วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ยอน ราเบอ นาซีใจบุญแห่งเมืองนานกิง

ในขณะที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเมืองนานกิงและได้กระทำการ"การข่มขืน" ผู้หญิงพลเรือนจำนวนกว่า 20,000 - 80,000คน (ไม่มีบันทึกที่แน่นอน) และสังหารหมู่ชาวจีนอย่างโหดร้ายทารุนเป็นจำนวนมากกว่า300.000ราย(ไม่มีใครกล้าคิดถึงตัวเลขที่แท้จริง) ภายในเวลาไม่ถึงเดือน อย่างบ้าคลั่ง

ยอน ราเบอ เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันและสมาชิกพรรคนาซีผู้เป็นที่รู้จักกันในความพยายามที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่ในเมืองนานกิงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองนานกิง และการทำงานของเขาในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจีนในช่วงเหตุการณ์การสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงที่เขาช่วยสร้างขึ้นนั้น ได้กลายมาเป็นที่พำนักและช่วยให้ชาวจีนประมาณ 200,000-250.000 คน รอดจากการสังหารหมู่

ขณะที่ราเบอและผู้บริหารเขตปลอดภัยนานกิงพยายามอย่างกระวนกระวายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เขาได้ใช้สถานภาพสมาชิกพรรคนาซีเพื่อรับรอง แต่ก็ทำได้แค่เพียงชะลอเหตุการณ์ออกไปเท่านั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยหลายพันคนหลบหนีไปได้ สารคดี "นานกิง" ได้ยกย่องเขาว่าได้ช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนกว่า 250,000 คน และกล่าวกันว่าราเบอได้สละที่ดินของเขาเพื่อช่วยเหลือชาวจีนอีกด้วย

ในที่ 28 กุมภาพันธ์ ราเบอเดินทางออกจากนานกิงตามคำสั่งเพื่อรักษาสัมพันธภาพระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่นในเวลานั้น เขาได้เดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้ก่อนจะกลับเยอรมนี โดยได้นำเอาหลักฐานบันทึกความรุนแรงที่กระทำโดยกองทัพญี่ปุ่นในนานกิงจำนวนมากกลับไปด้วย

ราเบอได้แสดงภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่ายของความรุนแรงของญี่ปุ่นในการบรรยายนำเสนอในเบอร์ลิน และเขียนถึงฮิตเลอร์ให้เขาใช้อิทธิพลเพื่อเกลี้ยกล่อมให้ญี่ปุ่นยุติความรุนแรงขาดมนุษยธรรมเพิ่มอีก ผลคือ ราเบอถูกจับกุมตัวและได้รับการสอบสวนโดยเกสตาโป จดหมายของเขาไม่เคยส่งถึงฮิตเลอร์ เขาได้รับการปล่อยตัว และได้รับอนุญาตให้เก็บหลักฐานของการสังหารหมู่ได้ ยกเว้นภาพเคลื่อนไหว แต่ไม่อนุญาตให้บรรยายหรือเขียนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

หลังสงคราม ราเบอถูกประณามว่าเป็นสมาชิกพรรคนาซี และถูกจับกุมโดยทางการโซเวียต และทางการอังกฤษตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การสืบสวนสอบสวนไม่พบว่าเขาได้ประทำความผิดแต่อย่างใด จึงได้รับการปล่อยตัว โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 และได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ ครอบครัวของเขา ในช่วงนั้น ยอน ราเบอ มีความเป็นอยู่อย่างลำบากมากๆขาดเงินและอาหารจนต้องอดๆอยากๆ จนกระทั้งเขาได้รับอาหารและพัสดุเงินบางส่วนที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา

ยอน ราเบอ เสียชีวิตในปี 1950 แต่ถึงกระนั้นวีรกรรมของเขายังอยู่ในความทรงจำของชาวจีนและชาวเมืองนานกิง จนถึงทุกวันนี้ ในปี1997 โลงศพของเขาถูกย้ายจากเบอร์ลินไปยังนานกิงที่ซึ่งถูกฝังไว้เป็นเกียรติในแหล่งอนุสรณ์สถานรำลึกถึงการสังหารหมู่

ภาพประกอบเป็นภาพอนุสรณ์สถานยอน ราเบอ ที่เมืองนานกิง
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น