วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

12 สุดยอดทหารมหาประลัย แห่งกองทัพเยอรมัน ทำลายล้างข้าศึกเป็นกองทัพ


12 สุดยอดขุนศึก มหาประลัย แห่งกองทัพเยอรมัน ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง
ดูจากสถิติแล้วต่อไปนี้ อาจจะตกใจได้ ว่าคนเหล่านี้เป็นยอดมนุษย์หรืออย่างไร 

1.Matthaus Hetzenauer
สุดยอดพลแม่นปืนปลิดชีพทหารรัสเซียไป 345 ราย เขายังทำสถิติน่าทึ่งซึ่งมีทหารเยอรมันแค่ 3 คน ทำได้คือ ทั้งทำลายรถถังด้วยอาวุธขนาดเล็กในระยะประชิด และใช้ปืนไรเฟิลยิงเครื่องบินตกอีก 1 ลำ (อยู่ถึงอายุ 79 ปี)


2.Erich HartMann 
สุดยอดแห่งเสืออากาศเยอรมัน ผู้ทำสถิติยิงเครื่องบินข้าศึกสูดสุดถึง 353 ลำ (อยู่ถึงอายุ 71 ปี)

3.Michael Wittmann 
เสือรถถังของเยอรมัน ผู้ทำสถิติในการทำลายรถถังของข้าศึกได้สูงถึง 138 คัน รถติดปืนใหญ่และปืนใหญ่อีก 132 กระบอก (เสียชีวิตในสงคราม)

4.Kurt Knispel 
เสือรถถังของเยอรมันอีกคน ทำสถิติในการทำลายรถถังของข้าศึกได้ 168 คันที่ได้รับการยืนยัน อาจะมีถึง 195 ที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน (เสียชีวิตในสงคราม)

5.Otto Carius
สุดเสือรถถังสถิติยิงสูงสุดของกองทัพเยอรมัน ทำสถิติใในการทำลายรถถังข้าศึก ราว 200 คัน (อยู่ถึงอายุ 92 ปี)

6.Otto Kretschmer 
สุดยอดกัปตันเรือดำน้ำของเยอรมันจมเรือได้ 56 ลำ คิดเป็นระวางขับน้ำรวม 313,611 ตัน (อยู่ถึงอายุ 86 ปี)

7.Reinhard Suhren 
สุดยอดกัปตันเรือดำน้ำของเยอรมันอีกคน จมเรือไป 18 ลำ คิดเป็นระวางขับน้ำรวม 200,000 ตัน (อยู่ถึงอายุ 68 ปี)

8.Hans-Ulrich Rudel (เป็นนักบินทิ้งระเบิด) 
คนนี้เรียกกว่าครบเครื่อง ที่สุดทำลายมาแล้วทุกอย่าง ทำลายเครื่องบิน 9 ลำ รถถัง 519คัน ยานยนต์อื่นๆกว่า700คัน ปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยาน 150กระบอก เรือประจัญบาน1 ลำ เรือพิฆาต1ลำ ลาดตระเวณ1ลำ เรือยกพลขึ้นบก 70ลำ หลังสงครามยังเป็นคนช่วยพัฒนาเครื่องบินกองทัพอเมริกา นั่นก็คือ เครื่อง A-10 นั่นเอง (อยู่ถึงอายุ 66 ปี)

9.Josef Allerberger 
พลแม่นปืนทำสถิติปลิดชีพ ข้าศึกไป 257 ราย (อยู่ถึงอายุ 85 ปี)

10.Bruno Sutkus
พลแม่นปืนปลิดชีพ ข้าศึกไป 209 ราย อยู่ถึงอายุ 79 ปี

11.Friedrich Pein 
พลแม่นปืนทำสถิติปลิดชีพ ข้าศึกไป 200 ราย (อยู่ถึงอายุ 59 ปี)


12.Johannes Bölter
เสือรถถัง ทำสถิติในการทำลายรถถังของข้าศึก144 คัน (อยู่ถึงอายุ 72 ปี)


รวมสถิติทั้งหมด

ทำลายเครื่องบินรวม 363 ลำ รถถัง 1196 คัน เรือสินค้าและเรือรบอื่นๆประมาณ 74 ลำ คิดเป็นระวางขับน้ำรวม 513611 ตัน ยานยนตร์อื่นๆ 700 คัน ปืนใหญ่และต่อต้านอากาศยานรวม 282 กระบอก เรือประจัญบาน1 ลำ เรือพิฆาต1ลำ ลาดตระเวณ1ลำ เรือยกพลขึ้นบก 70ลำ สังหารทหารรวม 1011 นาย (ไม่รวมทหารประจำการในเรือต่างๆรถถังต่างๆเครื่องบินต่างๆ อีกมากมาย)

