วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เหลือเชื่อ F-5 ไทย 2ลำโดน SAM ยิงยังกลับฐานได้


เหลือเชื่อ F-5 ไทย 2ลำโดน SAM ยิงยังกลับฐานได้ 

ลำแรกโดนยิง ในการรบกับกองกำลังต่างชาติ(เวียดนาม) ที่ช่องโอบก F-5E Serial Number 91686 จากฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี บินโดย น.ต.สุรศักดิ์ บุญเปรมปรี (ยศครั้งสุดท้าย พล.อ.ต.) ขึ้นบินปฏิบัติการกิจสนับสนุนทางอากาศ (Close Air Support: CAS) ให้กับกองกำลังฝ่ายไทย ในการนี้ เครื่องบิน F-5E ของเราถูกจรวด SAM-7 ยิงจนเครื่องยนต์ด้านขวาพัง นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่กองบิน 21 อุบลได้อย่างปลอดภัย

ลำที่สองโดนยิง ในการรบที่บ้านร่มเกล้า เครื่องบิน F-5B ของฝูง 231 กองบิน 23 อุดร Serial Number 400778 บินโดย น.ต. ธีระพงษ์ วรรณสำเริง (ยศครั้งสุดท้าย พล.อ.ต.) และ ร.ต. ณฤทธิ์ สุดใจธรรม (ยศครั้งสุดท้าย น.อ.) อีกเครื่องก็ถูกยิงด้วยจรวด SAM เครื่องยนต์ด้านขวาพัง นักบินได้นำเครื่องลงจอดอย่างปลอดภัย

หมายเหตุ: ภาพและข้อมูลทั้งหมดขอขอบคุณพ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์ กูรูเครื่องบินไทยครับ
เครดิต http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=12-05-2006&group=2&blog=1

bhanbhagta gurung นักรบกรุข่าสุดโหด เก็บทหารญี่ปุ่น

bhanbhagta gurung นักรบกรุข่าสุดโหด

ทหารกรุข่ามีชื่อเสียงว่าเป็นนักรบที่ดีที่สุดแนวหน้าของโลกเลยทีเดียว วรีกรรมของ gurung หนึ่งในนักรบรับจ้างกรุข่าของกองทัพอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง gurung สร้างผลงานมากมาย 

5มีนาคม 1943 ที่ประเทศพม่า ขณะที่หน่วยของ เขา ทำการสู้รบในป่าของพม่า เพื่อนในหน่วยของ เขา ถูกลอบยิงเสียชีวิตและบาดเจ็บ หลายนาย แต่ไม่สามารถตอบโต้คืนได้เพราะไม่รู้ตำแหน่งของวิถีกระสุน และกระสุนของ เขา เหลือไม่มากแล้ว เขาใจเย็นค่อยๆหาตำแหน่งของศัตรู จนพบและเก็บไปทีล่ะคนอย่างแม่นยำ
หลังจากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น เขา วิ่งออกไปยังบังเกอร์ลังปืนกลของ ทหารญี่ปุ่นเขา วิ่งฝ่าดงกระสุนจนถึงรังปืนกล และโยนระเบิดมือ2ลูกติดๆกัน ทหารญี่ปุ่น2นาย เสียชีวิตทันที เขายังไม่หยุดและวิ่งไปเคลียร์หลุมบังเกอร์ต่อไป ทหารญี่ปุ่น2นายในบังเกอร์ดังกล่าวเสียชีวิตด้วยดาบปลายปืนของเขา และบังเกอร์ต่อมา ทันใดนั้นเขาวิ่งไปเหยียบหลังคาบังเกอร์และใช้ระเบิดเพลิง โยนเข้าไปในบังเกอร์ ทหารญี่ปุ่น2นายที่อยู่ข้างในต่างถูกเผา และบังเกอร์อีกแห่งเขาใช้ก้อนหินเป็นอาวุธ พลปืนกลที่เหลือจนเสียชีวิต หลังสินสงครามเขาได้รับเหรียญมากมาย เขาเสียชีวิตเมื่อปี 2008 อายุ86 ปี

สงครามอังกฤษ ปะทะ กรุข่า เผ่าพันธ์นักรบ

Anglo-Nepalese War

กรุข่า vs 1.East India Company 2.Garhwal Kingdom 3.Patiala State 

ในปี 1814-1816 อังกฤษในนาม East India Company ส่งกองกำลังกว่า 30000 บุก กรุข่าที่มีกำลัง ประมาณ 12000 คน แต่ไม่สามารถเอาชนะได้โดยง่าย จึงเปลี่ยนจากรบให้ชนะเป็นเจรจาเอามาเป็นพวกแทน 

