ ข้าง นกกระเรียน ขนนกกระเต็น นอแรด หมี ชะนีเผือก พริกไทย แก่นไม้หอม ฯลฯ และสิ่งของที่ราชทูตไทยได้รับพระราชทานเป็นการตอบแทนมาจากเมืองจีนนั้นก็คือ เครื่องหยก ผ้าแพร เครื่องแก้ว เครื่องถ้วย เป็นต้น ล้วนเป็นของมีราคาหายากในเมืองไทยมาทุกครั้ง”
ในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หยวน มีบันทึกว่า พ.ศ.๑๘๒๕ รับสั่งให้ฮ่อจือจี้ยศทหารนายพล กับ ฮวงโพเกี๊ยกยศทหารนายพันมาเยี่ยมสยาม (เสียม) แต่ทั้งสองได้มาถึงสยามหรือป่าวหรือป่าว ไม่มีการบันทึกต่อ แต่มีบันทึกว่า ทั้งสองถูกเจ้าเขมรฆ่าตายในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๖ ส่งทูตมาชักชวนสยาม (ให้ไปขึ้นกับจีนอีก) แต่สยามยังคงไม่ตอบ ฉะนั้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๗ เดือนที่ ๗ จึงมีพระราชองค์องค์การณ์รับสั่งให้ดันมุติง (กรมเตง กะมะระเตง ภาษา เขมร) เป็นสรรพนามของกษัตริย์) มาเฝ้า ถ้ามีเหตุขัดข้องให้ส่งรัชทายาท มาเป็นตัวจำนำ (ในจีน) แต่สยามสมัยนั้น ซึ่งเป็นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงคงไม่เสด็จไปแน่ เพราะไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการเสด็จ (ซึ่งถ้ามีจะต้องมีการบันทึกเป็นการใหญ่) ต่อแต่นั้นมาก็มีบันทึกว่าสยามไปถวายราชบรรณาการเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง และมาถึง พ.ศ. ๒๓๙๖ ซึ่งเป็นสมัยของรัชการที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ จึงไม่มีการถวายราชบรรณาการ
การถวายราชบรรณาการ ทางจีนรู้สึกเหมือนถูกต้ม เพราะปรากฎว่า ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ แนะนำให้ทำการ ต้มจีน การที่นำเรือมาถวายราชบรรณาการพอสมควรแล้วถือโอกาสทำการค้าของหนีภาษี เพราะเรือราชบรรณาการ จะไม่ถูกตรวจค้น นอกจากของที่ถวายแล้ว นอกนั้นทำการค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี ซ้ำยังซื้อของจีนได้ด้วย ในบันทึกปรากฏว่า ล่ามคณะทูตสยามแทนที่จะกลับสยามกลับพากันไปแวะที่นครนานกิง สั่งทอไหมพิเศษรับซื้อเด็กชายหญิงไปด้วย เรือถวายราชบรรณาการการเป็นกองเรือขนาดใหญ่มีเรือติดตามตั้ง ๒๒ ลำ และทางจีนต้องทำการรับรองคณะทูตขนาดมหึมาก็เป็นภาระของทางจีนไม่น้อยเลยทีเดียว เพราต้องประทานของตามมารยาทของจีน และต้องรับรองอยู่นาน ต่อมาจึงได้มีการออกพระราชองค์การหลายครั้งห้ามพวกเอ็งมาถวายบ่อยๆ และเพิ่มเวลาเป็น ๕ ปีพวกเอ็งค่อยมา ๑ ครั้งพอ และครั้งหนึ่งให้มีเรือได้ไม่เกิน ๓ ลำ คือเรือราชบรรณาการ เรือสำรองละเรือพิทักษ์ และห้ามให้เรือลำหนึ่งๆ มีคนเกิน ๒๑ คน นอกนั้นให้อยู่ที่กวางตุ้งและจะไม่มีการรับรอง แต่ก็ยังไปค้าขายกับกวางตุ้ง ทางจีนจึงได้กำหนดให้เรือราชบรรณาการนั้นจะต้องมีหนังสือ ขั่มฮะ เพื่อพิสูจว่าถูกต้องไม่ได้ปลอมมา ถ้ามาถวายราชบรรณาการจะต้องนำหนังสือมาด้วย มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นทูตที่มาราชบรรณาการ