จาก12 นาย  มี  2 เสียชีวิตในสงคราม ซึ่งเป็นเสียรถถัง ตายตอนท้ายสงครามเพราะต้องป้องกันและโดนรุมจากรถถังฝ่ายตรงข้ามจำนวนมาก  แถมอีก10 นายที่รอดจากสงครามก็อายุยืนกันทั้งนั้น

ทหาร 12 นาย ที่นำโดย ท่านอดอล์ฟฮิตเลอร์  ต่างเป็นผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่2

เรียบเรียงโดย  เรืออู  blog http://topichistoryn.blogspot.com/
หากชอบบทความ ประวัติศาสตร์ ใน blog ให้ลองเซฟลิ๊ง blog ในคอมไว้นะคับเพราะ พิมหาblogขึ้นยากมาก ถ้าไม่เฉพาะเจาะจงเรื่องราว

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แนะนำ10ภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่1

ภาพยนตร์ เนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไม่ค่อยจะถูกสร้างออกมามากนัก จะหนังไปทาง สงครามโลกครั้งที่2มากกว่า  วันนี้ผม เรืออู จะมาแนะนำ 10 ภาพยนตร์ ww 1 ให้เอาไปเลือกชมกัน

    10. Gallipoli
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 อังกฤษได้นำทัพเรือบุก ตุรกี และเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกองทัพอังกฤษที่พ่ายแพ้ให้กับ ชาวเติร์ก
9. flyboys
ปี 1916 สงครามโลกยืดเยื้อมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ทางฝั่งตะวันตก  อาสาสมัครอเมริกันจำนวนหนึ่งก็รวมตัวกันจัดตั้งหน่วยนักบินรบของตนเอง เพื่อช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อสู้กับกองกำลังโจมตีทางอากาศของเยอรมัน
8.Joyeux Noë
สร้างจากเรื่องจริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เรื่องราวสุดงดงามท่ามกลางความโหดร้าย ในวันคริสมาส ทั้ง2ฝ่ายได้วางปืนหยุดยิงกันและมาร่วมทำกิจกรรมด้วยกันสะอย่างงั้น
7.forbidden ground
เรื่องราวของเหล่าทหารสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่ล้มเหลวในการบุกหลุมหลมภัยของเยอรมันนี ทำให้พวกเขาทั้งสามนายติดอยู่ในพื้นที่ซับซ้อน โดยหนึ่งในนั้นได้รับบาดแผลขั้นรุนแรงต้องรักษาอย่างเร่งด่วน ส่วนอีกนายหนึ่งก็รู้ดีว่าการโจมตีด้วยปืนใหญ่กำลังจะเริ่มขึ้นและถ้ายังอยู่ที่เดิมพวกเขาอาจสิ้นชีพได้ ทำให้พวกเขาต้องหาทางหนีทีไล่กลับประเทศของตนท่ามกลางบรรดาศัตรูพร้อมกับสหายร่วมรบที่เจ็บปางตาย
6.the trench
เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มทหารวันสุดท้ายก่อนการรบของ Somme ในปี 1916 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และนำคุณเข้าสู่จิตใจของทหาร

5.the red baron
บารอน แมนเฟร็ด วอน ริชโธเฟน คือ นักบินรบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งกองทัพอากาศเยอรมันใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สำหรับเขาและเพื่อนนักบิน การสู้รบทางอากาศเป็นเสมือนเกมกีฬาอย่างหนึ่งที่ทั้งท้าทาย และนักบินรบยังได้รับการนับถืออย่างสูง แมนเฟร็ดจึงได้รับฉายาว่า เดอะ เรด บารอน และทำให้เขาโด่งดังไปทั่วโลก
4.beneath hill60
สงครามโลกครั้งที่1 มีการขุดอุโมงค์เข้าไปวางระเบิด ทหารออสเตรเลียดำเนินการขุดอุโมงค์ใต้ป้อมปราการและบังเกอร์ของเยอรมันและจุดระเบิดครั้งใหญ่เพื่อทำลายหลุมแนวรับเยอรมัน
3.passchendaele
เนื้อเรื่องจำแทบไม่ได้ แต่มันมาก สู้กันในเบลเยี่ยม 
2.The Lost Battalion
ในฝรั่งเศส ปี 1918 ทหารอเมริกันกองพันที่ 308 ในสนามเพลาะโดยการนำของพันตรี ชาร์ล ไวท์ วิทเทิลซีย์ (Maj. Charles White Whittlesey) อดีตทนายความจากนิวยอร์ค กำลังรอการกลับมาของหน่วยลาดตระเวณอย่างกระวนกระวาย และแล้วทหาร 3 คนสุดท้ายในหน่วยลาดตระเวณก็วิ่งหนีข้าศึกกลับมาท่ามกลางการระดมยิงของข้า ศึกและการยิงคุ้มกันของเพื่อนๆ ในสนามเพลาะ

