วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การส่งราชบรรณาการของสยาม ต่อประเทศจีน ทำเอาทางจีนขาดทุนกันเลยทีเดียว


การส่งราชบรรณาการของสยาม ต่อประเทศจีน ทำเอาทางจีนขาดทุนกันเลยทีเดียว
หนังสือหลักฐานที่กล่าวถึงราชทูตไทยไปกรุงปักกิ่งครั้งสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาโบราณโน้นก็มี กล่าวว่าเครื่องบรรณาการที่ไทยเอาไปกำนัลเมืองจีนนั้นมีเป็นต้นก็คือ ข้าง นกกระเรียน ขนนกกระเต็น นอแรด หมี ชะนีเผือก พริกไทย แก่นไม้หอม ฯลฯ และสิ่งของที่ราชทูตไทยได้รับพระราชทานเป็นการตอบแทนมาจากเมืองจีนนั้นก็คือ เครื่องหยก ผ้าแพร เครื่องแก้ว เครื่องถ้วย เป็นต้น ล้วนเป็นของมีราคาหายากในเมืองไทยมาทุกครั้ง”
ในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หยวน มีบันทึกว่า พ.ศ.๑๘๒๕ รับสั่งให้ฮ่อจือจี้ยศทหารนายพล กับ ฮวงโพเกี๊ยกยศทหารนายพันมาเยี่ยมสยาม (เสียม) แต่ทั้งสองได้มาถึงสยามหรือป่าวหรือป่าว ไม่มีการบันทึกต่อ แต่มีบันทึกว่า ทั้งสองถูกเจ้าเขมรฆ่าตายในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๖ ส่งทูตมาชักชวนสยาม (ให้ไปขึ้นกับจีนอีก) แต่สยามยังคงไม่ตอบ ฉะนั้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๗ เดือนที่ ๗ จึงมีพระราชองค์องค์การณ์รับสั่งให้ดันมุติง (กรมเตง กะมะระเตง ภาษา เขมร) เป็นสรรพนามของกษัตริย์) มาเฝ้า ถ้ามีเหตุขัดข้องให้ส่งรัชทายาท มาเป็นตัวจำนำ (ในจีน) แต่สยามสมัยนั้น ซึ่งเป็นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงคงไม่เสด็จไปแน่ เพราะไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการเสด็จ (ซึ่งถ้ามีจะต้องมีการบันทึกเป็นการใหญ่) ต่อแต่นั้นมาก็มีบันทึกว่าสยามไปถวายราชบรรณาการเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง และมาถึง พ.ศ. ๒๓๙๖ ซึ่งเป็นสมัยของรัชการที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ จึงไม่มีการถวายราชบรรณาการ
การถวายราชบรรณาการ ทางจีนรู้สึกเหมือนถูกต้ม เพราะปรากฎว่า ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ แนะนำให้ทำการ ต้มจีน การที่นำเรือมาถวายราชบรรณาการพอสมควรแล้วถือโอกาสทำการค้าของหนีภาษี เพราะเรือราชบรรณาการ จะไม่ถูกตรวจค้น นอกจากของที่ถวายแล้ว นอกนั้นทำการค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี ซ้ำยังซื้อของจีนได้ด้วย ในบันทึกปรากฏว่า ล่ามคณะทูตสยามแทนที่จะกลับสยามกลับพากันไปแวะที่นครนานกิง สั่งทอไหมพิเศษรับซื้อเด็กชายหญิงไปด้วย เรือถวายราชบรรณาการการเป็นกองเรือขนาดใหญ่มีเรือติดตามตั้ง ๒๒ ลำ และทางจีนต้องทำการรับรองคณะทูตขนาดมหึมาก็เป็นภาระของทางจีนไม่น้อยเลยทีเดียว เพราต้องประทานของตามมารยาทของจีน และต้องรับรองอยู่นาน ต่อมาจึงได้มีการออกพระราชองค์การหลายครั้งห้ามพวกเอ็งมาถวายบ่อยๆ และเพิ่มเวลาเป็น ๕ ปีพวกเอ็งค่อยมา ๑ ครั้งพอ และครั้งหนึ่งให้มีเรือได้ไม่เกิน ๓ ลำ คือเรือราชบรรณาการ เรือสำรองละเรือพิทักษ์ และห้ามให้เรือลำหนึ่งๆ มีคนเกิน ๒๑ คน นอกนั้นให้อยู่ที่กวางตุ้งและจะไม่มีการรับรอง แต่ก็ยังไปค้าขายกับกวางตุ้ง ทางจีนจึงได้กำหนดให้เรือราชบรรณาการนั้นจะต้องมีหนังสือ ขั่มฮะ เพื่อพิสูจว่าถูกต้องไม่ได้ปลอมมา ถ้ามาถวายราชบรรณาการจะต้องนำหนังสือมาด้วย มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นทูตที่มาราชบรรณาการ
