วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เหลือเชื่อ F-5 ไทย 2ลำโดน SAM ยิงยังกลับฐานได้


เหลือเชื่อ F-5 ไทย 2ลำโดน SAM ยิงยังกลับฐานได้ 

ลำแรกโดนยิง ในการรบกับกองกำลังต่างชาติ(เวียดนาม) ที่ช่องโอบก F-5E Serial Number 91686 จากฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี บินโดย น.ต.สุรศักดิ์ บุญเปรมปรี (ยศครั้งสุดท้าย พล.อ.ต.) ขึ้นบินปฏิบัติการกิจสนับสนุนทางอากาศ (Close Air Support: CAS) ให้กับกองกำลังฝ่ายไทย ในการนี้ เครื่องบิน F-5E ของเราถูกจรวด SAM-7 ยิงจนเครื่องยนต์ด้านขวาพัง นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่กองบิน 21 อุบลได้อย่างปลอดภัย

ลำที่สองโดนยิง ในการรบที่บ้านร่มเกล้า เครื่องบิน F-5B ของฝูง 231 กองบิน 23 อุดร Serial Number 400778 บินโดย น.ต. ธีระพงษ์ วรรณสำเริง (ยศครั้งสุดท้าย พล.อ.ต.) และ ร.ต. ณฤทธิ์ สุดใจธรรม (ยศครั้งสุดท้าย น.อ.) อีกเครื่องก็ถูกยิงด้วยจรวด SAM เครื่องยนต์ด้านขวาพัง นักบินได้นำเครื่องลงจอดอย่างปลอดภัย

หมายเหตุ: ภาพและข้อมูลทั้งหมดขอขอบคุณพ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์ กูรูเครื่องบินไทยครับ
เครดิต http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=12-05-2006&group=2&blog=1

bhanbhagta gurung นักรบกรุข่าสุดโหด เก็บทหารญี่ปุ่น

bhanbhagta gurung นักรบกรุข่าสุดโหด

ทหารกรุข่ามีชื่อเสียงว่าเป็นนักรบที่ดีที่สุดแนวหน้าของโลกเลยทีเดียว วรีกรรมของ gurung หนึ่งในนักรบรับจ้างกรุข่าของกองทัพอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง gurung สร้างผลงานมากมาย 

5มีนาคม 1943 ที่ประเทศพม่า ขณะที่หน่วยของ เขา ทำการสู้รบในป่าของพม่า เพื่อนในหน่วยของ เขา ถูกลอบยิงเสียชีวิตและบาดเจ็บ หลายนาย แต่ไม่สามารถตอบโต้คืนได้เพราะไม่รู้ตำแหน่งของวิถีกระสุน และกระสุนของ เขา เหลือไม่มากแล้ว เขาใจเย็นค่อยๆหาตำแหน่งของศัตรู จนพบและเก็บไปทีล่ะคนอย่างแม่นยำ
หลังจากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น เขา วิ่งออกไปยังบังเกอร์ลังปืนกลของ ทหารญี่ปุ่นเขา วิ่งฝ่าดงกระสุนจนถึงรังปืนกล และโยนระเบิดมือ2ลูกติดๆกัน ทหารญี่ปุ่น2นาย เสียชีวิตทันที เขายังไม่หยุดและวิ่งไปเคลียร์หลุมบังเกอร์ต่อไป ทหารญี่ปุ่น2นายในบังเกอร์ดังกล่าวเสียชีวิตด้วยดาบปลายปืนของเขา และบังเกอร์ต่อมา ทันใดนั้นเขาวิ่งไปเหยียบหลังคาบังเกอร์และใช้ระเบิดเพลิง โยนเข้าไปในบังเกอร์ ทหารญี่ปุ่น2นายที่อยู่ข้างในต่างถูกเผา และบังเกอร์อีกแห่งเขาใช้ก้อนหินเป็นอาวุธ พลปืนกลที่เหลือจนเสียชีวิต หลังสินสงครามเขาได้รับเหรียญมากมาย เขาเสียชีวิตเมื่อปี 2008 อายุ86 ปี