ตัวอย่างความกล้าหาญของทหารกรุข่า ระหว่างการต่อสู้อย่างดุเดือด ทหารกรุข่า 600 คนปกป้อมป้อมปราการที่เนินเขา จากการสู้รบทหารกรุข่า เสียชีวิตไปกว่า 520 คน จาก 600 แต่พวกที่เหลือก็ยังสู้ต่อไปอย่างกล้าหาญ

เล่ากันว่า มีทหารกรุข่าเหลือเพียงคนเดียวและถูกฝ่ายอังกฤษรุมจับตัวไว้ได้ และถามว่าทำไมไม่หนีไป ทหารกรุข่าคนนั้น ตอบสั้นๆเพียงว่า เขาไม่ได้มาเพื่อหนี เขามาเพื่อที่จะที่จะสู้

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ในขณะที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเมืองนานกิงและได้กระทำการ"การข่มขืน" ผู้หญิงพลเรือนจำนวนกว่า 20,000 - 80,000คน (ไม่มีบันทึกที่แน่นอน) และสังหารหมู่ชาวจีนอย่างโหดร้ายทารุนเป็นจำนวนมากกว่า300.000ราย(ไม่มีใครกล้าคิดถึงตัวเลขที่แท้จริง) ภายในเวลาไม่ถึงเดือน อย่างบ้าคลั่ง

ยอน ราเบอ เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันและสมาชิกพรรคนาซีผู้เป็นที่รู้จักกันในความพยายามที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่ในเมืองนานกิงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองนานกิง และการทำงานของเขาในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจีนในช่วงเหตุการณ์การสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงที่เขาช่วยสร้างขึ้นนั้น ได้กลายมาเป็นที่พำนักและช่วยให้ชาวจีนประมาณ 200,000-250.000 คน รอดจากการสังหารหมู่

ขณะที่ราเบอและผู้บริหารเขตปลอดภัยนานกิงพยายามอย่างกระวนกระวายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เขาได้ใช้สถานภาพสมาชิกพรรคนาซีเพื่อรับรอง แต่ก็ทำได้แค่เพียงชะลอเหตุการณ์ออกไปเท่านั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยหลายพันคนหลบหนีไปได้ สารคดี "นานกิง" ได้ยกย่องเขาว่าได้ช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนกว่า 250,000 คน และกล่าวกันว่าราเบอได้สละที่ดินของเขาเพื่อช่วยเหลือชาวจีนอีกด้วย

ในที่ 28 กุมภาพันธ์ ราเบอเดินทางออกจากนานกิงตามคำสั่งเพื่อรักษาสัมพันธภาพระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่นในเวลานั้น เขาได้เดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้ก่อนจะกลับเยอรมนี โดยได้นำเอาหลักฐานบันทึกความรุนแรงที่กระทำโดยกองทัพญี่ปุ่นในนานกิงจำนวนมากกลับไปด้วย

ราเบอได้แสดงภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่ายของความรุนแรงของญี่ปุ่นในการบรรยายนำเสนอในเบอร์ลิน และเขียนถึงฮิตเลอร์ให้เขาใช้อิทธิพลเพื่อเกลี้ยกล่อมให้ญี่ปุ่นยุติความรุนแรงขาดมนุษยธรรมเพิ่มอีก ผลคือ ราเบอถูกจับกุมตัวและได้รับการสอบสวนโดยเกสตาโป จดหมายของเขาไม่เคยส่งถึงฮิตเลอร์ เขาได้รับการปล่อยตัว และได้รับอนุญาตให้เก็บหลักฐานของการสังหารหมู่ได้ ยกเว้นภาพเคลื่อนไหว แต่ไม่อนุญาตให้บรรยายหรือเขียนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

หลังสงคราม ราเบอถูกประณามว่าเป็นสมาชิกพรรคนาซี และถูกจับกุมโดยทางการโซเวียต และทางการอังกฤษตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การสืบสวนสอบสวนไม่พบว่าเขาได้ประทำความผิดแต่อย่างใด จึงได้รับการปล่อยตัว โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 และได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ ครอบครัวของเขา ในช่วงนั้น ยอน ราเบอ มีความเป็นอยู่อย่างลำบากมากๆขาดเงินและอาหารจนต้องอดๆอยากๆ จนกระทั้งเขาได้รับอาหารและพัสดุเงินบางส่วนที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา

ยอน ราเบอ เสียชีวิตในปี 1950 แต่ถึงกระนั้นวีรกรรมของเขายังอยู่ในความทรงจำของชาวจีนและชาวเมืองนานกิง จนถึงทุกวันนี้ ในปี1997 โลงศพของเขาถูกย้ายจากเบอร์ลินไปยังนานกิงที่ซึ่งถูกฝังไว้เป็นเกียรติในแหล่งอนุสรณ์สถานรำลึกถึงการสังหารหมู่

ภาพประกอบเป็นภาพอนุสรณ์สถานยอน ราเบอ ที่เมืองนานกิง
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามชนะประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ

4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อเมริกาประกาศอิสรภาพ

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ


วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เป็นวันที่เหล่าอาณานิคมอเมริกา (American Colonies) ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) สมัยนั้นมีอาณานิคมอเมริกาอยู่ทั้งหมด 13 อาณานิคม คือ
• นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire)
• แมสซาชูเซตส์ (Massachusetts)
• คอนเนตทิคัค (Connecticut)
• โรดไอแลนด์ (Rhode Island)
• นิวยอร์ค (New York)
• เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania)
• นิวเจอร์ซีย์ (New Jersey)
• เดลาแวร์ (Delaware)
• แมริแลนด์ (Maryland)
• เวอร์จิเนีย (Virginia)
• นอร์ทแคโรไลนา (North Carolina)
• เซาท์แคโรไลนา (South Carolina)
• จอร์เจีย (Georgia)

สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และได้รับหลัก “ประกาศความเป็นอิสระ” (Declaration of Independence) ยืนยันความเป็นอิสระของสหรัฐอเมริกา ต่อประเทศอังกฤษในขณะนั้น (Great Britain) และปฏิเสธการอยู่ใต้ระบบกษัตริย์ของอังกฤษ ประกาศอิสรภาพนี้ได้มาหลังจากที่ได้มีการปะทะกันในสงครามปฏิวัติอเมริกัน (American Revolution) ที่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณ Lexington และ Concord ในรัฐแมสสาชูเสต (Massachusetts) เป็นเวลา 442 วัน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาณานิคมอเมริกากับประเทศแม่อย่างอังกฤษ ท้ายสุดกระตุ้นให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาร่วมกับอเมริกาในฐานะผู้รักชาติ (Patriots)

การเริ่มขัดแย้งระหว่างอเมริกากับนโยบายของอังกฤษเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1765 หลังรัฐสภาอังกฤษประกาศขึ้นภาษีอากรแสตมป์ เพื่อจัดเก็บรายได้ไปใช้ในการพัฒนากองทัพอังกฤษในอเมริกา แต่ฝ่ายชาวอาณานิคมอเมริกาไม่เห็นด้วย โดยหลักที่ว่า “ไม่มีการจ่ายภาษีหากไม่มีตัวแทนของชาวอาณานิคมที่จะเป็นตัวแทนในรัฐสภา” (No taxation without representation) ชาวอาณานิคมได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1765 เพื่อประท้วงนโยบายดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ชาวอาณานิคมได้บอยคอตสินค้าจากอังกฤษ มีการจัดกลุ่มโจมตีคลังสินค้าและบ้านเรือนของพนักงานจัดเก็บภาษีของอังกฤษ หลังจากการประท้วงอยู่หลายเดือน รัฐสภาอังกฤษได้ออกเสียงเห็นชอบพระราชบัญญัติยกเลิกการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1766

ชาวอาณานิคมส่วนใหญ่ยังคงยอมรับการปกครองของอังกฤษอย่างเงียบๆ จนกระทั่งรัฐสภาอังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติจัดเก็บภาษีใบชา (Tea Act, 1773) กฏหมายที่กำหนดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกิจการของบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของอังกฤษ โดยลดภาษีอากรใบชาสินค้านำเข้าสู่อังกฤษอย่างมาก แต่ไปเพิ่มภาษีที่จะให้มีการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกา การลดภาษีใบชาก็เพื่อลดการลักลอบนำเข้าชาที่ไม่เสียภาษีโดยพ่อค้าชาวดัช แต่ชาวอาณานิคมมองการขึ้นภาษีและการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกาว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเผด็จการทางภาษี เพื่อเป็นการตอบโต้ ผู้รักชาติหัวรุนแรงในรัฐแมสสาชูเสทได้รวมตัวกัน บุกเข้าทำลายสินค้าใบชาของอังกฤษที่เรียกว่า Boston Tea Party โดยการนำใบช้าที่ปล้นได้มาโยนลงน้ำที่อ่าวเมืองบอสตัน (Boston Harbor)