1.War Horse


เรื่องราวของความหวัง, ความภักดี, และความผูกพันที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ที่เกิดขึ้นในชนบทของอังกฤษและยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1War Horse ม้าศึกจารึกโลก เริ่มต้นจากมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ระหว่างม้าตัวหนึ่งที่ชื่อ “โจอี้” และเด็กหนุ่มชื่อ “อัลเบิร์ต” ผู้เลี้ยงและฝึกฝนมันมากับมือ เมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้ทั้งคู่ต้องแยกจากกัน เราจะได้ติดตามการเดินทางอันน่าเหลือเชื่อของม้าตัวหนึ่งที่ต้องผ่านการทำสงคราม, เปลี่ยนแปลงและให้แรงบัลดาลใจกับหลากหลายชีวิตที่มันได้พบเจอ – ทหารม้าชาวอังกฤษ, ทหารเยอรมัน, และชาวนาฝรั่งเศสกับหลานสาวของเขาก่อนที่เรื่องราวจะทะยานสู่จุดสูงสุด ณ ใจกลางของสนามรบเราจะได้เห็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ผ่านการเดินทางของม้าศึกตัวนี้ เรื่องราวของความสุขและความเศร้า, มิตรภาพสุดประทับใจ และการผจญภัยอันยิ่งใหญ่ “War Horse ม้าศึกจารึกโลก” คือหนึ่งในเรื่องราวชั้นเยี่ยมเกี่ยวกับมิตรภาพและสงคราม


วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เรื่องราวของ จอห์นนี่ และ ลูเธอร์ ฮะทู แฝดอดีตผู้นำก๊อตอาร์มมี่

Johnny และ Luther อดีตเด็กแฝดหัวหน้านักรบกระเหรี่ยงก๊อตอาร์มมี่ในตำนาน กลุ่มที่ต่อสู้กับพม่า กระเหรี่ยงก๊อตอาร์มมีเผ่าพันธ์ผู้ขวางทางแหล่งแก๊สยานาดะ ของพม่า ทำให้โดนขับไล่และจับอาวุธขึ้นสู้   และเหตุการณ์ที่คนไทยไม่เคยลืม คือบุกยึดโรงพยาบาล


เช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังก๊อด'ส อาร์มี่ กลุ่มเดิมที่นำโดย นายจอนนี่ จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุขึ้นอีกครั้งและอุกอาจยิ่งกว่าเดิม ด้วยการปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 และระเบิดจี้คนขับรถให้พาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้ประมาณ 1,000 คน เป็นตัวประกัน

จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ก่อการได้วางระเบิดดักไว้ที่ลาดจอดรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรองจนทราบว่า กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก การเจรจาผ่านไปเกือบ 20 ชั่วโมง กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ได้ร้องขอเครื่องมือสื่อสารและเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ให้พากลับไปส่งยังชายแดน ที่อำเภอสวนผึ้ง

ในขณะที่พยายามจัดหาสิ่งที่ฝ่ายผู้ก่อการร้องขอมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยทั้งทหารและตำรวจพยายามต่อรองเพื่อหันเหความสนใจ โดยการถ่วงเวลาให้ผู้ก่อการอ่อนล้าและรอกำลังเสริม เพราะฝ่ายไทยต้องการจัดการขั้นเด็ดขาด
ในที่สุด เวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มกราคม กองกำลังผสมหน่วยฉก.90 หน่วยนเรศวร 261 และหน่วย อรินทราช 26 จำนวน 50 นายได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน ควบคู่ไปกับการจัดการขั้นเด็ดขาด โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 นาที สามารถช่วยเหลือตัวประกันไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย และกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ เสียชีวิต 10 คน


กระทั่งวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 ลูเธอร์และจอห์นนี่ ทู พร้อมลูกน้องทั้ง 55 คน ได้เข้ามอบตัวต่อทางการไทย และถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพ "พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง" ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี





Luther อาศัยอยู่ที่สวีเดน  แต่ตอนนี้ เขาได้ผันตัวเป็นนักต่อสู้เพื่อชาวกระเหรี่ยงโดยไม่จับปืนโดนพยายามสนันสนุนใช้เด็กชาวกระเหรี่ยงรู้หนังสือและได้รับการศึกษา กระเหรี่ยง เพื่อที่จะไม่ลืมเลือนเผ่าพันธ์พันของตนเองไป  Luther มีความเป็นผู้นำสูงอย่างเห็นได้ชัด
Johnny อยู่ศูนย์อพยพที่เมืองไทย และหวังว่าจะได้ไปอยู่ร่วมกับครอบครัวของเขาที่ New Zealand
แต่เข้าใจผิดไปเข้าร่วมกองทัพพม่าทำให้เสียสิทธิ การอพยพไปประเทศโลกที่3  


โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านข้อความต่อไปนี้

จากปากคำของ  Luther 
ว่าทางทหารไทยได้ยิงปืนใหญ่ใส่กลุ่มกระเหรี่ยงของตน3วัน3คืน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จึงโกรธแค้น และจึงคิดแผนเข้ายึดโรงพยาบาลราชบุรี และบอกว่าไม่ได้ต้องการเข้าไปเพื่อฆ่าใคร เพียงแค่ต้องการ ยาและหมอ เพื่อไปรักษา คนของตน   Johnny บอกว่าถ้าพม่ายิง เราจะไปยึดโรงพยาบาลพม่า แต่ไม่ใช่เป็นทหารไทยเราจึงต้องยึดโรงพยาบาลไทย
หลังไทยหยุดยิงปืนใหญ่ทหารพม่าก็เข้าโจมตีกลุ่มของตนทันที  



ขายหมวก คอมิวนิส จีน น่าสะสม ใบล่ะ120 บาทซื้อ2ใบ ราคา 200 บาท คลิ๊กภาพหมวกหรือคลิ๊กลิ๊งได้เลย https://goo.gl/MSSJya

ขายเวส jpc ราคาสบายกระเป๋า 1650บาท มีสีเขียวและสีทราบ สนใจ คลิ๊กภาพหรือคลิ๊กลิ๊งได้เลย https://goo.gl/67boEd




วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประวัติศาสตร์พม่า ยอมหักไม่ยอมงอ ทำศึกกับมหาอำนาจไม่มีเจรจา บวกอย่างเดียว

ประวัติศาสตร์พม่า
• ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
มอญ

• ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยุเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
• นครรัฐของชาวปยุไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

อาณาจักรพุกาม
• ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อยๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร(เมืองพระนคร) และพุกาม
• อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
อังวะและหงสาวดี
• หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070
• สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
อาณาจักรตองอู
• หลังจากอาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูภายใต้การนำของพระเจ้ามิงคยินโย ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง
• ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
• เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
ราชวงศ์อลองพญา
                  นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi
• ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
• สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
• รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้
• ลำดับเหตุการณ์สำคัญในเมียนมาร์
• พ.ศ. 1043 : มีการจารึกเกิดขึ้นครั้งแรกในพม่าของพุทธศาสนาลัทธิอารี ในตำบลมะยิงยาน
• พ.ศ. 1297 : อาณาจักรน่านเจ้ามีอำนาจปกครองพม่าตอนเหนือ
• พุทธศตวรรษที่ 13 : ราชวงศ์วิกรมากำเนิดขึ้นที่เมืองแปร
• พ.ศ. 1343-1345 : ชนเผ่าพยูส่งทูตมายังราชสำนักกรุงจีน
• พุทธศตวรรษที่ 14 : เมืองแปรล่มสลาย
• กลางพุทธศตวรรษี่ 14 : พ่อค้าชาวอาหรับเดินเรือมาถึงพม่าเป็นชาติแรก
• พ.ศ. 1392 : อาณาจักรพุกามก่อตั้งขึ้นริมแม่น้ำอิระวดี
• พ.ศ. 1587 : ยุคทองของพุกาม พระเจ้าอโนรธาพิชิตดินแดนต่างๆเข้าไว้เป็นปึกแผ่น รวมทั้งอาณาจักรสุธรรมวดี(สะเทิม) ของชาวมอญ และทรงนำพุทธศาสนาลัทธิหินยานเข้ามาสู่พม่าตอนเหนือ ลัทธิอารีจึงสูญสิ้นไป
• พ.ศ. 1601 : มีการจารึกเป็นภาษาพม่าเกิดขึ้นครั้งแรก
• พ.ศ. 1602 : พระเจ้าอโนรธาเริ่มสร้างพระเจดีย์ชเวดากอง ลดอำนาจของยะไข่เหนือ เสด็จเยือนเมืองยูนนาน ขุดคลองชื่อกะโยคเซ
• พ.ศ. 1627 : กองทัพชาวเมืองบุกโจมตีเมืองพุกาม
• พ.ศ. 1633 : พระเจ้าจันสิทธะสร้างวัดอานันดา ส่งสมณทูตพม่าไปพุทธคยา
• พ.ศ. 1646 : ทูตพม่าไปเยือนเมืองยูนนาน
• พ.ศ. 1649 : ทูตพม่าไปเยือนราชสำนักพระเจ้ากรุงจีน
• พ.ศ. 1655 : จารึกมยาเจดีย์
• พ.ศ. 1658 : ชินอรหันต์มรณภาพ ทูตพม่าไปยูนนาน
• พ.ศ. 1661 : เลตะยะมินนันฟื้นฟูอาณาจักรยะไข่เหนือ ซ่อมแซมพุทธคยา
• พ.ศ. 1687 : พระเจ้าอลองสิทธูสร้างวิหารธาตุพยินยูหรือวิหารสัพพัญญู
• พ.ศ. 1753 : สร้างเขื่อนกะโยคเซ
• พ.ศ. 1816 : พระเจ้านราธิหะปติสั่งฆ่าคณะทูตจากพระเจ้ากุบไลข่าน
• พ.ศ. 1820 : สงครามงาซางงาม
• พ.ศ. 1823 : สถาปนาอาณาจักรตองอู
• พ.ศ. 1824 : พระเจ้าวเรรุ(พระเจ้าฟ้ารั่ว) ฟื้นฟูอาณาจักรมอญขึ้นใหม่ ตั้งราชธานีที่เมืองเมาะตะมะ
• พ.ศ. 1830 : กองทัพชาวมองโกลของพระเจ้ากุบไลข่านตีกรุงพุกามแตกในสมัยพระเจ้านราธิหะปติ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักร พุกามซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาถึง 438 ปี
• พ.ศ. 1912 : มอญย้ายเมืองหลวงมี่เมืองหงสาวดี โดยมีเมืองท่าคือ “ดากอง” หรือ “ตะเกิง”
• พ.ศ. 2029-2395 : อาณาจักรราชวงศ์ตองอูเจริญรุ่งเรือง
• พ.ศ. 2086 : พระเจ้าตะเบงชเวตี้ยกทัพมาตีไทย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยออกรบถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้างสิ้นพระชนม์
• พ.ศ. 2094 : “บายิ่นเนาน์” หรือพระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ยึดครองหงสาวดีของมอญ ล้มราชวงศ์มอญแล้วครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดี รวบรวมชาวพม่าเป็นปึกแผ่นเป็นสมัยที่2
• พ.ศ. 2112 : พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่1
• พ.ศ. 2127 : สมเด็จพระนเรศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่า
• พ.ศ. 2143 : กองทัพยะไข่จากแคว้นอาระกัน ตีกรุงหงสาวดีแตกในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง
• พ.ศ. 2295 : พระเจ้าอลองพญา ต้นราชวงศ์คองบอง รบชนะมอญรวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นสมัยที่3และตั้งราชธานีที่ชเวโบ
• พ.ศ. 2298 : พระเจ้าอลองพญามีชัยชนะเหนือมอญเบ็ดเสร็จ เปลี่ยนชื่อเมือง “ตะเกิง” หรือ “ดากอง” เมืองท่าของมอญ เป็น “ย่างกุ้ง” หรือ “ยางกอน” ซึ่งแปลว่า “สิ้นสุดสงคราม” หรือ “สิ้นสุดศัตรู”
• พ.ศ. 2303 : พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชย์หลังจากพระเจ้าอลองพญาสวรรคต ย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ
• พ.ศ. 2310 : พระเจ้ามังระตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่2
• พ.ศ. 2367 : อังกฤษยึดครองอินเดียได้แล้วก็รุกคืบสู่ลุ่มน้ำอิระวดี เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่า ครั้งที่1 จากนั้นอังกฤษก็ยึดดินแดนของพม่าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งี่2และครั้งที่3
• พ.ศ. 2396-2428 : ราชวงศ์คองบองหรืออลองพญา พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์แล้วย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังมัณฑะเลย์