สงครามอังกฤษ ปะทะ กรุข่า เผ่าพันธ์นักรบ

Anglo-Nepalese War

กรุข่า vs 1.East India Company 2.Garhwal Kingdom 3.Patiala State 

ในปี 1814-1816 อังกฤษในนาม East India Company ส่งกองกำลังกว่า 30000 บุก กรุข่าที่มีกำลัง ประมาณ 12000 คน แต่ไม่สามารถเอาชนะได้โดยง่าย จึงเปลี่ยนจากรบให้ชนะเป็นเจรจาเอามาเป็นพวกแทน 

ตัวอย่างความกล้าหาญของทหารกรุข่า ระหว่างการต่อสู้อย่างดุเดือด ทหารกรุข่า 600 คนปกป้อมป้อมปราการที่เนินเขา จากการสู้รบทหารกรุข่า เสียชีวิตไปกว่า 520 คน จาก 600 แต่พวกที่เหลือก็ยังสู้ต่อไปอย่างกล้าหาญ

เล่ากันว่า มีทหารกรุข่าเหลือเพียงคนเดียวและถูกฝ่ายอังกฤษรุมจับตัวไว้ได้ และถามว่าทำไมไม่หนีไป ทหารกรุข่าคนนั้น ตอบสั้นๆเพียงว่า เขาไม่ได้มาเพื่อหนี เขามาเพื่อที่จะที่จะสู้

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ในขณะที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเมืองนานกิงและได้กระทำการ"การข่มขืน" ผู้หญิงพลเรือนจำนวนกว่า 20,000 - 80,000คน (ไม่มีบันทึกที่แน่นอน) และสังหารหมู่ชาวจีนอย่างโหดร้ายทารุนเป็นจำนวนมากกว่า300.000ราย(ไม่มีใครกล้าคิดถึงตัวเลขที่แท้จริง) ภายในเวลาไม่ถึงเดือน อย่างบ้าคลั่ง

ยอน ราเบอ เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันและสมาชิกพรรคนาซีผู้เป็นที่รู้จักกันในความพยายามที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่ในเมืองนานกิงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองนานกิง และการทำงานของเขาในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจีนในช่วงเหตุการณ์การสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงที่เขาช่วยสร้างขึ้นนั้น ได้กลายมาเป็นที่พำนักและช่วยให้ชาวจีนประมาณ 200,000-250.000 คน รอดจากการสังหารหมู่

ขณะที่ราเบอและผู้บริหารเขตปลอดภัยนานกิงพยายามอย่างกระวนกระวายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เขาได้ใช้สถานภาพสมาชิกพรรคนาซีเพื่อรับรอง แต่ก็ทำได้แค่เพียงชะลอเหตุการณ์ออกไปเท่านั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยหลายพันคนหลบหนีไปได้ สารคดี "นานกิง" ได้ยกย่องเขาว่าได้ช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนกว่า 250,000 คน และกล่าวกันว่าราเบอได้สละที่ดินของเขาเพื่อช่วยเหลือชาวจีนอีกด้วย

ในที่ 28 กุมภาพันธ์ ราเบอเดินทางออกจากนานกิงตามคำสั่งเพื่อรักษาสัมพันธภาพระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่นในเวลานั้น เขาได้เดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้ก่อนจะกลับเยอรมนี โดยได้นำเอาหลักฐานบันทึกความรุนแรงที่กระทำโดยกองทัพญี่ปุ่นในนานกิงจำนวนมากกลับไปด้วย