การส่งคณะทูตไทยไปจิ้มก้องถึงเมืองจีนมีความหมายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง กล่าวคือ
๑.ทางด้านเศรษฐกิจ คือ พ่อค้าไทยสามารถแต่งสำเภาไปค้าขายและซื้อสินค้าจากจีนโดยได้รับการผ่อนปรนระเบียบกฎเกณฑ์อันเข้มงวด เช่น ได้รับการยกเว้นภาษี เป็นต้น และทำให้จีนเป็นแหล่งระบายสินค้าขนาดใหญ่จากสยาม
๒.ทางด้านการเมือง คือได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีนในฐานะมิตรประเทศ ที่มิใช่ศัตรู ประชาชนของทั้ง ๒ ประเทศสามารถติดต่อถึงกันโดยสะดว ก บ้านเมืองก็เป็นปกติสุข สยามอยู่ในฐานะประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งจากจีน
๓.ทางด้านต่างประเทศ ทำให้สยามถูกยอมรับในระดับนานาชาติจากมิตรประเทศอื่นๆ ที่ติดต่อค้าขายและมีสัมพันธ์อยู่กับจีน ทั้งยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และการต่างประเทศ เนื่องจากมีพ่อค้าและนักการทูตจากที่ไกลๆ เดินทางเข้ามาติดต่อกับจีน ก็พลอยได้วิสาสะคุ้นเคย แล ะทราบข้อมูลข่าวสารจากสยามด้วย โดยใช้เมืองกวางตุ้งและกรุงปักกิ่งเป็นศูนย์กลาง
๔.ทางด้านสังคม การได้คบค้าสมาคมกับจีน ทำให้สยามมีพันธมิตรใหญ่ที่มีศักยภาพสูง มิใช่เฉพาะกับผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีป แต่ยังเป็นอู่อารยธรรมอุดมปัญญา และศูนย์วิทยาการชั้นสูง ส่งเสริมให้สยามรัฐได้รับการถ่ายทอด และปลูกฝังภูมิปัญญา รวมทั้งศิลปวิทยาที่เป็ นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคม สร้างแนวคิด ทัศนคติ และอุดมคติให้กับผู้นำประเทศ ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง จนถึงประชาชนอย่างมีระบบและมีส่วนสำคัญในการวางรากฐาน โครงสร้างทางสังคมของสยามรัฐในสมัยรัตนโกสินทร์
การไปจิ้มก้องยังเมืองจีน นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และการค้าขายแล้วยังมีนัยยะอื่นๆ ที่รัฐบาลสยามพอจะรับได้ แม้ต้องยอมตกอยู่ในฐ านะเมืองขึ้นของจีนก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น ทว่าที่สำคัญคือ อภิสิทธิ์พิเศษมากมายที่จะติดตามมาโดยเฉพาะผลประโยชน์ทางการเมือง การต่างประเทศและทางสังคม
ภาพประกอบโพสเป็น
ภาพวาดอันอลังการของการเข้าเฝ้าออกใหญ่ ณ พระราชวังกรุงปักกิ่งของคณะราชทูตจากสยามประเทศ
ทูลเชิญพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการจากพระเจ้ากรุงสยามไปจิ้มก้องพระเจ้าเฉียนหลง
ในปี ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔) สันนิษฐานว่าเป็นคณะของพระยาสุนทรอภัย ราชทูตจากสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรีซึ่งเดินทางกลับเข้ามา ค.ศ. ๑๗๘๓ เมื่อผลัดแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว (ไกรฤกษ์ นานา ประมูล
ภาพนี้กลัีบมาจากปารีส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
เครดิต จากหนังสือ...ศิลปวัฒนธรรม
เครดิต จากหนงสือ...ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ฟูนากิ นักมวยปล้ำตัวฮาแห่ง wwe ประวัติเรื่องราวและ รวมคลิปเก่าๆ ที่โดนคนอื่นกระทืบตลอด


