วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

ทหารผ่านศึกอเมริกากว่า 1ล้าน7แสนคนมีความเสี่ยงเป็นคนไร้บ้าน ภาพและคลิป


เหล่าฮีโรผู้ทำหน้าปกป้องประเทศกลับมีชะตากรรมชีวิตที่ตกต่ำในช่วงบั้นปลายชีวิต

ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่ที่เป็นคนไร้บ้านในอเมริกาเคยผ่านสงครามเวียดนามมาก่อน และอื่นๆตามลำดับ  ทหารผ่านศึกอเมริกากว่า 1ล้าน7แสนคนมีความเสี่ยงเป็นคนไร้บ้าน  มากกว่า 67%ของทหารผ่านที่ไร้บ้านต่างทำหน้าที่รับใช้ชาติปกป้องประเทศไม่ต่ำกว่า3ปี สาเหตุที่มีทหารผ่านศึกสงครามเวียดนามมีสภาพไร้บ้านกันเยอะเพราะ ช่วงนั้นได้สมัครไปรบตั้งแต่อายุน้อยๆ หลายคนจึงไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร กลับก็ก็รับจ้างทำงานใช้แรงงานทั่วไปมื่อชราไม่มีแรงทำงานต่อไปแล้วจึงต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้และหลายคนก็ได้รับบาดเจ็บพิการ จนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหาเลี้ยงตัวเอง























คลิปทหารผ่านฝึกใจดีมากน้ำตาไหลเลย


วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

เรื่องราวของสหภาพโซเวียตอดีตประเทศที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก


สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)


เหล่าผู้นำในการ ปฎิวิติ


การก่อตั้งสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพแดงได้ทำลายกองทัพนาซีจนย่อยยับ และยึดครองกรุงเบอร์ลินได้แล้ว สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจากฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

ภาพธงต่างๆของนาซีถูกนำมาเดินสวนสนามที่กรุงมอสโควเพื่อประกาศชัยชนะเหนือนาซีเยอรมัน

เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์ ฟินแลนด์ และรัฐอะแลสกา โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย


ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)
นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย
ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ
ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต

ภาพยุธการบาบารอสซ่า เยอรมันบุกโซเวียต 

แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

ธง victory ประกาศชัยชนะ 1945  สนใจคลิ๊กลิ๊ง https://goo.gl/894hSR

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต






ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
สตาลิน ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีการแต่งตั้งทายาททางการเมือง นิกิตา ครุสชอฟ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union) ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งผู้นำของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1956 เขาก็ทำให้โลกตะลึงด้วยการด้วยการประณามความเลวร้ายของสตาลิน ผู้ทำการปฏิวัติระบบนารวม (Commune) ให้ทรัพย์สินของทุกคนเป็นของส่วนรวม และนำสหภาพโซเวียตทำ สงครามเย็น กับสหรัฐอเมริกา
ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิดการแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ.1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2
แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964



ยุคเบรจเนฟ (ค.ศ. 1964-1982) ในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุสชอฟ โดยครุสชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง
เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I,SALT II) ในปี ค.ศ.1972และ ค.ศ.1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการของเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม
ขายธงชาติโซเวียตสนใจคลิ๊กลิ๊ง https://goo.gl/2eSvs8

ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยการจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร
เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ โดยมี แอนโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ยูริ วี แอนโดรปอฟ นั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้ไม่นานก็ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 กอนสตันติน ยู เชอร์เนนโก (Constantine U. Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเพียงหนึ่งปีก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985

ยุคกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)

เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสรเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง
ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ
การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์

ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือรัฐเอกราช Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
1. ประเทศเอสโตเนีย
2. ประเทศลัตเวีย
3. ประเทศลิทัวเนีย
4. ประเทศเบลารุส
5. ประเทศยูเครน
6. ประเทศรัสเซีย
8. ประเทศอาร์เมเนีย
9. ประเทศอาเซอร์ไบจาน
10. ประเทศคาซัคสถาน
11. ประเทศคีร์กีซสถาน
12. ประเทศมอลโดวา
13. ประเทศทาจิกิสถาน
14. ประเทศเติร์กเมนิสถาน
15. ประเทศอุซเบกิสถาน
16. ประเทศจอร์เจีย