ราเบอได้แสดงภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่ายของความรุนแรงของญี่ปุ่นในการบรรยายนำเสนอในเบอร์ลิน และเขียนถึงฮิตเลอร์ให้เขาใช้อิทธิพลเพื่อเกลี้ยกล่อมให้ญี่ปุ่นยุติความรุนแรงขาดมนุษยธรรมเพิ่มอีก ผลคือ ราเบอถูกจับกุมตัวและได้รับการสอบสวนโดยเกสตาโป จดหมายของเขาไม่เคยส่งถึงฮิตเลอร์ เขาได้รับการปล่อยตัว และได้รับอนุญาตให้เก็บหลักฐานของการสังหารหมู่ได้ ยกเว้นภาพเคลื่อนไหว แต่ไม่อนุญาตให้บรรยายหรือเขียนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

หลังสงคราม ราเบอถูกประณามว่าเป็นสมาชิกพรรคนาซี และถูกจับกุมโดยทางการโซเวียต และทางการอังกฤษตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การสืบสวนสอบสวนไม่พบว่าเขาได้ประทำความผิดแต่อย่างใด จึงได้รับการปล่อยตัว โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 และได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ ครอบครัวของเขา ในช่วงนั้น ยอน ราเบอ มีความเป็นอยู่อย่างลำบากมากๆขาดเงินและอาหารจนต้องอดๆอยากๆ จนกระทั้งเขาได้รับอาหารและพัสดุเงินบางส่วนที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา

ยอน ราเบอ เสียชีวิตในปี 1950 แต่ถึงกระนั้นวีรกรรมของเขายังอยู่ในความทรงจำของชาวจีนและชาวเมืองนานกิง จนถึงทุกวันนี้ ในปี1997 โลงศพของเขาถูกย้ายจากเบอร์ลินไปยังนานกิงที่ซึ่งถูกฝังไว้เป็นเกียรติในแหล่งอนุสรณ์สถานรำลึกถึงการสังหารหมู่

ภาพประกอบเป็นภาพอนุสรณ์สถานยอน ราเบอ ที่เมืองนานกิง
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามชนะประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ

4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อเมริกาประกาศอิสรภาพ

อเมริกาเป็นเพียงชาติเดียวที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้วทำสงครามประกาศอิสรภาพได้สำเร็จ


วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เป็นวันที่เหล่าอาณานิคมอเมริกา (American Colonies) ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) สมัยนั้นมีอาณานิคมอเมริกาอยู่ทั้งหมด 13 อาณานิคม คือ
• นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire)
• แมสซาชูเซตส์ (Massachusetts)
• คอนเนตทิคัค (Connecticut)
• โรดไอแลนด์ (Rhode Island)
• นิวยอร์ค (New York)
• เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania)
• นิวเจอร์ซีย์ (New Jersey)
• เดลาแวร์ (Delaware)
• แมริแลนด์ (Maryland)
• เวอร์จิเนีย (Virginia)
• นอร์ทแคโรไลนา (North Carolina)
• เซาท์แคโรไลนา (South Carolina)
• จอร์เจีย (Georgia)

สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และได้รับหลัก “ประกาศความเป็นอิสระ” (Declaration of Independence) ยืนยันความเป็นอิสระของสหรัฐอเมริกา ต่อประเทศอังกฤษในขณะนั้น (Great Britain) และปฏิเสธการอยู่ใต้ระบบกษัตริย์ของอังกฤษ ประกาศอิสรภาพนี้ได้มาหลังจากที่ได้มีการปะทะกันในสงครามปฏิวัติอเมริกัน (American Revolution) ที่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณ Lexington และ Concord ในรัฐแมสสาชูเสต (Massachusetts) เป็นเวลา 442 วัน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาณานิคมอเมริกากับประเทศแม่อย่างอังกฤษ ท้ายสุดกระตุ้นให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาร่วมกับอเมริกาในฐานะผู้รักชาติ (Patriots)