• พ.ศ. 2428 : พม่าเสียเมืองให้แก่อังกฤษในสมัยพระเจ้าสีป่อแห่งกรุงมัณฑะเลย์ แล้วได้ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงย่างกุ้ง
• พ.ศ. 2444 : นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อตั้ง “ยุวพุทธสมาคม” เป็นจุดกำเนิดของขบวนการกู้ชาติพม่า (Yong Men Buddhist Association-YMBA)
• พ.ศ. 2460 : เกิดกรณี “ห้ามสวมเกือก” (No Footwear) ยุวพุทธ-สมาคมประท้วงชาวอังกฤษที่สวมรองเท้าเข้าวัด เพราะชาวพม่าถือว่าเป็นการกระทำที่ลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสนามาก และพระสงฆ์ชื่อ “อูวิสาร” ได้ทำการอดอาหารประท้วงอังกฤษจนมรณภาพ
• พ.ศ. 2473 : เกิดกบฏ “ซายาซาน” หรือ “กบฏผู้มีบุญ” เป็นการลุกฮือของชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ โดยบารมีอาจารย์ซายาซาน อดีตหมอยาแผนโบราณผู้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ สุดท้ายอังกฤษปราบได้ ซายาซานถูกแขวนคอและได้ประกาศก่อนตายอย่างอาจหาญว่า “เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษได้ตลอดไป”
• พ.ศ. 2478 : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนพม่าทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่ามากคือ “เที่ยวเมืองพม่า”
• พ.ศ. 2484 : 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (30 Comrades) ภายใต้การนำของอองซานร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
• พ.ศ. 2485 : ญี่ปุ่นปกครองพม่าและรัฐฉาน อองซานได้เป็นนายพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม อายุเพียง28ปีเท่านั้น
• พ.ศ. 2486 : ญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า
• พ.ศ. 2488 : สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา และนางาซากิยุติสงครามโลกครั้งที่2อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง อองซานตั้งสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
• พ.ศ. 2490 : อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่าในสนธิสัญญา “แอตลี่อองซาน” โดยมีอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “สหภาพพม่า” ในเดือนมกราคม ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์อองซานลงนามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า แยกตัวเป็นอิศระได้ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี
• กรกฎาคม 2490 : อองซานถูกบุกยิงที่อาคารรัฐสภา เสียชีวิตพร้อมกับรัฐมนตรีและทหารรักษาการณ์รวม8คน จากฝีมือของอูซอ (อดีต30สหาย) และพรรคพวกที่ไม่พอใจที่อองซานขึ้นตำแหน่งสูงสุดอย่างรวดเร็ว ต่อมาอองซานได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งเอกราชของพม่า”
• 4 มกราคม 2491 : พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง63ปี โดยมีอูนุ ( อดีต30สหาย )เป็นนายกรัฐมนตรี
• พ.ศ. 2500 : อูนุประกาศปฏิเสธที่จะใช้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง เกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆตามแนวชายแดน
• พ.ศ. 2505 : นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ประกาศปกครองพม่าแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย” ไม่ติดต่อกับโลกภายนอก
• พ.ศ. 2531 : นางอองซานซูจี บุตรสาวนายพลอองซาน ทำงานในองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คและภูฏานเดินทางกลับพม่าเพื่อรักษาแม่ที่กำลังป่วยหนัก
• 8 สิงหาคม 2531 : เกิดกรณี “8.8.88” (วันที่ 8 เดือน8 ค.ศ.1988) เมื่อทหารพม่าปราบปรามฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดกลียุค มีผู้บาดเจ็บ ตาย และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก
• กันยายน 2531 : ทหารพม่าของนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์ค” (State Law and Order Restoration Council-SLORC) โดยสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ขณะที่นางอองซานซูจีจัดตั้งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย
• พ.ศ. 2533 : มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30ปี พรรคของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับและไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ซ้ำยังสั่งกักบริเวณนางอองซานซูจีในบ้านของนางเอง
• กันยายน 2534 : นางอองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล
• พ.ศ. 2535 : สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “พม่า” (Burma) เป็น “เมียนมาร์” (Myanmar)
• พ.ศ. 2538 : สลอร์คให้อิสรภาพแก่นางอองซานซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี
• พ.ศ. 2539 : สลอร์คประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยวพม่าถึงปี 2540 และเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมประเทศลาว
• พ.ศ. 2540 : สลอร์คเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” (State of Peace And Development Council = SPDC) มีพลเอกตานฉ่วยเป็นประธานสภาฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีพลโทขิ่น ยุ้นต์ เป็นเลขาธิการสภาฯพลโทหม่อง เอย์ คุมกำลังทหารในส่วนภูมิภาคทั้งหมด
ขอบคุณเครดิต http://www.oceansmile.com/Phama/PhamaHistory.htm