ขายเสื้อยิดลายโซเวียตสนใจคลิ๊กลิ๊ง  https://goo.gl/xsB8Yg

สารคดียุคครุซอฟ




มีเกร็ดของโซเวียดให้อ่านต่อสำหรับ ท่านทียังไม่จุใจ
ตัวปลอมสตาลิน ใช้ออกงานสำคัญอื้อ (รูปบนซ้ายตัวปลอม ขวาตัวจริง)


หนังสือพิมพ์รัสเซียชื่อ คอมโซโมลสกาย่า ปราฟด้า ได้พบกับตัวปลอมของสตาลินที่ยังคงมีชีวิตอยู่ และไม่เคยบอกเล่าเรื่องราวของเขากับคนภายนอกแต่อย่างใดตลอดช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
เขาชื่อ เฟลิกซ์ ดาดาเยฟ และก็ไม่ใช่คนที่ไม่มีใครรู้จัก เพราะเขาเป็นถึงศิลปินแห่งชาติแห่งสหภาพโซเวียต สำหรับหน้าที่การงานพิเศษที่แสนอันตรายของเขานั้น เขาไม่เคยบอกเล่าให้ใครฟัง ไม่ว่าจะเป็นญาติๆ ศรีภรรยาหรือว่าลูกหลาน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของตนเอง

เรื่องราวของเขาถูกเก็บเป็นความลับจนถึงปี 1996 โดยมีเพียงแค่เจ้าหน้าที่สายลับไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้และหลังปี 1996 เอกสารเกี่ยวกับเรื่องของเขาถูกถอดออกจากชั้นความลับ และในเบื้องต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเอกสารไปพบกับเรื่องนี้เข้าก็ยังไม่อยากจะเชื่อว่าศิลปินแห่งชาติของประเทศ จะเคยเป็นตัวปลอมของสตาลิน

หลังจากที่เรื่องราวของเขาถูกถอดออกจากชั้นความลับ เขาก็ยังไม่เคยคิดที่จะนำเรื่องนี้ออกบอกกล่าวให้คนภายนอกรับรู้ ก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวประวัติของตนเองออกมาเล่มหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน เขาบอกว่า การระมัดระวังตัวคงได้ซึมลงสู่สายเลือดของเขาไปเสียแล้

การที่หนังสือพิมพ์ คอมโซโมลสกาย่า ปราฟด้า ได้สัมภาษณ์เขาเป็นคนแรก ก็เป็นเรื่องของความมีโชค เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ทางหนังสือพิมพ์ได้จัดงานมอบเหรียญตราในงานที่มีการรวมตัวของอดีตทหารจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีแหล่งข่าวคนหนึ่งมากระซิบกับผู้สื่อข่าวว่า ดาดาเยฟ คือตัวปลอมของสตาลิน และหลังการเกลี้ยกล่อมกันอยู่นาน ดาดาเยฟ ก็ยอมเปิดเผยรายละเอียด

ดาดาเยฟ บอกว่า แต่เดิม เขาชื่อว่า กาซิ แต่มาเปลี่ยนเป็นเฟลิกซ์ช่วงสงครามโลกเพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้บัญชาการที่ตายในอ้อนแขนของเขา เขาเกิดเมื่อปี 1926 ที่ดาเกซสถาน(ทางใต้ของรัสเซีย ) ตั้งแต่เล็กก็ทำงานด้านการเลี้ยงสัตว์ โดยที่พ่อมีอาชีพหลักอีกอย่างคือการทำเครื่องประดับต่างๆ แต่มีความสนใจด้านการเต้นรำพื้นเมือง ต่อมาเขาได้ไปเรียนการเต้นรำเพิ่มเติมที่เชชเนีย เมื่อครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ยูเครน ก็ได้เข้าร่วมคณะเต้นรำประจำรัฐของยูเครน เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้นำคณะเต้นรำไปกล่อมขวัญทหารในแนวหน้า และยามว่างจากการแสดง ก็จับปืนไปยิงกับข้าศึกด้วยจนได้รับเหรียญกล้าหาญมาแล้

ปี 1942 เขาได้รับบาดเจ็บ และถูกส่งตัวมาโรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าเกิดผิดพลาดอะไรขึ้นไม่ทราบ มีการขนศพ 7 ศพขึ้นเครื่องบินกลับมาฝังหลังแนวรบ แต่ปรากฏว่า 2 ศพในจำนวนนั้นยังไม่ตาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือเขานั่นเอง ขณะที่เอกสารระบุว่าเขาตายแล้ว และตลอดช่วงของสงคราม ญาติพี่น้องของเขาก็เชื่อว่าเขาตายแล้ว (ว่ากันว่างานนี้เป็นการเตรียมการของฝ่ายข่าวกรอง )