รัฐสภาอังกฤษโกรธในการกระทำของชาวอาณานิคมที่เข้าทำลายทรัพย์สินของอังกฤษใน Boston Tea party จึงได้ออกกฎหมายบังคับ (Coercive Acts) บางคนเรียกว่า “กฏหมายไม่อดทน” (Intolerable Acts) ในปี ค.ศ. 1774 กฎหมายนี้ทำให้มีการปิดเมืองบอสตันให้ไม่มีการค้าทางเรือ มีการจัดกำลังทัพอังกฤษเพื่อปกครองในรัฐแมสสาชูเสท ทำให้เจ้าหน้าที่ของอังกฤษสามารถปฏิบัติการใดๆได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การศาลของชาวอาณานิคม และทำให้ชาวอาณานิคมต้องจัดหาที่พักให้กับกองทหารของอังกฤษ ผลคือฝ่ายชาวอาณานิคมได้รวมตัวกันประชุมใหญ่ที่เรียกว่า “สภาแห่งภาคพื้นทวีป” (Continental Congress) และเป็นการรวมตัวของชาวอเมริกันเพื่อต่อต้านอังกฤษ

ในขณะที่ชาวอาณานิคมในที่อื่นๆกำลังเฝ้ามอง ชาวแมสสาชูเสทได้นำการต่อสู้กับอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติ มีการจัดทัพเพื่อต่อสู้กับกองทัพของอังกฤษ ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1775 นับเป็นวันเสียงปืนแตก เมื่ออังกฤษสั่งกองทหารเคลื่อนเข้าสู่บริเวณ Concord, MA เพื่อเข้ายึดปืนใหญ่ของฝ่ายกบถ แต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านจากกองกำลังของอเมริกันที่เมือง Lexington

ในระยะนี้ทั้งชาวอเมริกันและอังกฤษมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งระดับสงครามกลางเมือง (Civil war) ภายในจักรวรรดิอังกฤษ สำหรับกษัตริย์อังกฤษ King George III เรียกฝ่ายต่อต้านว่าเป็น “พวกกบถอาณานิคม” (Colonial rebellion) ฝ่ายอเมริกันมองการต่อสู้ว่า เพื่อให้ได้สิทธิอนชอบธรรมในฐานะพลเมืองของอังกฤษ ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษก็ยังแข็งขืน ไม่เปิดให้มีการเจรจากับกบถอเมริกัน แต่กลับมีการจ้างทหารรับจ้างเยอรมัน (German mercenaries) เพื่อช่วยกองทัพของอังกฤษบดขยี้ฝ่ายกบถ เพื่อตอบโต้การต่อต้านการปฏิรูปของอังกฤษ สภาแห่งภาคพื้นทวีปก็ได้ออกมาตรการเพื่อเลิกยอมรับอำนาจของอังกฤษที่มีต่ออาณานิคมทั้งหลาย

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1776 Thomas Paine ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนเรื่อง Common Sense ซึ่งเป็นแผ่นปลิวที่มีอิทธิพลทางการเมือง อธิบายว่าทำไมอเมริกันจึงต้องประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ แผ่นปลิวนี้ขายได้ 500,000 แผ่นในเวลาไม่กี่เดือน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1776 กระแสสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของอาณานิคมก็ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกอาณานิคม สภาแห่งภาคพื้นทวีปจึงได้เรียกประชุมและจัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น โดยมีคณะบุคคล 5 คนทำหน้าที่ร่างประกาศอิสรภาพ

คำประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence)

ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 สภาแห่งภาคพื้นทวีปได้ลงมติเห็นชอบข้อเสนอจากเวอจิเนีย(Virginia) ที่ให้แยกตัวออกจากอังกฤษ คำประกาศได้รับการลงมตินี้ ได้แนบประกาศอิสรภาพไปด้วย ใน 2 วันต่อมา คือวันที่ 4 กรกฎาคม คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดย 12 อาณานิคมโดยมีข้อแก้ไขเพียงเล็กน้อย อาณานิคมนิวยอร์ค (New York) ได้เห็นชอบในวันที่ 19 กรกฎคม และได้ร่วมลงนามตามหลังมาในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1776