การเริ่มขัดแย้งระหว่างอเมริกากับนโยบายของอังกฤษเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1765 หลังรัฐสภาอังกฤษประกาศขึ้นภาษีอากรแสตมป์ เพื่อจัดเก็บรายได้ไปใช้ในการพัฒนากองทัพอังกฤษในอเมริกา แต่ฝ่ายชาวอาณานิคมอเมริกาไม่เห็นด้วย โดยหลักที่ว่า “ไม่มีการจ่ายภาษีหากไม่มีตัวแทนของชาวอาณานิคมที่จะเป็นตัวแทนในรัฐสภา” (No taxation without representation) ชาวอาณานิคมได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1765 เพื่อประท้วงนโยบายดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ชาวอาณานิคมได้บอยคอตสินค้าจากอังกฤษ มีการจัดกลุ่มโจมตีคลังสินค้าและบ้านเรือนของพนักงานจัดเก็บภาษีของอังกฤษ หลังจากการประท้วงอยู่หลายเดือน รัฐสภาอังกฤษได้ออกเสียงเห็นชอบพระราชบัญญัติยกเลิกการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1766

ชาวอาณานิคมส่วนใหญ่ยังคงยอมรับการปกครองของอังกฤษอย่างเงียบๆ จนกระทั่งรัฐสภาอังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติจัดเก็บภาษีใบชา (Tea Act, 1773) กฏหมายที่กำหนดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกิจการของบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของอังกฤษ โดยลดภาษีอากรใบชาสินค้านำเข้าสู่อังกฤษอย่างมาก แต่ไปเพิ่มภาษีที่จะให้มีการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกา การลดภาษีใบชาก็เพื่อลดการลักลอบนำเข้าชาที่ไม่เสียภาษีโดยพ่อค้าชาวดัช แต่ชาวอาณานิคมมองการขึ้นภาษีและการผูกขาดการค้าใบชาในอเมริกาว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเผด็จการทางภาษี เพื่อเป็นการตอบโต้ ผู้รักชาติหัวรุนแรงในรัฐแมสสาชูเสทได้รวมตัวกัน บุกเข้าทำลายสินค้าใบชาของอังกฤษที่เรียกว่า Boston Tea Party โดยการนำใบช้าที่ปล้นได้มาโยนลงน้ำที่อ่าวเมืองบอสตัน (Boston Harbor)

รัฐสภาอังกฤษโกรธในการกระทำของชาวอาณานิคมที่เข้าทำลายทรัพย์สินของอังกฤษใน Boston Tea party จึงได้ออกกฎหมายบังคับ (Coercive Acts) บางคนเรียกว่า “กฏหมายไม่อดทน” (Intolerable Acts) ในปี ค.ศ. 1774 กฎหมายนี้ทำให้มีการปิดเมืองบอสตันให้ไม่มีการค้าทางเรือ มีการจัดกำลังทัพอังกฤษเพื่อปกครองในรัฐแมสสาชูเสท ทำให้เจ้าหน้าที่ของอังกฤษสามารถปฏิบัติการใดๆได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การศาลของชาวอาณานิคม และทำให้ชาวอาณานิคมต้องจัดหาที่พักให้กับกองทหารของอังกฤษ ผลคือฝ่ายชาวอาณานิคมได้รวมตัวกันประชุมใหญ่ที่เรียกว่า “สภาแห่งภาคพื้นทวีป” (Continental Congress) และเป็นการรวมตัวของชาวอเมริกันเพื่อต่อต้านอังกฤษ

ในขณะที่ชาวอาณานิคมในที่อื่นๆกำลังเฝ้ามอง ชาวแมสสาชูเสทได้นำการต่อสู้กับอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติ มีการจัดทัพเพื่อต่อสู้กับกองทัพของอังกฤษ ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1775 นับเป็นวันเสียงปืนแตก เมื่ออังกฤษสั่งกองทหารเคลื่อนเข้าสู่บริเวณ Concord, MA เพื่อเข้ายึดปืนใหญ่ของฝ่ายกบถ แต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านจากกองกำลังของอเมริกันที่เมือง Lexington