ในปี 1943 เจ้าหน้าที่สายลับมาพบกับเขาที่แนวหน้า และพาเขาเข้ากรุงมอสโก หลังจากที่เลี้ยงดูจนอิ่มหมีพีมันแล้วก็แจ้งให้ทราบว่า ต้องการให้เขาทำหน้าที่เป็นตัวปลอมของสตาลิน เพราะใครก็ตามที่พบเห็นเขา ต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวว่า เขามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสตาลินมาก จนคนแถวบ้านสมัยเป็นเด็กเรียกเขาว่า โซโซ อย่างเช่นที่เรียกสตาลิน

ในการเตรียมการเป็นตัวปลอมของสตาลิน เขาต้องเพิ่มน้ำหนักตัวอีก 11 กิโลกรัม งานนี้เขาได้ใส่เสื้อผ้าของจริงของสตาลินด้วย หลังจากที่ในตอนแรกมีการตัดเสื้อผ้าเป็นพิเศษให้เหมือนของสตาลิน เขาบอกว่าตอนแรกทหารหนุ่ม ก็ยังไม่ค่อยเหมือนสตาลินที่ตอนนั้นอายุปาเข้าไป 60 ปีแต่ในที่สุดก็เหมือนไปเอง เพราะเขาต้องเจอกับแรงกดดันต่างๆมากมายจากเรื่องนี้จนทำให้ดูแก่กว่าอายุ ตอนแรก ทางการส่งช่างแต่งหน้ามาแต่งหน้าให้เขาดูเหมือนสตาลิน แต่ช่างไม่สามารถมาดูแลเขาได้ทุกวัน เขาก็เลยหัดแต่งหน้าเอง รวมทั้งหัดออกเสียงพูดให้เหมือนสตาลิน ด้วย

การเตรียมตัวและการฝึกเป็นสตาลินของเขาใช้เวลานานหลายเดือน ในช่วงเดียวกับที่ทางการให้คำแนะนำว่าเขาควรใช้ชีวิตปกติอย่างไร เช่นการห้ามพูดคุยกับญาติๆ

ดาดาเยฟ บอกว่า ภาพสตาลินหลายภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือประวัติศาสตร์ ภาพสตาลินที่จตุรัสแดง และในงานสำคัญๆอื่นๆหลายภาพ แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่สตาลิน แต่เป็นภาพของเขาเอง เขาบอกว่า หลังจากที่แปลงร่างแล้ว เขาเหมือนสตาลินเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเขาสูง 170 เซ็นติเมตร ซึ่งเตี้ยกว่าสตาลินแค่ 2 เซ็นติเมตร เสียงก็เหมือน จมูกก็เหมือน ที่ต่างกันอยู่บ้างก็คือหู แต่ก็มีการตกแต่งแก้ไขจนคล้ายกันไปในที่สุด

เขาบอกว่า สตาลินเป็นคนให้คะแนนความเหมือนด้วยตัวเอง เพราะเขาเคยพบกับสตาลินครั้งหนึ่ง และครั้งเดียวในชีวิต การพบกันที่บ้านพักของสตาลินครั้งนั้นกินเวลาแค่ไม่ถึง 5 นาที และสตาลินก็แค่ยิ้ม และพูดชมเขาแค่ 2 คำ ส่วนเขานั้นจำรายละเอียดอะไรไม่ได้ เพราะความกลัว และตื่นเต้น

ดาดาเยฟ บอกว่า จริงๆแล้ว สตาลินมีตัวปลอมถึง 4 ตัว


ขอบคุณเครดิต http://nhitiwat.blogspot.com/2013/09/blog-post_1804.html
ขอบคุณเครดิค  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95
ขอบคุณเครดิตภาพจาก google


                                        ขายหมวก ushanka นำเข้าจากรัสเซียสนใจคลิ๊กลิ๊ง https://goo.gl/3McQT8

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

สมรภูมิบ้านพร้าว สงครามไทยvsฝรั่งเศส การปกป้องประเทศไม่ใช่ว่าไทยจะใช้แต่การทูตใช้กำลังก็เคยมาแล้ว


กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระหว่างสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส สมัยนั้นใช้ชื่อว่ากองพันทหารราบที่ ๓ มีพันตรี ขุนนิมมาณ
กลยุทธเป็นผู้บังคับกองพัน ได้นำทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดรักษาดินแดนด้านทิศตะวันออกติดกัประเทศกัมพูชา ตามแนวหลักเขตแดนที่ ๔๓ ถึง ๔๖ และได้รุกเข้าไปในเขตอินโดจีนฝรั่งเศส "ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศไทยมาก่อน" ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓
ณ สมรภูมิบ้านพร้าว ห่างจากดินแดนไทยเข้าไปในประเทศกัมพูชา ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร "ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศไทยมาก่อนเช่นกัน" พันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธได้รับคำสั่งให้นำทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดยุทธภูมิแห่งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เมื่อนำกำลังเคลื่อนไปยังบ้านพร้าวนั้น พบร่องรอยค่ายเก่าของทหารต่างชาติในอินโดจีนดัดแปลงเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และไม่มีการต้านทานใดๆ เนื่องจากฝ่ายข้าศึกได้ถอนกำลังออกไปหมด ปล่อยให้ฝ่ายเราเข้ายึดเพื่อจะทุ่มกำลังเข้าโจมตีทำลายล้างกองพันทหารราบที่ ๓ ที่บ้านพร้าวนี้ในภายหลัง
จากการตรวจภูมิประเทศของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ ผู้บังคับกองพัน เห็นว่าไม่ยึดที่บ้านพร้าว เนื่องจากฝ่ายข้าศึกรู้เบาะแสแล้ว และในตอนเย็นหลังจากนำกำลังเข้ายึดได้ถูกหน่วยลาดตระเวนของข้าศึกลอบยิง จากการตรวจภูมิประเทศหน้าแนวแล้ว เห็นว่าเหมาะสมดีกว่า จึงขออนุญาตเคลื่อนกำลังจากที่ตั้งเดิมออกไปอีก ๔ กิโลเมตร ไปตั้งมั่นอยู่ที่ห้วยยางซึ่งเป็นลำห้วยไม่มีน้ำ ภูมิประเทศคันคูง่ายแก่การดัดแปลงเป็นที่มั่นตั้งรับได้เป็นอย่างดี สามารถยิงได้อย่างกว้างขวางและกองทหารต่างชาติได้ตัดถนนลำลองขึ้นสายหนึ่ง จากทางเหนือตรงมายังบ้านพร้าว ถนนสายนี้เป็นประโยชน์แก่การวางกำลังของฝ่ายเราอย่างดียิ่ง โดยฝ่ายเราได้วางกำลังเป็นรูปตัวยูหรือรูปปากฉลามคร่อมถนนที่ห้วยยางไว้
ความเข้าใจของกองทหารต่างชาติ เข้าใจว่าทหารไทยอยู่ที่บ้านพร้าว แต่ที่จริงแล้วด้วยการวางแผนการยุทธ์อันแยบยลและลึกล้ำของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธได้นำกำลังมาตั้งมั่น
ที่ห้วยยางเสียแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ด้วยความสงบเงียบ มีวินัยอย่างดีเยี่ยมตามคำสั่งผู้บังคับกองพัน
ในเวลาเช้ามืดของวันที่ ๑๖ มกราคมนั่นเอง กองทหารต่างชาติได้ทุ่มกำลัง ๑ กรม มีกำลัง ๓ กองพัน เข้าตีทำลายกองพันทหารราบที่ ๓ ในบังคับบัญชาของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ ที่บ้านพร้าว โดยจัดฐานออกตีที่ห้วยยาง เนื่องจากคิดว่าทหารไทยอยู่ที่บ้านพร้าวและไม่รู้ว่าฝ่ายเราได้เปลี่ยนแผนการยุทธ์เสียแล้ว กลยุทธ์ของฝ่ายเราได้กำหนดให้ฟังสัญญาณการยิงฉากจากปืนกลของร้อยตรียง ณ นคร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม โดยฟังคำสั่งจากร้อยเอกอัมพร เสือไพฑูรย์
