วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามชนะประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ

4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อเมริกาประกาศอิสรภาพ

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ


วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เป็นวันที่เหล่าอาณานิคมอเมริกา (American Colonies) ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) สมัยนั้นมีอาณานิคมอเมริกาอยู่ทั้งหมด 13 อาณานิคม คือ
• นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire)
• แมสซาชูเซตส์ (Massachusetts)
• คอนเนตทิคัค (Connecticut)
• โรดไอแลนด์ (Rhode Island)
• นิวยอร์ค (New York)
• เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania)
• นิวเจอร์ซีย์ (New Jersey)
• เดลาแวร์ (Delaware)
• แมริแลนด์ (Maryland)
• เวอร์จิเนีย (Virginia)
• นอร์ทแคโรไลนา (North Carolina)
• เซาท์แคโรไลนา (South Carolina)
• จอร์เจีย (Georgia)

สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และได้รับหลัก “ประกาศความเป็นอิสระ” (Declaration of Independence) ยืนยันความเป็นอิสระของสหรัฐอเมริกา ต่อประเทศอังกฤษในขณะนั้น (Great Britain) และปฏิเสธการอยู่ใต้ระบบกษัตริย์ของอังกฤษ ประกาศอิสรภาพนี้ได้มาหลังจากที่ได้มีการปะทะกันในสงครามปฏิวัติอเมริกัน (American Revolution) ที่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณ Lexington และ Concord ในรัฐแมสสาชูเสต (Massachusetts) เป็นเวลา 442 วัน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาณานิคมอเมริกากับประเทศแม่อย่างอังกฤษ ท้ายสุดกระตุ้นให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาร่วมกับอเมริกาในฐานะผู้รักชาติ (Patriots)

การเริ่มขัดแย้งระหว่างอเมริกากับนโยบายของอังกฤษเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1765 หลังรัฐสภาอังกฤษประกาศขึ้นภาษีอากรแสตมป์ เพื่อจัดเก็บรายได้ไปใช้ในการพัฒนากองทัพอังกฤษในอเมริกา แต่ฝ่ายชาวอาณานิคมอเมริกาไม่เห็นด้วย โดยหลักที่ว่า “ไม่มีการจ่ายภาษีหากไม่มีตัวแทนของชาวอาณานิคมที่จะเป็นตัวแทนในรัฐสภา” (No taxation without representation) ชาวอาณานิคมได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1765 เพื่อประท้วงนโยบายดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ชาวอาณานิคมได้บอยคอตสินค้าจากอังกฤษ มีการจัดกลุ่มโจมตีคลังสินค้าและบ้านเรือนของพนักงานจัดเก็บภาษีของอังกฤษ หลังจากการประท้วงอยู่หลายเดือน รัฐสภาอังกฤษได้ออกเสียงเห็นชอบพระราชบัญญัติยกเลิกการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1766

ชาวอาณานิคมส่วนใหญ่ยังคงยอมรับการปกครองของอังกฤษอย่างเงียบๆ จนกระทั่งรัฐสภาอังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติจัดเก็บภาษีใบชา (Tea Act, 1773) กฏหมายที่กำหนดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกิจการของบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของอังกฤษ โดยลดภาษีอากรใบชาสินค้านำเข้าสู่อังกฤษอย่างมาก แต่ไปเพิ่มภาษีที่จะให้มีการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกา การลดภาษีใบชาก็เพื่อลดการลักลอบนำเข้าชาที่ไม่เสียภาษีโดยพ่อค้าชาวดัช แต่ชาวอาณานิคมมองการขึ้นภาษีและการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกาว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเผด็จการทางภาษี เพื่อเป็นการตอบโต้ ผู้รักชาติหัวรุนแรงในรัฐแมสสาชูเสทได้รวมตัวกัน บุกเข้าทำลายสินค้าใบชาของอังกฤษที่เรียกว่า Boston Tea Party โดยการนำใบช้าที่ปล้นได้มาโยนลงน้ำที่อ่าวเมืองบอสตัน (Boston Harbor)