ในระยะนี้ทั้งชาวอเมริกันและอังกฤษมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งระดับสงครามกลางเมือง (Civil war) ภายในจักรวรรดิอังกฤษ สำหรับกษัตริย์อังกฤษ King George III เรียกฝ่ายต่อต้านว่าเป็น “พวกกบถอาณานิคม” (Colonial rebellion) ฝ่ายอเมริกันมองการต่อสู้ว่า เพื่อให้ได้สิทธิอนชอบธรรมในฐานะพลเมืองของอังกฤษ ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษก็ยังแข็งขืน ไม่เปิดให้มีการเจรจากับกบถอเมริกัน แต่กลับมีการจ้างทหารรับจ้างเยอรมัน (German mercenaries) เพื่อช่วยกองทัพของอังกฤษบดขยี้ฝ่ายกบถ เพื่อตอบโต้การต่อต้านการปฏิรูปของอังกฤษ สภาแห่งภาคพื้นทวีปก็ได้ออกมาตรการเพื่อเลิกยอมรับอำนาจของอังกฤษที่มีต่ออาณานิคมทั้งหลาย

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1776 Thomas Paine ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนเรื่อง Common Sense ซึ่งเป็นแผ่นปลิวที่มีอิทธิพลทางการเมือง อธิบายว่าทำไมอเมริกันจึงต้องประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ แผ่นปลิวนี้ขายได้ 500,000 แผ่นในเวลาไม่กี่เดือน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1776 กระแสสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของอาณานิคมก็ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกอาณานิคม สภาแห่งภาคพื้นทวีปจึงได้เรียกประชุมและจัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น โดยมีคณะบุคคล 5 คนทำหน้าที่ร่างประกาศอิสรภาพ

คำประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence)

ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 สภาแห่งภาคพื้นทวีปได้ลงมติเห็นชอบข้อเสนอจากเวอจิเนีย(Virginia) ที่ให้แยกตัวออกจากอังกฤษ คำประกาศได้รับการลงมตินี้ ได้แนบประกาศอิสรภาพไปด้วย ใน 2 วันต่อมา คือวันที่ 4 กรกฎาคม คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดย 12 อาณานิคมโดยมีข้อแก้ไขเพียงเล็กน้อย อาณานิคมนิวยอร์ค (New York) ได้เห็นชอบในวันที่ 19 กรกฎคม และได้ร่วมลงนามตามหลังมาในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1776

สงครามกับอังกฤษอันเป็นผลจากการประกาศอิสรภาพได้ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี และยุติลงเมื่อฝ่ายผู้รักชาติ (Patriots) ได้ชนะการรบที่ Saratoga ท่ามกลางอากาศหนาว ในช่วงฤดูร้อนที่ Valley forge และด้วยกำลังสนับสนุนโดยฝ่ายฝรั่งเศส ที่ทำให้ได้รับชัยชนะครั้งสุดท้ายที่เมือง Yorktown ในปี ค.ศ. 1781 และในปี ค.ศ. 1783 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญปารีสกับฝ่ายอังกฤษ สหรัฐอเมริกา (The United States) สหรัฐอเมริกาจึงได้เป็นประเทศเสรีและอิสระนับแต่นั้นมา

แอดมินโค้ก

ขอบคุณเครดิต
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=361
ขอบคุณเครดิต
http://pracob.blogspot.com/2011/07/4-1776.html

สนธิสัญญา10ข้อในช่วง รศ112.ที่ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนาม และอนุสัญญาหรือสัญญาน้อย (Convention)อีก 6 ข้อ

สนธิสัญญา 10 ข้อมีใจความดังนี้

...1.สยามยอมสละเสียซึ่งข้ออ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นทั่วไปในดินแดน ณ ฝั่งซ้ายฟากตะวันออกแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้นด้วย

2.ห้ามไม่ให้สยามมีเรือรบใหญ่น้อยไปไว้ฤาใช้เดินในทะเลสาบก็ดี ในแม่น้ำโขงก็ดี แลในลำน้ำแยกจากแม่น้ำโขง ซึ้งอยู่ในที่อันได้มีกำหนดไว้ในข้อต่อไปนี้