การส่งคณะทูตไทยไปจิ้มก้องถึงเมืองจีนมีความหมายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง กล่าวคือ
๑.ทางด้านเศรษฐกิจ คือ พ่อค้าไทยสามารถแต่งสำเภาไปค้าขายและซื้อสินค้าจากจีนโดยได้รับการผ่อนปรนระเบียบกฎเกณฑ์อันเข้มงวด เช่น ได้รับการยกเว้นภาษี เป็นต้น และทำให้จีนเป็นแหล่งระบายสินค้าขนาดใหญ่จากสยาม
๒.ทางด้านการเมือง คือได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีนในฐานะมิตรประเทศ ที่มิใช่ศัตรู ประชาชนของทั้ง ๒ ประเทศสามารถติดต่อถึงกันโดยสะดว ก บ้านเมืองก็เป็นปกติสุข สยามอยู่ในฐานะประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งจากจีน
๓.ทางด้านต่างประเทศ ทำให้สยามถูกยอมรับในระดับนานาชาติจากมิตรประเทศอื่นๆ ที่ติดต่อค้าขายและมีสัมพันธ์อยู่กับจีน ทั้งยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และการต่างประเทศ เนื่องจากมีพ่อค้าและนักการทูตจากที่ไกลๆ เดินทางเข้ามาติดต่อกับจีน ก็พลอยได้วิสาสะคุ้นเคย แล ะทราบข้อมูลข่าวสารจากสยามด้วย โดยใช้เมืองกวางตุ้งและกรุงปักกิ่งเป็นศูนย์กลาง
๔.ทางด้านสังคม การได้คบค้าสมาคมกับจีน ทำให้สยามมีพันธมิตรใหญ่ที่มีศักยภาพสูง มิใช่เฉพาะกับผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีป แต่ยังเป็นอู่อารยธรรมอุดมปัญญา และศูนย์วิทยาการชั้นสูง ส่งเสริมให้สยามรัฐได้รับการถ่ายทอด และปลูกฝังภูมิปัญญา รวมทั้งศิลปวิทยาที่เป็ นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคม สร้างแนวคิด ทัศนคติ และอุดมคติให้กับผู้นำประเทศ ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง จนถึงประชาชนอย่างมีระบบและมีส่วนสำคัญในการวางรากฐาน โครงสร้างทางสังคมของสยามรัฐในสมัยรัตนโกสินทร์
การไปจิ้มก้องยังเมืองจีน นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และการค้าขายแล้วยังมีนัยยะอื่นๆ ที่รัฐบาลสยามพอจะรับได้ แม้ต้องยอมตกอยู่ในฐ านะเมืองขึ้นของจีนก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น ทว่าที่สำคัญคือ อภิสิทธิ์พิเศษมากมายที่จะติดตามมาโดยเฉพาะผลประโยชน์ทางการเมือง การต่างประเทศและทางสังคม
ภาพประกอบโพสเป็น
ภาพวาดอันอลังการของการเข้าเฝ้าออกใหญ่ ณ พระราชวังกรุงปักกิ่งของคณะราชทูตจากสยามประเทศ
ทูลเชิญพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการจากพระเจ้ากรุงสยามไปจิ้มก้องพระเจ้าเฉียนหลง
ในปี ค.ศ. ๑๗๘๑ (พ.ศ. ๒๓๒๔) สันนิษฐานว่าเป็นคณะของพระยาสุนทรอภัย ราชทูตจากสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรีซึ่งเดินทางกลับเข้ามา ค.ศ. ๑๗๘๓ เมื่อผลัดแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว (ไกรฤกษ์ นานา ประมูล
ภาพนี้กลัีบมาจากปารีส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
เครดิต จากหนังสือ...ศิลปวัฒนธรรม
เครดิต จากหนงสือ...ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น