ฟูนากิ

ฟูนากิ คือชื่อที่แฟนมวยปล้ำชาวไทยรู้จักกันดี  ด้วยการที่ฟูนากิมักถูกประกบคู่กับตัวท๊อปของwwe เสมอจึงโดนกระทืบอย่างง่ายดาย แทบไม่ต้องออกแรงมาก  ถึงแม้บางครั้ง(ย้ำว่าบางครั้ง) จะเจอคู่ต่อสู้ที่สูสี แต่สุดท้ายอิตาฟูนากิ ก็แพ้อยู่ดี  มีครั้งหนึ่ง ศึก Royal Rumble จำปีไม่ได้ อัดกันมั่วไปหมดหลายคน  อิตาฟูนากิ มาทีหลัง และมาไวไปไวมาก แกขึ้นเชือกหวังเท่กระโดดใส่คนอื่น ที่ไหนได้ก็โดดมาเจอจับคือโยนออกนอกเวที น่าจะเป็นการตกเวทีไวมาก ไม่ถึง1นาทีเลยมั้ง ถ้าผู้บรรยายไม่บอกนี่ไม่เห็นเลยนะเพราะไวมาก   ฟูนากิ นั้นก็ใช่ว่าจะแพ้เสมอไป เพราะเพื่อนอย่าง ทาจิริ ที่เห็นชนะครั้งแรกก็ปล้ำแบบคู่กับเพื่อนร่วมชาติอย่างทาจิริ อิตา ฟูนากิ ก็โดนอัดสะยับตามเคย แต่ยังดีทาจิริช่วยให้ชนะมาได้ ทั้งที่สภาพฟูนากิ ยับเยิน  และ ปล้ำเดี่ยวที่เห็นชนะ ก็คือชนะ ทาจิริเพื่อนร่วมชาตินี่แหละ  และครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือศึก batter royal ปี 2004 แบบต่อยกันมั่วหลายคน ฟูนากิ เป็นผู้ชนะยืนบนเวลาทีคนสุดท้ายทั้งที่โดนอัดตลอด คนอื่นจัดการกันเองหมด เหลือ3คน อิตาฟูนากิกำลังเมาหมัดอยู่  หันมาเจอเค้ากำลังจะยกกันตกเวลา แกเลยดันออกไปพร้อมกัน2 คนตกเวที แกได้แชมสะงั้น  มีคลิปด้านล่าง
  เห็นหน้าแกแล้วฮาทุกที คู่ต่อสู้แกในคลิปที่พอหาได้ ก็มี 1.Brock lesnar 2.Big show 3.Khali 4.Jhon cena  5.edge 6.Mark henry และอื่นๆในคลิปด้านล่าง



วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างแรกของภาพยนต์สงครามเรื่องใหม่ Dunkirk พร้อมประวัติย่อยุทธการดันเคิร์ก







ยุทธการดันเคิร์กคือหนึ่งในศึกครั้งใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ในขณะนั้นกองกำลังขนาดใหญ่ของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสถูกล้อมไว้โดยหมู่ยานเกราะเยอรมัน ซึ่งครอบครองอาณาบริเวณตลอดชายฝั่งช่องแคบที่เมืองคาเลส์ ทหารสัมพันธมิตรกว่า 330,000 นายสามารถอพยพผ่านทางทะเลมาได้
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่กองพลยานเกราะของเยอรมันถูกฮิตเลอร์สั่งหยุดนั้น เนื่องจากฮิตเลอร์มีความต้องการที่จะปล่อยให้พวกอังกฤษ ข้ามช่องแคบกลับไปอย่างง่ายดาย คำสั่งนี้ถูกท้วงติงอย่างหนักจากนักการทหารระดับสูงของเยอรมัน เพราะทั้งๆที่สามารถทำลาย หรือจับทหารพันธมิตรเป็นเชลยได้ทั้งหมด แต่เพราะฮิตเลอร์ มีความคิดที่ว่า ชาวเยอรมันและชาวอังกฤษนั้น มีความใกล้เคียงกันทางสายเลือด ถือว่าเป็นเผ่าพันธุ์ชั้นสูง หรือ master race ซึ่งในประวัติศาสตร์แล้ว ชาวอังกฤษทางตอนใต้นั้นก็คือ พวกเยอรมัน ฮิตเลอร์จึงสั่งกองพลยานเกราะหยุด เพื่อหวังว่าอังกฤษจะยอมรับคำขอสงบศึกและเป็นพันธมิตรกับตน แต่อังกฤษปฏิเสธมาตลอดจนจบสงคราม นี่คือความผิดพลาดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของฮิตเลอร์