วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ปืน M1911 เป็นอาวุธปืนสั้นที่ กองทัพสหรัฐฯ ประจำการยาวนานที่สุด

เป็นอาวุธปืนสั้นที่ กองทัพสหรัฐฯ ประจำการยาวนานที่สุด
หากกล่าวถึงชื่อ M1911 สำหรับคนที่ศึกษาเรื่องอาวุธปืนแล้วคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ปืนสั้นโมเดลนี้ และปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ผลิตที่เอามาผลิตเป็นจำนวนมาและแพร่หลายไปในทั่วโลก แต่ก่อนมันจะมาเป็นthe best handgun ตัวหนึ่งในบรรดาปืนจากค่ายต่างๆ มันมีเรื่องราวยังไง
ก่อนยุคของปืนพกสั้นกึ่งอัตโนมัติ นั้นเป็นยุคของปืนรีวอลเวอร์ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ในช่วงก่อนยุค1900 อเมริกาไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปืนพกกึ่งอัตโนมัติเท่าไหร่ แต่เริ่มให้ความสำคัญจนกระทั้งเมื่อฝั่งยุโรปมีการใช้งาน ปืนกึ่งอัตโนมัติบ้างแล้ว

ต้นแบบของM1911 มาจากสุดยอดนักประดิษฐ์ปืนอัตโนมัติตลอดกาลคือ John Moses Browning จอห์น โมเลสส์ บราวนิ่ง( ผลงานของเขามากมายยังมีใช้งานจนถึงปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย เท่านั้น ) คือ M1900 ขนาด .38 ACP ซึ่ง บราวนิ่งได้จด สิทธิบัตรไว้ตั้งแต่ปี 1987 หลักการทำงานก็เหมือนปืนกึ่งอัตโนมัติทั่วไปคือ ขึ้นไสล์เพื่อป้อนกระสุนเข้าสู่รังเพลิงและขึ้นนกปืน โดย บ.โค้ล ได้ซื้อสิทธิบัตร M1900 มาผลิต โดย จำน่ายในกองทัพบก กองทัพเรือ และ ประชาชนทั่วไป จำนวนไม่มาก3,000กระบอก แต่กองทัพยังไม่ได้บรรจุเข้าเป็นทางการ ต่อมาในปี1901บราวนิ่งเสนอแบบปืนกึ่งอัตโนมัติใน โค้ล อีก มีเพียง เงื่อนไขว่าโค๊ลต้องทำราคาปืนให้มีราคาต่ำพอสู้กับปืนรีวอลเวอร์ได้ ต่อมาคือ M1902 โดยพัฒนาจาก M1900 ได้พัฒนาต่อๆมาได้แก่
Colt M1902 เปลี่ยนหงอนนกสับ เข็มแทงชนวนแบบใช้แรงเฉื่อย ผลิตจำนวน 4000 กระบอก มีรุ่นเสริม
Colt M1902 Sport 7นัด 3,000 กระบอก ,
Colt M1902 Military (early)#1 8นัด 4,000 กระบอก
Colt M1902 Military#2 8นัด 39,300กระบอก
Colt M1903 Hammerless กระสุน.32ACP เป็นปืนแบบนกใน บรรจุ 8นัด ผลิต 572,215 กระบอก ผลิตมาเพื่อเป็นปืนพกซ่อนที่ในความกะทัดรัด
Colt M1903 Pocket ขนาด .380 ACP บรรจุ 7นัด เป็นร่างของ M1902 ขนา ดCompact ผลิต ออกมา 138,009 กระบอก
หลังจากประสบการณ์รบใน ฟิลิปินส์ ทหารจาก กองร้อย ซี กรมทหารราบที่ 9 ทำการรบกับกลุ่มกบฏ พื้นเมืองชาวฟิลิปินส์ โดยมีอาวุธเป็นปืนไรเฟิล Bolt action ขนาด .30-40 และ โค้ลรีวอลเวอร์ มิลิทารี่ กระสุนขนาด .38 เริ่มไม่มีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งเป้าหมาย (Man stopper) ที่เพียงพอ บราวนิ่งได้เสนอแบบ กระสุนที่มีหน้าตัดใหญ่ขึ้นคือ .45 ACP และพัฒนาเป็น