ครั้นเมื่อเวลา ๓ นาฬิกา ของวันที่ ๑๖ มกราคม เริ่มได้ยินเสียงยานยนต์ของข้าศึกมาแต่ไกลหลายคัน แสดงถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ายข้าศึก จนกระทั่งเวลา ๔ นาฬิกา กองทหารต่างชาติได้ส่งลาดตระเวนห่างทหารไทยราว ๒๐ เมตร ตรวจการณ์อยู่ประมาณ ๕ นาที ฝ่ายเราก็สงบนิ่งอยู่ด้วยความใจเย็นและมีวินัยอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้สุนัขที่มากับข้าศึกจะวิ่งเข้ามาในแนวทหารไทยและดมทหารไทยคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง แต่ก็ไม่เห่า ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่เห่า จากนั้นพลลาดตระเวนนำและสุนัขข้าศึกจึงได้กลับไป โดยคิดว่าไม่มีทหารไทยอยู่ที่ห้วยยาง ทั้งๆ ที่มีกำลังอยู่ทั้งกองพัน
อีก ๑ ชั่วโมงต่อมา คือเมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา นาทีระทึกใจก็ได้อุบัติขึ้น เมื่อกรมทหารราบที่ ๕ กองพันที่ ๓ ของกองทหารต่างชาติ ซึ่งมีประวัติการรบอย่างโชกโชนและเป็นหน่วยกล้าตายชั้น ๑ ที่มีกิตติศัพท์การรบอันเกรียงไกรมาแล้วในอินโดจีน ได้เคลื่อนกำลังเข้ามาเป็นขบวนตามเส้นทางที่ฝ่ายเราวางกำลังไว้ ปล่อยให้กำลังส่วนหน้าของข้าศึกเลยแนวรบไปด้วยความใจเย็น เมื่อกำลังส่วนใหญ่เข้ามาอยู่ในพื้นที่สังหารแล้ว สัญญาณการยิงฉากจากปืนกลของร้อยตรียง ณ นคร จึงได้ระเบิดขึ้น พร้อมกับเสียงคำรามของปืนทุกกระบอกของกำลังฝ่ายเราทั้งกองพัน สู้รบถึงขั้นตะลุมบอนกันด้วยดาบปลายปืนอย่างทรหดจนถึงเวลา ๗ นาฬิกา เสียงร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดและเสียงสั่งการดังลั่นไปทั่วยุทธภูมิ ด้วยยุทธวิธีของกองพันทหารราบที่ ๓ ในบังคับบัญชาของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ ในครั้งนี้สามารถบดขยี้ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิตไปประมาณ ๔๐๐ นาย ถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก ตัวผู้บังคับกองพันของกองทหารต่างชาติเสียชีวิตในที่รบ ยึดธงชัยเฉลิมพลของข้าศึก ซึ่งประดับเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกร์ไว้ได้ กองทหารเขมรและทหารญวนที่ติดตามมาอีก ๒ กองพันแตกกระจัดกระจายไป นับว่ากองทหารต่างชาติซึ่งผ่านการรบอย่างโชกโชนมาแล้วได้พินาศย่อยยับเกือบทั้งหมดทั้งกองพัน ด้วยพิษสงของทหาร
ไทยทั้งกองพันทหารราบที่ ๓ ในบังคับบัญชาของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ สำหรับฝ่ายเราเสียชีวิตในที่รบ ๑ นาย คือพลทหารจอน ปรีพงศ์ และได้รับบาดเจ็บสาหัส ๒ นาย

ภาพเชลยศึก

สรุปผลจากการรบไทยเสียทหาร 3 นาย บาดเจ็บ 5 นาย ส่วนฝรั่งเศสเสียชีวิต 110 นาย บาดเจ็บ 250 นาย สุญหาย 58 นาย ถูกจับ 21 นาย ซึ่งไทยสามารถยึดธงชัยเฉลิมพลประดับเหรียญกล้าหาญครัวซ์เดอร์แกร์ไว้ได้ ดังภาพครับ

การลงนามอนุสัญญาสันติภาพไทย-ฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 11มี.ค.2484



หลังจากนั้นกองทัพไทยจัดการสวนสนามประกาศชัยชนะขึ้น และสร้าง "อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวติและเหล่าทหาร ตำรวจ ประชาชนชาวไทยที่ต่อสู้เพื่อบ้านเมือง

ขอบคุณเครดิตบทความ http://oknation.nationtv.tv/blog/kingkaoz/2007/08/28/entry-6
ขอบคุณเครดิตภาพ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/02/K4126698/K4126698.html