วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พรรคฟ้าดินเคยรบกับกองทัพไทย (โค่นชิงกู้หมิง)


คณะพรรคฟ้าดินนั้น มีต้นกำเนิดในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง หลังที่ราชวงค์ชิง เข้ายึดอำนาจและได้ครอบครองแผ่นดินจีน จากราชวงศ์หมิง กลุ่มคนจีนที่ยังจงรักภักดีต่อราชวงค์หมิง จึงได้รวมตัวกันมีทั้งแม่ทัพขุนนางเก่าจากราชวงศ์หมิงและคนทั่วไป มีนโยบาย โค่นชิงฟื้นฟูหมิง ก่อเหตุอยู่เนืองๆ อยู่ตามเมืองฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง จนราชวงค์ชิงออกปราบปรามอย่างหนัก กระทั่งแม่ทัพอั้งกวงซึ่งเป็นแม่ทัพคนสุดท้ายของราชวงศ์หมิงเสียชีวิตลง สมาชิกในพรรคต่างถือแซ่อั้ง เพื่อเป็นการระลึกถึงท่านแม่ทัพ และก็ถือว่าอั้งเป็นสัญลักษณ์ของการกู้ชาติด้วย โดยเรียกตัวเองว่า คณะอั้งยี่ หรือ(คณะอักษรอั้ง) ต่อมาหลังจากโดนปราบปรามอย่างหนักจากราชวงศ์ชิง และกฏบังคับที่เข้มงวดทั้งการแต่งกายและทรงผม ไว้เปีย ซึ่งราชวงศ์ชิงได้สังหารคนไปราวๆถึง 15 ล้านคนในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลจีนสำรวจการย้ายถิ่นฐานออกนอกประเทศประมาณราว 14 ล้านคน ส่วนมากเป็นคนจีนทางตอนใต้ และบางส่วนได้ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
ชาวจีนที่ย้ายมามากที่สุดตามลำดับมากสุดไปหาน้อย จีนแต้จิ๋ว จีนไหหลำ จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง จีนแคะ
คณะพรรคฟ้าดิน ได้เข้าประเทศมาราวในปี พ.ศ ๒๓๗๒ แต่วัตถุประสงค์ของพรรคฟ้าดินกลับกลายเป็นก่อความไม่สงบและทำธุรกิจผิดกฎหมายของไทย ทั้งเรื่องยาเสพติดฝื่น รัฐบาลไทยจำต้องตรากฏหมายอาญาขั้นพิเศษพี่จัดการ พรรคฟ้าดิน หรืออั้งยี่
อั้งยี่ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “สมาคมลับของคนจีน” (พรรคฟ้าดิน)

"ตั้วเฮีย" แปลว่าพี่ใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า
"ยี่เฮีย" แปลว่าพี่ที่สอง (แต่เป็นตำแหน่งสูงสุดเพราะ ตั้วเฮียโค้ ซึ่งก่อความไม่สงบขึ้นในนตรไชยศรีถูกประหารชีวิต ชาวคณะถือว่า ต่อนี้ไปไม่มีใครสมควรเป็นตั้วเฮียอีก จึงมีแต่ตำแหน่ง ยี่เฮีย)
"ซาเฮีย" แปลว่าพี่ที่สาม

ชาวจีนในประเทศไทยตามเมืองชายทะเลพากันสูบฝิ่นแพร่หลาย เข้ามาหากินในเมืองไทย และขายฝิ่นไปด้วย เลยเป็นปัจจัยให้มีคนไทยสูบฝิ่นมากขึ้น แม้จนผู้ดีที่เป็นเจ้าและขุนนางพากันสูบฝิ่นติดก็มี ก็ในเมืองไทยมากฎหมายห้ามมาแต่ก่อนแล้วมิให้ใครสูบฝิ่ หรือซื้อฝิ่นขายฝิ่น เมื่อปรากฏว่ามีคนสูบฝิ่นขึ้นแพร่หลายเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสสั่งให้ตรวจจับฝิ่นตามกฎหมายอย่างกวดขัน แต่ทางเหล่าคณะอั่งยี่ก็ไม่ยอมหยุด ยังลอบขานฝิ่นกันต่อไป
สงครามเริ่มขึ้น