สงครามกับอังกฤษอันเป็นผลจากการประกาศอิสรภาพได้ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี และยุติลงเมื่อฝ่ายผู้รักชาติ (Patriots) ได้ชนะการรบที่ Saratoga ท่ามกลางอากาศหนาว ในช่วงฤดูร้อนที่ Valley forge และด้วยกำลังสนับสนุนโดยฝ่ายฝรั่งเศส ที่ทำให้ได้รับชัยชนะครั้งสุดท้ายที่เมือง Yorktown ในปี ค.ศ. 1781 และในปี ค.ศ. 1783 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญปารีสกับฝ่ายอังกฤษ สหรัฐอเมริกา (The United States) สหรัฐอเมริกาจึงได้เป็นประเทศเสรีและอิสระนับแต่นั้นมา

แอดมินโค้ก

ขอบคุณเครดิต
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=361
ขอบคุณเครดิต
http://pracob.blogspot.com/2011/07/4-1776.html

สนธิสัญญา10ข้อในช่วง รศ112.ที่ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนาม และอนุสัญญาหรือสัญญาน้อย (Convention)อีก 6 ข้อ

สนธิสัญญา 10 ข้อมีใจความดังนี้

...1.สยามยอมสละเสียซึ่งข้ออ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นทั่วไปในดินแดน ณ ฝั่งซ้ายฟากตะวันออกแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้นด้วย

2.ห้ามไม่ให้สยามมีเรือรบใหญ่น้อยไปไว้ฤาใช้เดินในทะเลสาบก็ดี ในแม่น้ำโขงก็ดี แลในลำน้ำแยกจากแม่น้ำโขง ซึ้งอยู่ในที่อันได้มีกำหนดไว้ในข้อต่อไปนี้

3.สยามจะไม่สร้างด่าน ค่าย คู ฤาที่อยู่ของพลทหารในแขวงเมืองพระตะบอง แลเมืองนครเสียมราฐ แลในจังหวัด 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาฝากตะวันตกแม่น้ำโขง

4.ในจังหวัดที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 3 นั้น บรรดากรตระเวนรักษา จะมีแต่กรมการเจ้าพนักงานเมืองนั้นๆกับคนใช้กำลังแต่เพียงที่จำเป็นแท้ แลทำการตามอย่างเช่นเคย รักษาในธรรมเนียมในที่นั้น จะไม่มีพลประจำ ฤาพลเกณฑ์ด้วยศาสตราวุธอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งอยู่ที่นั้นด้วย

5.สยามจะรับปฤกษากับฝรั่งเศสภายในกำหนดหกเดือนตั้งแต่นี้ไปในการที่จะจัดการเป็นวิธีการค้าขาย แลวิธีตั้งโรงด่านโรงภาษีในที่ตำบลซึ้งได้กล่าวไว้ในข้อ 3 นั้นแลในการที่จะแก้ไขขอความสัญญา

6.การซึ่งจะอุดหนุนการเดินเรือ ในแม่น้ำโขงนั้นจะมีการจำเป็นที่จะทำได้ในฝั่งฟากตะวันตกแม่น้ำโขงโดยการก่อสร้างก็ดี ตัวท่าเรือจอดก็ดี ทำที่ไว้ฟืนและถ่านก็ดี สยามรับว่า เมื่อฝรั่งเศสขอแล้วจะช่วยตามการจำเป็นที่จะทำให้สะดวกทุกอย่างเพื่อประโยชน์นั้น

7.คนชาวเมืองฝรั่งเศสก็ดี คนในบังคับฤาคนอยู่ในการปกครองฝรั่งเศสก็ดี ไปมาค้าขายได้โดยสะดวกในตำบลซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อ 3 เมื่อถือหนังสือเดินทางของเจ้าพนักงานฝรั่งเศสในตำบลนั้น ออกให้ฝ่ายราษฎรในจังหวัดอันได้กล่าวไว้นี้ จะได้รับผลเป็นการตอบแทนอย่างเดียวกันด้วยเหมือนกัน

8.ฝรั่งเศส จะตั้งกงสุลได้ในที่ใดๆซึ่งจะคิดเห็นว่าเป็นการสมควรแก่ประโยชน์ของคนผู้อยู่ในความป้องกันของฝรั่งเศส แลมีที่เมืองนครราชสีมาแลน่านเป็นต้น

9.ถ้าความขัดข้องไม่ต้องกัน ในความหมายของหนังสือสัญญานี้แล้ว ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นจะเป็นหลัก

