วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาแวร์ซายส์ หนึ่งในชนวนสงครามโลกครั้งที่2

การเรียกร้องให้เยอรมันชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามทั้งหมด 
นั้นถือเป็นสร้างความตรึงเครียดและเป็นชนวนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง  และคนที่ฉีกสัญญานั้นได้ใจชาวเยอรมันไปเต็มๆ  และเขาคือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  ผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่สองนั้นเอง

สัญญาแวร์ซายส์
ที่ประชุม ณ ห้องโถงกรุง แวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1919 เวลา 17.20 นาฬิกา ผู้แทนจากประเทศเยอรมัน ได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ
เกี่ยวกับการทหาร
เยอรมันจะต้องยกเลิกกรมเสนาธิการทหารอย่างเด็ดขาด กองทัพบกจำกัดให้มีกำลังพลเพียง 100000 คน รวมนายทหาร 4000 คน และกำลังเหล่านี้ มีไว้เพียงเพื่อรักษาความสงบในอาณาเขต และรักษาพรมแดนเท่านั้น และเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยง จึงได้กำหนดไว้อีกด้วยว่า จำนวนข้าราชการ เช่น พนักงาน ภาษีอากร เจ้าพนักงานกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่รักษาการชายทะเล จะต้องมีไม่เกินจำนวนที่ได้แจ้งไว้ในปี ค.ศ. 1913 กำลังตำรวจและเทศบาล จะเพิ่มขึ้นได้ตามส่วนของพลเมืองที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ ค.ศ. 1913 เป็นต้นไป
โรงงานสร้างอาวุธกระสุนดินดำและยุทโธปกรณ์ จะต้องอยู่ในวงจำกัด เท่าที่สัมพันธมิตรจะยินยอม และเยอรมันจะสั่งอาวุธและยุทโธปกรณ์เข้าประเทศ หรือส่งออกไม่ได้เป็นอันขาด ห้ามเยอรมันนำเข้าก๊าซพิษ รถเกาะ รถถัง และให้เลิกใช้วิธีเกณฑ์ทหาร ให้ใช้ได้เฉพาะทหารอาสาเท่านั้น พลทหารให้อยู่ในหน้าที่ 12 ปี เพื่อป้องกันการ หมุนเวียนกำลังทหาร
องค์การด้านการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย สมาคมทหารกองหนุน สมาคมท่องเที่ยวล่าสัตว์ และไม่ว่าจะเป็นสมาคมใด ไม่ว่าสมาชิกจะมีอายุเท่าใด จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทหารโดยเด็ดขาด
กำลังทหารเรือ เยอรมันถูกจำกัดให้มีเรือรบได้เพียง 6 ลำ ครุยเซอร์ 6 ลำ เรือพิฆาต 1 ลำ เรือตอร์ปิโด 12 ลำ ส่วนเรือดำน้ำห้ามมีเด็ดขาด เรือรบจะสร้างขึ้นใหม่ได้ก็เพื่อชดเชยของเก่าที่ชำรุดเท่านั้น
กำลังพลทหารเรือมีได้ ไม่เกิน 15000 คน นายทหารไม่เกิน 1500 คน ระยะเวลา ที่จะให้อยู่ในประจำการให้เท่ากับทหารบก เรือค้าขายจะได้รับการฝึกหัดอย่างทหารเรือมิได้โดยเด็ดขาด และถ้าหากว่ามีเกินจำนวนที่กำหนดไว้ จะต้องโอนให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรไป
กำลังทางอากาศนั้น ห้ามมิให้มีโดยเด็ดขาด และที่มีอยู่เดิมนั้นให้ขึ้นกับฝ่ายพันธมิตรโดยตรง
ทำลายป้อมปราการและท่าเรือ ที่เกาะดูน และเกาะเฮลิโกแลนด์ ให้หมดสิ้น
เกี่ยวกับดินแดน
เยอรมันต้องคืนดินแดน อัสซาสและลอร์เรนท์ให้แก่ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมให้ได้รับบริเวณที่เกี่ยวแก่จุด ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ ยูเปน มาลเมดี และมอเรสเนต์ ซึ่งมีพลเมืองทั้งสิ้น 70000 คน ทั้งนี้โดยวิธีขอประชามติในการขอประชามติอีกครั้งหนึ่งนั้น เดนมาร์กได้รับมณฑลเซลสวิกส่วนเหนือ ซึ่งปรัสเซียได้ไปตั้งแต่ ค.ศ. 1864 โดยส่วยใต้นั้น คงโหวตไปอยู่กับเยอรมันตามเดิม เชคโกสโลวเกีย ได้ดินแดนเล็กๆ ในมณฑลซิเลเซียเหนือ สำหรับโปรแลนด์ให้เป็นรัฐเอกราช โดยเยอรมันยอมคืนส่วนใหม่ของโบเสนกับปรัสเซียตะวันตก ให้แก่โปแลนด์ มณทั้งสองนี้ มีอาณาเขตประมาณ 260 ไมล์ กว้าง 70 ไมล์ พลเมือง 2 ใน 3 เป็นชาวโปแลนด์ ส่วนปรัสเซียตะวันออก ยังคงสมัครอยู่กับเยอรมัน เมืองแดนซิก ซึ่งเป็นพลเมืองชาวเยอรมันเกือบทั้งหมด ยกขึ้นเป็นเมืองอิสระภายใต้การควบคุมของ สันนิบาตชาติ แต่ยอมให้โปแลนด์มีส่วนในการดำเนินการทางการเมือง และเศรษฐกิจ สัมพันธมิตรเข้าปกครองเมืองเมเมล ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมัน และบริเวณปากน้ำ ไนแมนด้วย และต่อมาได้โอนให้ ลิธัวเนีย เยอรมันยอมยกเลิกสิทธิและอำนาจต่างๆ ในอาณานิคมของตนให้แก่สัมพันธมิตรทั้งหมด โดยอาณานิคมเหล่านี้ ภายหลังได้จัดเป็นเมืองในอาณัติของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น ออสเตรีย นิวซีแลนด์ และ สหภาพแอฟริกาใต้
เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
เพื่อเป็นการชดใช้ค่าเสียหายของบ่อถ่านหินทางทิศเหนือของฝรั่งเศส และเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ อันเนื่องมาจากสงคราม
เยอรมันจะต้องยกบ่อถ่านหินในแคว้นซาร์ ให้กับฝรั่งเศสครอบครองอย่างเด็ดขาด และให้มีสิทธิในผล ประโยชน์ด้วย เป็นเวลา 15 ปี ผู้ครองแคว้นซาร์ จะต้องภายใต้การครอบงำของคณะกรรมการสัมปาทิกแห่งสันนิ บาตชาติ เมื่อครบกำหนดแล้วให้มีการขอประชามติว่า จะไปอยู่กับฝรั่งเศสหรือจะไปขึ้นกับเยอรมัน
เยอรมันเสียสัมปทานทางการค้า และเขตอิทธิพลในทางเศรษฐกิจ จีน ไทย ลิเบเรีย อียิปต์ มอร็อคโค และในที่อื่นๆ ทุกแห่ง
ให้พันธมิตรเข้าควบคุมแม่น้ำสำคัญๆ ในเยอรมัน เพื่อให้ประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล ใช้ประโยชน์ ได้โดยเสรี
จะต้องให้เชคโกสโลวเกีย เช่าส่วนหนึ่งของเมืองท่าแฮมเบิร์ก และสเตตติน เป็นเวลา 99 ปี
เปิดคลองคีล ให้เรือรบและเรือสินค้าเดินได้ในยามสงบ

ขอบคุณเครดิต www.baanjomyut.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น