รัฐสภาอังกฤษโกรธในการกระทำของชาวอาณานิคมที่เข้าทำลายทรัพย์สินของอังกฤษใน Boston Tea party จึงได้ออกกฎหมายบังคับ (Coercive Acts) บางคนเรียกว่า “กฏหมายไม่อดทน” (Intolerable Acts) ในปี ค.ศ. 1774 กฎหมายนี้ทำให้มีการปิดเมืองบอสตันให้ไม่มีการค้าทางเรือ มีการจัดกำลังทัพอังกฤษเพื่อปกครองในรัฐแมสสาชูเสท ทำให้เจ้าหน้าที่ของอังกฤษสามารถปฏิบัติการใดๆได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การศาลของชาวอาณานิคม และทำให้ชาวอาณานิคมต้องจัดหาที่พักให้กับกองทหารของอังกฤษ ผลคือฝ่ายชาวอาณานิคมได้รวมตัวกันประชุมใหญ่ที่เรียกว่า “สภาแห่งภาคพื้นทวีป” (Continental Congress) และเป็นการรวมตัวของชาวอเมริกันเพื่อต่อต้านอังกฤษ

ในขณะที่ชาวอาณานิคมในที่อื่นๆกำลังเฝ้ามอง ชาวแมสสาชูเสทได้นำการต่อสู้กับอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติ มีการจัดทัพเพื่อต่อสู้กับกองทัพของอังกฤษ ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1775 นับเป็นวันเสียงปืนแตก เมื่ออังกฤษสั่งกองทหารเคลื่อนเข้าสู่บริเวณ Concord, MA เพื่อเข้ายึดปืนใหญ่ของฝ่ายกบถ แต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านจากกองกำลังของอเมริกันที่เมือง Lexington

ในระยะนี้ทั้งชาวอเมริกันและอังกฤษมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งระดับสงครามกลางเมือง (Civil war) ภายในจักรวรรดิอังกฤษ สำหรับกษัตริย์อังกฤษ King George III เรียกฝ่ายต่อต้านว่าเป็น “พวกกบถอาณานิคม” (Colonial rebellion) ฝ่ายอเมริกันมองการต่อสู้ว่า เพื่อให้ได้สิทธิอนชอบธรรมในฐานะพลเมืองของอังกฤษ ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษก็ยังแข็งขืน ไม่เปิดให้มีการเจรจากับกบถอเมริกัน แต่กลับมีการจ้างทหารรับจ้างเยอรมัน (German mercenaries) เพื่อช่วยกองทัพของอังกฤษบดขยี้ฝ่ายกบถ เพื่อตอบโต้การต่อต้านการปฏิรูปของอังกฤษ สภาแห่งภาคพื้นทวีปก็ได้ออกมาตรการเพื่อเลิกยอมรับอำนาจของอังกฤษที่มีต่ออาณานิคมทั้งหลาย

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1776 Thomas Paine ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนเรื่อง Common Sense ซึ่งเป็นแผ่นปลิวที่มีอิทธิพลทางการเมือง อธิบายว่าทำไมอเมริกันจึงต้องประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ แผ่นปลิวนี้ขายได้ 500,000 แผ่นในเวลาไม่กี่เดือน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1776 กระแสสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของอาณานิคมก็ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกอาณานิคม สภาแห่งภาคพื้นทวีปจึงได้เรียกประชุมและจัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น โดยมีคณะบุคคล 5 คนทำหน้าที่ร่างประกาศอิสรภาพ

คำประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence)

ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 สภาแห่งภาคพื้นทวีปได้ลงมติเห็นชอบข้อเสนอจากเวอจิเนีย(Virginia) ที่ให้แยกตัวออกจากอังกฤษ คำประกาศได้รับการลงมตินี้ ได้แนบประกาศอิสรภาพไปด้วย ใน 2 วันต่อมา คือวันที่ 4 กรกฎาคม คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดย 12 อาณานิคมโดยมีข้อแก้ไขเพียงเล็กน้อย อาณานิคมนิวยอร์ค (New York) ได้เห็นชอบในวันที่ 19 กรกฎคม และได้ร่วมลงนามตามหลังมาในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1776

สงครามกับอังกฤษอันเป็นผลจากการประกาศอิสรภาพได้ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี และยุติลงเมื่อฝ่ายผู้รักชาติ (Patriots) ได้ชนะการรบที่ Saratoga ท่ามกลางอากาศหนาว ในช่วงฤดูร้อนที่ Valley forge และด้วยกำลังสนับสนุนโดยฝ่ายฝรั่งเศส ที่ทำให้ได้รับชัยชนะครั้งสุดท้ายที่เมือง Yorktown ในปี ค.ศ. 1781 และในปี ค.ศ. 1783 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญปารีสกับฝ่ายอังกฤษ สหรัฐอเมริกา (The United States) สหรัฐอเมริกาจึงได้เป็นประเทศเสรีและอิสระนับแต่นั้นมา

แอดมินโค้ก

ขอบคุณเครดิต
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=361
ขอบคุณเครดิต
http://pracob.blogspot.com/2011/07/4-1776.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น