Colt M1905 ใช้ขนาด .45 ACP เป็นขนาด .45 กระบอก ผลิตจำนวน 6,200กระบอก
Colt M1907 ใช้ขนาด .45 ACP ปรับปรุงหงอนนกสับและเพิ่มห่วงร้อยกันตกและหลังอ่อน ผลิตจำนวนน้อยมาก เพียง 207 กระบอก
แต่ก็ยังมีขนาด.380 ACP ผลิตมาเพื่อเป็นปืนแบบพกซ่อน
Colt M1908 Hammerless .380 ACP นกใน บรรจุ 7นัด ผลิต 27,377กระบอก
Colt M1908 Vest Pocket .25 ACP นกใน บรรจุ 6 rounds ผลิต 420,705 กระบอก
ในช่วงปี 1908 บราวนิ่งได้พัฒนา M1907 จนเป็น
Colt M1909 .45 ACP บรรจุ 7 นัด โดยติดตั้งคันค้างสไลด์ ปาดเว้าปลายสไลด์ โครงปืนส่วนล่างสั้นลง แต่ช่องคายปลอกอยู่ด้านบนสไลด์ ผลิต เพียง22กระบอกเท่านั้น
Colt M1910 .45 ACP บรรจุ 7 นัด บราวนิ่งสร้างออกมาเพียง 8 กระบอกเท่านั้น
เพื่อเป็นปืนตัวอย่างส่งในคณะกรรมมาธิการ พิจรนาตรวจสอบและทดสอบ และ รุ่นนี้ยังมีเวอร์ชั่นที่เป็นนกใน หลังจากที่ คณะกรรมมาธการได้ลงความเห็นในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1911 ว่า Colt M1910 .45 ACP เป็นปืนที่เหมาะสมสำหรับทหารราบ ทหารม้า และ ส่วนอื่นๆ มีความเม่นยำ เชื่อถือได้ จึงได้ประกาศ รับเข้าประจำการโดยเรียกว่า
M1911 Government model (ที่เรียกแบบนี้เพราะเป็นสิทธิบัตรของรัฐบาล เพราะซื้อจากโค้ลแล้วนั้นเอง โดย
Colt M1911 .45 ACP บรรจุ 7 นัด การผลิตตั้งแต่ปี 1911-1924 มีการผลิตจำนวน 717,386 กระบอก
ระบบปฏิบัติการนี้เรียกว่า ระบบ บราวนิ่ง-โค้ล Brawning-Colt system และต่อมาในช่วงปี 1924 หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดลงไป อเมริกันได้ทำการปรับปรุง M1911 อีกครั้ง โดย เปลี่ยนชื่อเป็น M1911A1 .45 ACP บรรจุ 7นัด
1.เพิ่มขนาดหลังอ่อนเพื่อให้จับกระชับมากขึ้น
2.ลดระยะง้างสุดนกสับลง โดยถ้านำ นกสับของM1911 มาใส่ระยะง้างจะชนกับหงอนหลังอ่อนจะค้างนกไม่ได้
3.ไกปืนM1911A1 จะมีระยะสั้นกว่า M1911 เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าไก
 4.ปาดเว้าตรงโครงปืนหลังไก
5.เปลี่ยนแผ่นปิด เมนสปริง โดยทำโค้งมากขึ้นเพื่อ ให้รับกับสรีระ มือผู้ยิง
6.ศูนย์หน้ามีความหนาขึ้น เพิ่มร่องบากศูนย์หลังเป็นสองเท่าของM1911
มีการผลิตโดยนับจนถึงปี 1945 จำนวน 1,976,227 กระบอก และ มีผลิตหลังจากนั้นเรื่อยๆ อีก
ในโมเดล M1911A1 ในสมัยสองครามโลกครั้งที่สองมีความต้องการเป็นจำนวนมาก จำได้มี ผู้ผลิตอื่นนอกจากโค๊ล ได้แก่
Springfield Armory มีตราประทับ รูปนก อินทรี หรือ”Springfield Eagle” กับตราสรรพาวุธสหรัฐฯและ N.R.A