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สงครามที่กินเวลายาวนาวถึง 335 ปี



สุดแปลกสงครามที่กินเวลายาวนานถึง 335 ปี กลับไม่มีใครตายแม้แต่คนเดียว
สงคราม 335 ปีนี้คือสงครามระหว่างเนเธอร์แลนด์และกลุ่มกษัตริย์นิยมเก่าของประเทศอังกฤษ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 1651

ช่วงเวลานั้นประเทศอังกฤษแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายคือกลุ่มกษัตริย์นิยมนำโดย King Charles ที่ 2 และกลุ่มรัฐสภาที่นำโดย Oliver Cromwell

ในตอนนั้นกลุ่มรัฐสภาได้ชัยชนะในสงคราม ปราบปรามกลุ่มกษัตริย์นิยมในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ไปเกือบหมด ทำให้ได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ราชนาวีฝักใฝ่กษัตริย์ของอังกฤษส่วนใหญ่ถอยร่นไปอยู่ที่หมู่เกาะซิลลี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ

วันที่ 30 มีนาคม 1651 กองเรือดัตช์ที่นำโดยนายพล Maarten Tromp ก็เดินทางไปถึงหมู่เกาะนี้และประกาศเริ่มต้นสงครามขึ้น มีเงื่อนไขเดียวให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ถอยร่นมาอยู่ที่นี่ให้ยินยอมแต่โดยดี และยอมจ่ายค่าปฏิกรณ์สงครามหลังมีเรือของพวกเขาถูกโจมตีเสียหายในสงครามนี้
พอได้ยินแบบนั้นฝ่ายกษัตริย์นิยมก็ยอมจำนวนแต่โดยดีใน 3 เดือนให้หลัง โดยไม่มี ใครเสียชีวิตเลย  ที่สงครามนี้ยาวนานถึง 335 ปีเพราะ ฝ่าย ฮอลแลน ลืมประกาศยุติสงครามสะอย่างงั้น
นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi

สงครามที่สั้นที่สุดในโลก สงครามแองโกล-แซนซิบาร์’ เพียง40นาทีกว่า

สงครามแองโกล–แซนซิบาร์ (Anglo-Zanzibar War) เป็นความขัดแย้งระหว่างสหราชอาณาจักรและรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ สงครามดังกล่าวถือเป็นสงครามที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดในโลก ราวๆ40 นาทีเท่านั้น
สงครามแองโกล–แซนซิบาร์ เกิดขึ้นที่เกาะ “แซนซิบาร์” ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแทนซาเนีย สาเหตุของความขัดแย้งเกิดขึ้นมาจากการสวรรคตอย่างกะทันหันของ Sultan Hamad bin Thuwaini เจ้าผู้ครองนครแซนซิบาร์ ในวันที่ 25 สิงหาคม 1896 ทำให้หลานชายของพระองค์ Sultan Khalid bin Barghash เข้ามายึดอำนาจโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากสหราชอาณาจักร ซึ่งขัดต่อสนธิสัญญาที่ทำไว้ร่วมกัน สหราชอาณาจักรจึงประกาศเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อให้ Sultan Khalid bin Barghash ออกจากวัง แต่กลับถูกปฏิเสธ อังกฤษจึงจำเป็นต้องส่งเรือรบ 5 ลำและทหารจำนวน 150 นายเพื่อเข้าปิดล้อมพื้นที่อ่าว

ความขัดแย้งดังกล่าวได้ลุกลามจนเป็นสงครามในวันที่ 27 สิงหาคม 1896 กินเวลากว่า 45 นาที และสิ้นสุดลงหลังจากที่ Sultan Hamad bin Thuwaini ได้ขอลี้ภัยเข้าไปในสถานกงสุลเยอรมนี และลี้ภัยต่อไปยังแอฟริกาตะวันออก เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวแซนซิบาร์เสียชีวิตมากถึง 500 คน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากถูกไฟคลอกเนื่องจากไฟที่ลุกไหม้ภายในปราสาท ขณะที่ลูกเรืออังกฤษนั้นได้รับบาดเจ็บไปเพียง 1 นายเท่านั้น


นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi




ขวาน โทมาฮอก Tomahawk axe

ขวาน โทมาฮอก
Tomahawk axe

สุดยอดอาวุธที่ใช้เฉพาะการฆ่าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือคน เมื่อผู้บุกเบิก อเมริกัน มาถึงก็ได้พบเห็น ชาวอเมริกันพื้นเมืองอินเดียแดงใช้อาวุธประเภทนี้ และมันใช้ได้ดีมาก ในระยะประชิด จึงนำมาใช้เองบ้าง มันมีความสามารถ ฟันทะลุทะลวงหมวกเหล็กทหารได้สบายๆ ทหารในกองทัพอเมริกัน มีใช้กันอย่างกว้างขวาง 