10.สัญญานี้จะตรวจแก้เป็นใช้ได้ในเวลา 4 เดือนนับตั้งแต่วันลงชื่อกันนี้

รางอนุสัญญา 6 ข้อ มีใจความดังนี้
1.ถอนด่านฝั่งซ้ายอย่างช้าเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายนในเสร็จ
2.ให้รื้อถอนป้อมค่ายในจังหวัดที่สงวนไว้ให้ทั้งหมด
3.ผู้ก่อเหตุที่ทุ่งเชียงคำ กับคำมวนนั้นชำระพร้อมกัน ณ กงสุล
4.ให้ปล่อยคนญวน เขมร ลาว ฟากโน้นไปตามใจชอบ
5.ให้ส่งบางเบียน กับพวกที่กงสุลกรุงเทพกับของที่เก็บริบมา
6.ฝรั่งเศสจะอยู่จันทบุรีจนกว่าจะเรียบร้อยในฝั่งซ้ายและในจังหวัดอันสงวนไว้ฝั่งขวา

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

ดร็อกบา ฮีโร่ ผู้หยุดสงครามกลางเมือง5ปี ประเทศ โกตดิวัวร์

Didier Drogba นักฟุตบอลทีมชาติ โกตติวัวร์ และตำนานของทีมเชลซี   หลายคนรู้จัก ดร๊อกบา จากฟุตบอล และ มองดร๊อกบาว่าเกเร โดนตั้งฉายาต่างๆนาๆในทางลบ   แต่ที่เประของเขา ดร๊อกบา มีสถานะ ประดุจดัง ฮีโร่  เขาบริจากเงินสร้างโรงพยาบาล และตั้งมูลนิธิ ดร๊อกบาช่วยเหลือคนมากมาย และเขา ยังทำสิ่งที่เหลือเชื่อคือ เป็นแรงบรรดารใจให้คนในชาติ หยุดการขัดแย้ง และยุติสงครามกลางเมือง อันโหดร้าย ยาวนานถึง5 ปี

ดร๊อกบา ได้อัดเทป ส่งข้อความแห่งสันติภาพ สื่อไปหาทุกคนในประเทศ

“พี่น้องชาวไอวอรีโคสต์ ไม่ว่าจะจากทางเหนือ ใต้ กลาง หรือตะวันตก เราได้แสดงให้เห็นในวันนี้แล้วว่า การเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อเป้าหมายคือ ผ่านเข้าฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เราให้สัญญาว่าการเฉลิมฉลองครั้งนี้จะทำให้ผู้คนเป็นหนึ่งเดียว และวันนี้เราจึงอยากจะคุกเข่าขอร้องด้วยคำสามคำ
ให้อภัย ให้อภัย และให้อภัย
ประเทศที่ยิ่งใหญ่แห่งแอฟริกาไม่ควรจะต้องมาเจออะไรแบบนี้ กรุณาวางอาวุธ ให้มีการเลือกตั้ง แล้วเราจะดีขึ้น “
ในฐานะนักฟุตบอลมันก็คงไม่ควรจะมาพูดอะไรเกี่ยวกับการมุ้งการเมืองเช่นนี้ แต่ในฐานะชาวไอวอเรียนแล้ว มันคือสิ่งที่ใครหลายคนได้แต่เฝ้าฝันถึงมัน
สันติภาพ

คลิป



มันเป็นเพียงก้าวแรกของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าที่กำลังจะตามมา
ดร็อกบากล่าวว่า
“ผมจากไอวอรีโคสต์ไปด้วยภาพที่อันเลือนราง แต่มันเป็นภาพที่สวยงาม ท้องถนนเต็มไปด้วยความรัก มีแต่สีเขียวของต้นไม้ไปทุกหนทุกแห่ง แต่พอผมกลับมาเมื่อไม่กี่ปีก่อน ผมก็ได้เห็นความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปรไป ผมก็เริ่มตั้งคำถามแล้วว่า นี่มันเกิดบ้าอะไรขึ้นเนี่ย”