Remington Union Metallic Cartridge จะมีตราประทับ Remington UMC
North American Arms Co. ประทับตราว่า “U.S. Property”
Savage Munitions Company ประทับคำว่า “AA”มาจาก Augusta Arsenal
Arsenal Rework 1911 Military Model เป็นปืนที่ถูกส่งกลับไปปรับปรุงที่กรมสรรพาวุธ หลังสงครามโลกครั้งที่1 มักจะประทับว่า AA RIA SA
Winchester
และโรงงานอื่นๆอีกใน สหรัฐฯและแคนนาดา ยังมีส่วนที่ผลิตตามออเดอร์ต่างประเทศ
British RAF Rework ประทับคำว่า”R.A.F”เป็นของอังกฤษ ที่นำมาปรับปรุงใหม่ ใช้ในหน่วย Royal Air Forcce
Argentine Contract เป็นรุ่นที่ส่งไปขายที่ อาร์เจนติน่า ประทับคำว่า “Pistola Automatica Sistema Colt,Calibre 11.25 mm Modelo 1916”
Russian Order ผลิตตามออเดอร์ของ รัสเซียในช่วง1915-1919 ประทับคำว่า “Anglo Zakazivat”
WW II British Contract อังกฤษสั่งเข้าประจำการ โดยใช้กระสุนขนาด .455 เว็บเลย์
ส่วนM1911 ที่โค้ลเริ่มผลิตในเชิงพานิช จะเริ่มใช้ตัวอักษร “C” นำหน้า ตัวเลขเช่น”C109000”ผลิตต่อมา121,000 กระบอก และจากนั้นเริ่มผลิต M1911A1 ต่อมา
ที่น่าสนใจคือ
Permanent Gun Commission ของนอร์เวย์ได้เจรจากับ FN เบลเยี่ยม(แทนที่จะเป็นโค้ล) ได้ให้ Kongsberg Vapenfabrikk ผลิต Norwegian Automisk Pistol Pistol Model 1912 ตามแบบ M1911 และ Norwegian Automisk Pistol Pistol Model 1914 มีการปรับปรุงจาก 1912 เล็กน้อย และหลังจากเยอรมัน นาซี เข้ายึดครองนอร์เวย์ ได้สั่งเปิดสายการผลิตอีก ชื่อว่า Pistole 657 N Norwe.14 โดยรุ่นนี้ไม่มีการประทับตราใดๆ
จนถึงปัจจุบัน ปืนระบบ ระบบ บราวนิ่ง-โค้ล ยังคงมีการผลิตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหลายผู้ผลิตทั่วโลก และมีทีท่าว่า ปืนระบบM1911 นี้จะยังคงมีการผลิตใช้งานต่อไป ในกองทัพสหรัฐ ถึงแม้ว่า จะมี Beretta M9 หรือ M92Fs เข้ามาแทนที่ในปี1990 ซึ่งบรรจุเป็นอาวุธปืนสั้นหลักแล้วก็ตาม ปืนระบบM1911 ก็ยังคงมีใช้งานตามหน่วยต่างๆเช่น Special Operations Capable Forces ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ

เรียบเรียงโดย ป.ปืน ณ บางซื้อ เจ้าของเพจ ป.ปืน
อ้างอิง
http://www.germandaggers.com/Gallery/GC.php
https://en.wikipedia.org/wiki/M1911_pistol
http://soldiergenx.blogspot.com/2010/09/m1911-a1.html
http://www.m1911.org/full_history.htm
1911 NEVER DIE The Greeted Handgun บ.วงษ์ดีมีเดีย จำกัด โรงพิมพ์ โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กทม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น