นักรบชาว GURKHA มีมีด KUKRI
นักรบชาว อเมริกัน ก็มีขวาน Tomahawk axe

นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi

กองกำลังอาสาสมัครนักรบหญิงชาว เคิร์ด


กองกำลังอาสาสมัครนักรบหญิงชาว เคิร์ด

ชนชาติ "เคิร์ด" ผู้ไร้แผ่นดิน ชนชาติที่อาศัยอยู่ทางที่ราบสูงในเอเซียตะวันตก อาณาบริเวณที่ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่เรียกว่า กุรดิสตาน กินพื้นที่นับแต่ตุรกี, อิรัก, อิหร่าน อาร์เมเนีย ระหว่างเทือกเขาเตารูซ, ซักกอรูส และเทือกเขาอารารัต และที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสเป็นชนชาติอิราเนี่ยน ในกลุ่มชาติพันธุ์อิโด-ยูโรเปียน มีจำนวนประชากรราว 15 ล้านคน กระจัดกระจายในอาณาเขตของหลายประเทศ คือราว 8 ล้านคนในตุรกีราว 5 ล้านคนในอิหร่าน และมีจำนวนประชากรมากกว่า 2 ล้านคนในอิรัก และเป็นชนกลุ่มน้อยในซีเรียราว 5 แสนคน

นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi

สงคราม รถโตโยต้า บดขยี้กองทัพกัดดาฟี่

สงคราม รถโตโยต้า
ภาพประกอบจากทั่วโลกไม่ใช่เหตุการณ์นี้
เกิดขึ้นในช่วงสงครามระหว่าง ประเทศ ลิเบีย นำโดยกัดดาฟี่ และประเทศชาด ในปี 1987






หลายคนคงคิดไม่ออกว่าประเทศชาดอยู่ตรงไหนของโลก ประเทศชาด อยู่ในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือติดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกติดประเทศซูดาน

กองทัพลิเบียราว 90000 นาย พร้อมรถถัง พร้อมเครื่องบินรถถัง และยุทโธปกรณ์ต่างๆมากมาย

กองกำลังชาด ราว 28000 นาย
ใช้รถปิคอัพยี่ห้อ โตโยต้า 400 คัน และมีจรวดต่อต้านรถถัง จรวดต่อต้านอากาศยาน และปืนกล ไปด้วย สปอนเซอร์หลักอย่างเป็นทางการนำโดยฝรั่งเศสและอเมริกา


เป้าหมายแรกเคลื่อนพลบุกฐานสื่อสารของลิเบีย ทางตอนเหนือของชาด ซึ่งมีกองกำลังลิเบียป้องกันอยู่ 2,000 นาย ด้วยการคุ้นเคยในภูมิประเทศ ชาดจึงใช้ประโยชน์จากความคุ้รเคยที่เหนือ บุกโจมตีเร็ว เพราะรถปิคอัพมีความเร็วและคล่องตัวสูง พร้อมไม่เข้าปะทะซึ่งหน้า แต่ใช้วิธีหลบหลีกและโอบล้อม ยิงอาวุธทำลายป้อมปราการ พร้อมทั้งสังหารทหารลิเบีย 784 นาย และรถถังลีเบียอีก 100 คัน ขณะที่ชาดสูญเสียเพียง 50 นาย

นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ  https://goo.gl/DNifLi


และในเดือน มีนาคม 1987 กำลังชาดได้บุกฐานทัพอากาศของลิเบีย มีกองกำลังลิเบียป้องกันอยู่ 5000 นาย พร้อมด้วยรถถังและเครื่องบิน กองกำลังโตโยต้าเร็วของชาด ที่ติดอาวุธปืนกล และคนแบบจรวดต่อต้านรถถังไปด้วยหลังกระบะ ได้ สังหารและจับกุม ทหารลิเบียกว่า 3000 นาย รถถัง รถหุ้มเกราะ เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ถูกทำลายและยึดจำนวนมาก

ท้ายที่สุดกำลังลังชาดสามารถขับไล่กองทัพลิเบียกลับเข้าประเทศไปได้

สิ้นสงคราม กองทัพลิเบีย เสียชีวิตกว่า 7,500 นาย
ถูกจับกว่า 1,000 นาย เสียรถถังและรถหุ้มเกราะกว่า 800 คัน เสียเครื่องบินรถ 28 ลำ ถูก

กองกำลังชาด เสียชีวิตราว 1000 นาย ไม่มีตัวเลขบอกว่ารถโตโยต้าพังกี่คัน หรือว่าเสียหายและซ่อมใหม่ได้ไม่ถือว่าถูกทำลายก็ไม่รู

โตโยต้า อึด ทน แกร่ง พร้อมลุยไปกับท่านทุกสมรภูมิรบ
respect
ภาพประกอบจากทั่วโลกไม่ใช่เหตุการณ์นี้