“สิ่งที่ผมทำ มันเป็นไปตามสัญชาตญาณ นักเตะทุกคนในทีมชาติต่างเกลียดสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของเรา สิ่งที่เราต้องการมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การที่ไอวอรีโคสต์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนแบบนี้ แต่เรารู้ว่าตอนที่ทีมชาติลงแข่ง ไอวอรีโคสต์ จะกลายเป็นหนึ่งเดียว ผู้คนที่ปกติจะไม่คุยกันเลยเพราะความเห็นต่างทางการเมืองจะมาร่วมฉลองด้วยกัน เรากำลังพยายามจะใช้สิ่งนี้เพื่อส่งข้อความไปยังนักการเมืองของเราที่จะมานั่งพูดคุยและพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหากัน”
“ผมกำลังรู้สึกว่าไอวอรีโคสต์ กำลังจะกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง”
ไม่น่าเชื่อว่าทุกคนในประเทศหันมาฟังกับสิ่งที่นักเตะผู้เป็นไอคอนของประเทศกำลังพยายามจะส่งสาสน์ถึง ทุกคนรับรู้แล้วว่า มันถึงเวลาที่ความเลวร้ายจากความขัดแย้งทางการเมืองจะถึงคราวยุติเสียที
ดร็อกบายังไม่หยุดเพียงเท่านี้ เหมือนเวลาที่เขาไล่ล่าตาข่ายในสนาม เขาพยายามเปิดเกมส์รุกต่อ คราวนี้ไม่ใช่เพื่อทำประตูของฝั่งตรงข้าม แต่เป็นการทำประตูแห่งสันติภาพ
เขาขอร้องประธานาธิบดีบักบูถึงการหยุดยิงและเจรจาสันติภาพ และเพื่อเป็นการตอกย้ำในเรื่องนั้น ดร็อกบาเสนอให้ทีมชาติไอวอรีโคสต์ไปลงเตะที่บูอาเก้ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายกบฏ มันฟังดูเหมือนข้อเสนอของคนเสียสติ แต่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏต่างเห็นชอบกับแผนการนี้และถือโอกาสนี้เป็นการแสดงออกถึงสันติภาพหลังจากมีการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในเดือนมีนาคมปี 2007
3 มิถุนายน 2007
การแข่งขันชิงแชมป์แห่งทวีปแอฟริกา 2008 รอบคัดเลือก ไอวอรีโคสต์เปิดบ้านรับการมาเยือนของมาดากัสการ์ การแข่งขันนัดนี้มีขึ้นเป็นครั้งแรกที่สนามสต๊าด บูอาเก้ ในเมืองบูอาเก้
ประธานาธิบดี โลร็องต์ บักบู และ หัวหน้าฝ่ายกบฏ กิลโญม โซโร เข้ามานั่งดูการแข่งขันในสนามด้วยกัน มันเป็นภาพที่หาดูได้ยาก เมื่อหัวหน้าของกลุ่มคนที่ไล่ฆ่ากันจะเป็นจะตายในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มานั่งดูฟุตบอลด้วยกันอย่างสงบ ท่ามกลางกองกำลังของทั้งสองฝ่าย อาวุธของพวกเขาในวันนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อสังหารคนที่เห็นต่างกันอีกต่อไป แต่มีไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยเท่านั้น การดูแลความเรียบร้อยในสนามและบริเวณโดยรอบตกลงกันว่าจะเป็นของฝ่ายกบฏที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ โดยมีทหารฝ่ายรัฐบาลและบุคคลสำคัญของประเทศเข้ามาชมการแข่งขันท่ามกลางแฟนบอลแน่นขนัดกว่า 25,000 ชีวิตจากทั่วประเทศ
คู่ขัดแย้งโดยตรง บักบู (ขวา) โซโร (ซ้าย) สองแกนนำของทั้งสองฝ่าย จับมือกันอย่างกับคู่รักเป็นการพิสูจน์ถึงสันติภาพ
แล้วก็มาถึงช่วงเวลาแห่งความน่าประทับใจ เมื่อเสียงเพลงบรรเลงทีมชาติไอวอรีโคสต์ดังขึ้นในสนาม ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน รัฐบาลหรือกบฏ มันไม่สำคัญอีกต่อไป ที่นี่มีเพียงชาวไอวอรีโคสต์เพียงหนึ่งเดียวที่จะร่วมกันร้องเพลงชาติเท่านั้น
ดิดิเย่ร์ ดร็อกบาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากทหารและแฟนบอลในเมืองบูอาเก้ และเขาเป็นคนยิงประตูปิดท้ายในนาทีสุดท้ายในชัยชนะอย่างสวยงาม 5-0 เหนือมาดากัสการ์