3.สยามจะไม่สร้างด่าน ค่าย คู ฤาที่อยู่ของพลทหารในแขวงเมืองพระตะบอง แลเมืองนครเสียมราฐ แลในจังหวัด 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาฝากตะวันตกแม่น้ำโขง

4.ในจังหวัดที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 3 นั้น บรรดากรตระเวนรักษา จะมีแต่กรมการเจ้าพนักงานเมืองนั้นๆกับคนใช้กำลังแต่เพียงที่จำเป็นแท้ แลทำการตามอย่างเช่นเคย รักษาในธรรมเนียมในที่นั้น จะไม่มีพลประจำ ฤาพลเกณฑ์ด้วยศาสตราวุธอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งอยู่ที่นั้นด้วย

5.สยามจะรับปฤกษากับฝรั่งเศสภายในกำหนดหกเดือนตั้งแต่นี้ไปในการที่จะจัดการเป็นวิธีการค้าขาย แลวิธีตั้งโรงด่านโรงภาษีในที่ตำบลซึ้งได้กล่าวไว้ในข้อ 3 นั้นแลในการที่จะแก้ไขขอความสัญญา

6.การซึ่งจะอุดหนุนการเดินเรือ ในแม่น้ำโขงนั้นจะมีการจำเป็นที่จะทำได้ในฝั่งฟากตะวันตกแม่น้ำโขงโดยการก่อสร้างก็ดี ตัวท่าเรือจอดก็ดี ทำที่ไว้ฟืนและถ่านก็ดี สยามรับว่า เมื่อฝรั่งเศสขอแล้วจะช่วยตามการจำเป็นที่จะทำให้สะดวกทุกอย่างเพื่อประโยชน์นั้น

7.คนชาวเมืองฝรั่งเศสก็ดี คนในบังคับฤาคนอยู่ในการปกครองฝรั่งเศสก็ดี ไปมาค้าขายได้โดยสะดวกในตำบลซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อ 3 เมื่อถือหนังสือเดินทางของเจ้าพนักงานฝรั่งเศสในตำบลนั้น ออกให้ฝ่ายราษฎรในจังหวัดอันได้กล่าวไว้นี้ จะได้รับผลเป็นการตอบแทนอย่างเดียวกันด้วยเหมือนกัน

8.ฝรั่งเศส จะตั้งกงสุลได้ในที่ใดๆซึ่งจะคิดเห็นว่าเป็นการสมควรแก่ประโยชน์ของคนผู้อยู่ในความป้องกันของฝรั่งเศส แลมีที่เมืองนครราชสีมาแลน่านเป็นต้น

9.ถ้าความขัดข้องไม่ต้องกัน ในความหมายของหนังสือสัญญานี้แล้ว ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นจะเป็นหลัก

10.สัญญานี้จะตรวจแก้เป็นใช้ได้ในเวลา 4 เดือนนับตั้งแต่วันลงชื่อกันนี้

รางอนุสัญญา 6 ข้อ มีใจความดังนี้
1.ถอนด่านฝั่งซ้ายอย่างช้าเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายนในเสร็จ
2.ให้รื้อถอนป้อมค่ายในจังหวัดที่สงวนไว้ให้ทั้งหมด
3.ผู้ก่อเหตุที่ทุ่งเชียงคำ กับคำมวนนั้นชำระพร้อมกัน ณ กงสุล
4.ให้ปล่อยคนญวน เขมร ลาว ฟากโน้นไปตามใจชอบ
5.ให้ส่งบางเบียน กับพวกที่กงสุลกรุงเทพกับของที่เก็บริบมา
6.ฝรั่งเศสจะอยู่จันทบุรีจนกว่าจะเรียบร้อยในฝั่งซ้ายและในจังหวัดอันสงวนไว้ฝั่งขวา