ชาวคณะลอบขายฝิ่นเป็นรายย่อยเข้ามายังพระนคร ข้าหลวงสืบรู้ก็ออกไปจับ
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ออกจับกุมในแขวงจังหวัดนครชัยศรี และจังหวัดสมุทรสาคร แต่ปราบปรามได้โดยไม่ต้องรบพุ่งกัน ต่อนมาอีก ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ ชาวคณะตั้งซ่องขายฝิ่นในป่าแสมริมชายทะเล ณ ตำบลแสมดำ ในระหว่างปากน้ำบางปะกงกับแขวงจังหวัดสมุทรปราการ ขณะเจ้าหน้าที่ไทยเข้าจับกุม เกิดการต่อสู้ ต้องให้กรมทหารปากน้ำไปปราบ สังหารชาวค๊ะตายหลายคน และจับหัวหน้าได้ เหตุการณ์ก็สงบลงอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาอีก ๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๙๐ชาวคณะตั้งซ่องขายฝิ่นขึ้นอีกที่ตำบลลัดกรุด แขวงเมืองสมุทรสาคร ครั้งนี้พวก พรรคพวกมากกว่าแต่ก่อน พระยาพลเทพ ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานจับฝิ่น ออกไปจับเองแต่ถูกชาวคณะยิงเสียชีวิต สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังคุมกำลังพลไปปราบ เกิดการรบพุ่งกันขึ้น ทางเจ้าหน้าที่สามารถสังหารชาวคณะเสียชีวิตปกว่า ๔๐๐ คน และจับหัวหน้าได้จึงสงบ
พอเดือน ๕ พ.ศ. ๒๓๙๑ ชาวคณะก็กำเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา ก่อกบฏขึ้น เหิมเกริมหนัก ถึงขั้นฆ่าพระยาวิเศษลือชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราเสียชีวิต แล้วยังพาพรรคพวกเข้ายึดป้อมเมืองฉะเชิงเทราไว้เป็นที่มั่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยกพลจากเมืองสมุทรสาครไปปราบ ที่เมืองฉะเชิงเทรา การรบเป็นไปอย่างดุเดือด มีการสังหารชาวคณะไปกว่า ๓,๐๐๐ คน จึงสงบ ต่อมาอีก ๒ ปีก็สิ้นรัชกาลที่ ๓

ชาวคณะยังกำเริบที่เมืองระนองและภูเก็ต ถึงปี พ.ศ.๒๔๑๙ เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลที่ ๕ เกิดลำบากด้วยชาวจีนที่เป็นกรรมกรที่ทำเหมืองแร่ดีบุกที่เมืองระนอง และเมืองภูเก็ตกำเริบคล้ายกับเป็นกบฏต้องปราบปรามเป็นการใหญ่โต
หลังจากนั้นชาวคณะต่างก็แตกแยกกลายเป็นอั่งยี่แก๊งต่างๆ ก่อปัญหาฆ่าฟันกันเอง อยู่ตลอด
รัฐธรรมนูญ มาตรา 45
บุคคล ย่อมมี เสรีภาพ ในการรวมกัน เป็น สมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือ หมู่คณะอื่น
การจำกัด เสรีภาพ ตาม วรรคหนึ่ง จะกระทำ มิได้ เว้นแต่ โดยอาศัย อำนาจ ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชน เพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือ เพื่อป้องกัน มิให้มีการผูกขาดตัดตอน ในทางเศรษฐกิจ
มาตรา ๒๐๙
ผู้ใด เป็น สมาชิก ของ คณะบุคคล ซึ่ง ปกปิดวิธีดำเนินการ และ มีความมุ่งหมาย เพื่อการ อันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้น กระทำความผิด ฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน เจ็ดปี และ ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้า ผู้กระทำความผิด เป็น หัวหน้า ผู้จัดการ หรือ ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สิบปี และ ปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
มาตรา ๒๑๒
ผู้ใด
(๑) จัดหา ที่ประชุม หรือ ที่พำนัก ให้แก่ อั้งยี่ หรือ ซ่องโจร
(๒) ชักชวนบุคคล ให้เข้าเป็นสมาชิก อั้งยี่ หรือ ซ่องโจร
(๓) อุปการะ อั้งยี่ หรือ ซ่องโจร โดยให้ ทรัพย์ หรือ โดยประการอื่น หรือ
(๔) ช่วยจำหน่าย ทรัพย์ ที่ อั้งยี่ หรือ ซ่องโจร ได้มาโดย การกระทำความผิด
ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับ ผู้กระทำความผิด ฐานเป็นอั้งยี่ หรือ ซ่องโจร แล้วแต่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น