เสียงนกหวีดจากผู้ตัดสินเป่าหมดเวลาการแข่งขัน ความโกลาหลก็บังเกิด แฟนบอลพากันปีนรั้วและกระโดดลงสู่สนาม เป้าหมายของพวกเขาอยู่ที่ฮีโร่ของชาตินามว่า ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา พวกทหารของฝ่ายกบฎพยายามกันแฟนบอลให้อยู่ห่างๆเพื่อความปลอดภัย แต่ก็ยอมให้แฟนบอลจับมือและควักโทรศัพท์มือถือออกมาถ่ายรูปได้ แฟนๆยังคงความคลั่งไคล้ในตัวเขาถึงขั้นที่ตามขับรถไปส่งยังสนามบินกันเลยทีเดียว

ผลการแข่งขันหาได้สำคัญเหนือชัยชนะครั้งสำคัญที่มีต่อความเกลียดชังที่แบ่งแยกผู้คนออกเป็นสองฝั่ง เปลวเพลิงกลางสนามสต๊าด บูอาเก้ ในวันนี้หาใช่เปลวเพลิงแห่งการทำลายล้าง แต่มันคือเปลวเพลิงแห่งสันติภาพ ที่เหล่าทหารโยนอาวุธของพวกเขาทิ้งลงไปในกองเพลิง

กองกำลังของทั้งสองฝ่ายเดินสวนสนามร่วมกันและประธานาธิบดีบักบูประกาศให้ชาวไอวอรีโคสต์และชาวโลกรับรู้ว่า สงครามสิ้นสุดแล้ว
22 ธันวาคม 2007
กระบวนการปลดอาวุธของทหารทั้งสองฝ่ายเริ่มต้นขึ้นซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราวสามเดือน ทหารของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏถอนตัวจากบริเวณใกล้แนวกันชนกลับเข้ากรมกองทหารในยามัสซูโครและบูอาเก้ ซึ่งงานนี้ทั้งประธานาธิบดีบักบู และ กิลโญม โซโร แกนนำฝ่ายกบฏเป็นคนควบคุมปฏิบัติการด้วยตนเอง ซึ่งบักบูก็ได้บอกว่า ตอนนี้กองกำลังทหารในแนวหน้าที่เคยตกอยู่ในความขัดแย้งไม่มีอีกแล้ว ส่วนโซโรก็เสริมว่ามันเป็น “จุดเริ่มต้นของการปลดอาวุธอย่างมีประสิทธิภาพ”
ห้าปีแห่งความเลวร้ายที่ทำให้ผู้คนชาติเดียวกันลุกมาเข่นฆ่ากันเองสิ้นสุดลงแล้ว สันติภาพที่ชาวไอวอรีโคสต์รอคอยมานานแสนนานกลับคืนสู่ประเทศอีกครั้ง และสำหรับผู้ที่มีส่วนผลักดันให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้รับความนับถือจากคนทั่วประเทศในฐานะ วีรบุรุษ




กิลโญม โซโร อดีตแกนนำของฝ่ายกบฏในสงครามกลางเมืองครั้งแรกของไอวอรีโคสต์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เขา (ดร็อกบา) เป็นวีรบุรุษของชาติ จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกถึงตะวันตก ชาวไอวอเรียนมีความภาคภูมิใจในตัวเขา หรือผมจะบอกได้อีกอย่างว่า เขาเป็นความภาคภูมิใจแห่งชาวอัฟริกันทั้งหมดทั้งมวล เกมนี้เกิดขึ้นเพราะดร็อกบานำมันมายังบูอาเก้ เพื่อจะสถาปนาความปรองดองและเสริมสร้างสันติภาพ”
ส่วนโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ก็ออกมาชื่นชมการกระทำเพื่อหยุดยั้งสงครามของดร็อกบา แบลร์บอกว่า “ กีฬาเข้าไปถึงในส่วนที่การเมืองไม่สามารถเข้าถึงได้ มันสามารถช่วยขจัดความขัดแย้งในทางที่สิ่งอื่นไม่สามารถทำได้” และเสริมว่า ดร็อกบา ควรได้รับรางวัลด้านมนุษยธรรมสำหรับผลงานของเขาในครั้งนี้

ฮีโร่ หน้าโจรคนนี้ ยังแสดงถึงความมีน้ำใจแต่เพื่อนร่วมชาติ โดยการแบ่งเงินจากรายได้ตัวเองไปสร้างโรงพยาบาลและมูลนิธิช่วยเหลือคนมากมาย อีกด้วย

ฮีโร่หน้าโจรคนนี้ เริ่มดูหล่อขึ้นมาบ้างหรือยังคับผม

ขอบคุณเครดิต กระทู้pantip คุณชายซากุระ https://pantip.com/topic/35053632