วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

9 อันดับ ภาพยนตร์สงครามโบราณที่คอประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาด

9 อันดับ ภาพยนตร์สงครามโบราณที่คอประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาด
(เฉพาะภาพยนตร์ที่ไม่ใช้อาวุธปืนในการรบ) รบกันด้วบดาบล้วนๆ

อันดับที่ 9.
The 13th Warrior
ด้วยชะตากรรมที่ถูกลิขิตให้กวีหนุ่มจากดินแดนอาหรับต้องโทษ อพยพไปอยู่ในดินแดนในเขตทางเหนือของพวกไวกิ้ง และได้ถูกรับเลือกเป็นนักรบคนที่ 13 เพื่อไปปราบเหล่าปีศาจร้ายในความเชื่อตามตำนานไวกิ้ง และ ณ ที่แห่งนี้.. เขาต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆเที่ไม่เคยพบ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่างๆเพื่อที่จะเอาชีวิตรอดกลับมาจากศึกครั้งนี้ เรื่องนี้ไม่อิงประวัติศาสตร์มากนักแต่เสนอเรื่องของชาวไวกิ้งที่ไม่ค่อยพบในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ



อันดับที่ 8.
Dragon Blade
เมื่อ 48 ปี ก่อน ก่อนคริสตกาล ที่ชายแดนตะวันตกของจีน 36 ชนชาติแก่งแย่งชิงเส้นทางสายไหม กองทัพโรมันที่เกิดความขัดแย้งภายในและหนีมาตามเส้นทางสายไหม จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องนี้


อันดับที่ 7.
300 rise of an empire
เมื่อนายพลชาวกรีกธีมิสโทเคิลส์พยายามรวมประเทศกรีซ โดยเป็นผู้นำการโจมตีที่จะเปลี่ยนทิศทางสงครามครั้งนี้ ในสมรภูมิรบกลางทะเล กับเปอร์เซีย


อันดับที่ 6.
Attila
แอททิล่า เราชาของชาวฮัน ขณะที่ชาวฮันเที่ยวรุกรานปล้นฆ่านานาประเทศรอบด้าน แอททิล่ามองไปไกลกว่านั้นถึงการก่อตั้งจักรวรรดิและ.สร้างโลกใหม่ ขณะที่ฟลาเวียส เอทิอุส แม่ทัพแห่งโรมอันรุ่งเรืองมีจุดมุ่งหมายเดียวในใจนั่นคือเโรมจะต้องเป็น อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกทัศนคติที่แตกต่างของสองบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ แห่งศตวรรษ คือเความขัดแย้งที่เป็นหัวใจของภาพยนตร์เรื่องนี้


อันดับที่ 5.
alexander
กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้นำที่เรืองอำนาจ และทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ บุรุษซึ่งพิชิต 90% ของโลกในขณะนั้นด้วยอายุ 25 ปี อเล็กซานเดอร์กรีฑาทัพชาวกรีกและมาซิโดเนียนอันเกรียงไกร ตะลุยไปกว่า 22,000 ไมล์



อันดับที่ 4.
troy
ในยุคกรีกโบราณ ความรักและปรารถนาแห่งสองชู้รักที่อื้อฉาวมากที่สุดในวรรณคดี ปารีส เจ้าชายแห่งทรอย และ เฮเลน ราชินีแห่งสปาร์ตา ได้จุดชนวนสงครามที่ทำลายล้างชนชาติ เมื่อปารีสได้ลักพาตัวเฮเลนไปจากสวามีแห่งเธอ กษัตริย์เมเนลาอุส ซึ่งนับว่าเป็นการหมิ่นหยามกันอย่างไม่อาจยอมได้ เรื่องราวทั้งหมดก็เกิดขึ้น


อันดับที่ 3.
gladiator
เรื่องราวของแม็กซิมัส เดคิมัส เมริดัส นายพลแห่งกองทัพโรมัน ชีวิตต้องผันเปลี่ยน กลายเป็นทาสและถูกขายมาเป็นนักสู้ ที่ยิ่งใหญ่


อันดับที่ 2.
kingdom of heaven
หนุ่มชาวฝรั่งเศสนามบาเลี่ยน ผู้ต้องสูญเสียทุกสิ่ง ค้นพบศักดิ์ศรี การผจญภัย ท่ามกลางความงดงามยิ่งใหญ่ของเยรูซาเลมในยุคกลางที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง



อันดับที่ 1.
Braveheart
เรื่องราวของ วิลเลียม วอลเลซ ตัวเขาและคนสกอตแลน โดนข่มเห่งจากอังกฤษ วิลเลียม วอลเลซ จึงเริ่มรุกขึ้นสู้ เรื่องนี้อาจทำให้ลูกผู้ชาย ต้องเสียน้ำตาให้กับความกล้าหาญและรักชาติของ วิลเลียม วอลเลซ


วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สองเกาหลีรำลึก 62 ปีแห่งการหยุดยิง


สองเกาหลีรำลึก 62 ปีแห่งการหยุดยิง 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. อ้างข้อมูลจากรายงานของสำนักข่าวกลางเกาหลี ( เคซีเอ็นเอ ) ว่านายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดของรัฐบาลเปียงยาง กล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันอาทิตย์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 62 ปี การสงบศึกสงครามเกาหลี ยืนยันเกาหลีเหนือมีศักยภาพทางทหารแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสามารถต่อสู้กับสหรัฐได้ นายคิมกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันสหรัฐไม่ใช่ความน่ากลัวสำหรับเกาหลีเหลืออีกต่อไป เกาหลีเหนือต่างหากที่เป็นความน่ากลัวสำหรับสหรัฐ นอกจากนี้ เคซีเอ็นเอยังรายงานคำกล่าวของนายคิม ซึ่งมีขึ้นระหว่างการเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สงครามแห่งชัยชนะ ในกรุงเปียงยาง ว่าการส่งเสริมหลักสูตรการศึกษา "ต่อต้านอเมริกา" ให้แก่สถาบันการศึกษาในประเทศ เป็นสิ่งที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์มองเป็นความพยายามของรัฐบาลเปียงยาง ในหารเพิ่มแรงกดดันให้แก่รัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากการเจรจานิวเคลียร์กับเกาหลีเหนือแทบไม่มีความคืบหน้า ขณะที่รัฐบาลเกาหลีใต้จัดพิธีรำลึกในโอกาสนี้เช่นกัน ที่สนามกีฬาแห่งชาติในกรุงโซล โดยมีทหารผ่านศึกชาวอเมริกันและเกาหลีใต้เข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก และมีพิธีสวนสนามเกียรติยศของกองทัพด้วย ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำทุกปี ทั้งนี้ การลงนามในข้อตกลงหยุดยิงในสงครามเกาหลี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2496 ที่ปันมุนจอม เป็นการลงนามระหว่างกองกำลังพิเศษของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ กับกองทัพร่วมระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ ซึ่งการลงนามดังกล่าวยังเป็นการกำหนดเขตปลอดทหารเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างเส้นขนานที่ 38 องศาด้วย โดยบริเวณดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในพรมแดนที่มีระบบรักษาความปลอดภัยแน่นหนาที่สุดในโลก

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/foreign/337601

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุดยอดไอเดีย นำโดรนไปทำอะไรมาดูกัน


เหาะมาเลย ไม่เชื่ออย่าลบหลู่



กองทัพซาอุ บุกถล่มในประเทศเยเมนวันเดียวตาย 120 ศพ




ซาอุฯถล่มเยเมนวันเดียวตาย 120 ศพ 
„สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงซานา ประเทศเยเมน เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ว่าองค์การแพทย์ไร้พรมแดน ( เอ็มเอสเอฟ ) รายงานผลจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศโดยฝูงเครื่องบินรบของกองทัพพันธมิตรอาหรับนำโดยซาอุดีอาระเบีย ที่เมืองโมกา ในจังหวัดทาอิซ ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางตอนใต้ของเยเมน ตั้งอยู่ริมทะเลแดง เมื่อวันเสาร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 120 ศพ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน อีกทั้งยังมีบ้านเรือนจำนวนมากได้รับความเสียหายถึงขั้นพังทลายลงมา ถือเป็นภารกิจทางทหารครั้งรุนแรงที่สุดของกองทัพซาอุดีอาระเบียและพันธมิตร นับตั้งแต่เปิดฉากการโจมตีในเยเมนเมื่อเดือนมี.ค. เพื่อปราบปรามกลุ่มกบฏฮูตี อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา รัฐบาลริยาดออกแถลงการณ์เรื่องการเตรียมระงับการโจมตีทางอากาศชั่วคราวเป็นเวลา 5 วัน เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อยของวันอาทิตย์นี้เป็นต้นไป เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์จากองค์กรสากลลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าสู่พื้นที่ โดยรายงานของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของพลเมืองชาวเยเมน 25 ล้านคนนั้น กำลังต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน สงครามในเยเมนเป็นการสู้รบระหว่างกลุ่มกบฏฮูตีซึ่งเป็นชาวชีอะห์ และได้รับความสนับสนุนจากกองกำลังของอดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ซึ่งปกครองเยเมนตั้งแต่ปี 2533-2555 กับกองทัพพันธมิตรอาหรับนำโดยซาอุดีอาระเบีย ที่ให้ความสนับสนุนกองกำลังชาวสุหนี่ของประธานาธิบดีอับดุลรับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ซึ่งลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในซาอุดีอาระเบีย“

ที่มา http://www.dailynews.co.th/foreign/337427

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทางการจีนบอก ชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับ จะไปเป็นนักรบจิฮัดกับในตะวันออกกลาง


จีนระบุ ชาวอุยกูร์ที่ไทยส่งตัวกลับ พยายามหนีไปเป็นนักรบจิฮัดในตะวันออกกลาง อ้างนักการทูตตุรกีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วยคนลักลอบเข้าเมือง ด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เตรียมเรียกผู้เกี่ยวข้องในไทยเข้าให้ปากคำศุกร์หน้า
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนว่า ชาวอุยกูร์ 109 คนที่ถูกส่งตัวกลับจากไทยนั้น เป็นกลุ่มที่พยายามเดินทางไปยังตุรกี อิรัก และซีเรีย เพื่อเข้าร่วมเป็นนักรบจิฮัด ช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธสุดโต่งทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ชาวอุยกูร์ในจำนวนดังกล่าว 13 คน ได้หลบหนีออกจากจีนหลังมีส่วนพัวพันในเหตุก่อการร้าย และมีอีก 2 คนที่หลบหนีการควบคุมตัวของทางการจีนออกมา

รายงานยังระบุว่า จากการสอบสวนของตำรวจจีน พบว่ามีกลุ่มอาชญากรหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาคนไปเป็นนักรบจิฮัด และว่า นักการทูตตุรกีในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องในการลักลอบนำคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม โฆษกของสภาอุยกูร์โลก (World Uyghur Congress) ตอบโต้รายงานดังกล่าวว่า จีนพยายามปกป้องตนเองและไม่ยอมรับผิด โดยเหตุที่ชาวอุยกูร์ต้องหนีออกนอกประเทศนั้น เนื่องมาจากนโยบายที่กดขี่ของจีนเอง
ก่อนหน้านี้ กระทรวงต่างประเทศจีนออกแถลงการณ์ตอบโต้การประณามไทยของสหรัฐฯว่า บิดเบือนข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าจีนไม่พอใจอย่างยิ่ง และขอให้สหรัฐยุติการออกแถลงการณ์ที่ไม่เป็นความจริง และพิจารณาความพยายามของจีนในการปราบปรามคนเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างเหมาะสม
ด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จะเชิญหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในกรณีการส่งตัวชาวอุยกูร์ให้ทางการจีน เข้าชี้แจงเหตุผลในการดำเนินการครั้งนี้ ในวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. ซึ่งหน่วยงานที่ กสม. เชิญเข้าชี้แจงประกอบด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.), กระทรวงการต่างประเทศ (กต.), สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.), สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์), กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ รวมทั้งนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในและนอกประเทศ
ขอบคุณเครดิต เนื้อข่าวจาก บีบีซีไทย - BBC Thai
ขอบคุณภาพข่าวจาก รอยเตอร์

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นความสัมพันธ์ ไทย ญี่ปุ่น และการเลือกข้างอย่างฉลาด ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง


ขยายความ ประเด็นความสัมพันธ์ ไทย ญี่ปุ่น ใน ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง

จะว่าไปแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพไทยแทบจะเป็นประเทศเดียว ที่กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาแล้วไป ไม่ปลดอาวุธ   และไม่แทรกแทรงเรื่องการศึกษาให้เป็นแบบญี่ปุ่น คือตั้งโรงเรียนญี่ปุ่น สอนเด็กๆชาวท้องถิ่นแต่ล่ะที่ให้เป็นแบบญี่ปุ่น และไม่บรรจุไทยเป็น หนึ่งในจังหวัดของญี่ปุ่น และที่สำคัญไม่กระทำสิ่งที่โหดร้าย  เช่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่นานกิง ทุกคนก็รู้กันอยู่แล้ว แต่ที่ไม่รู้คือ ดินแดนมลายู คือมาเลเซีย ปัจจุบัน และ สิงคโปร์ ต่างถูก ญี่ปุ่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์อย่างโหดเหี้ยมเช่นกัน มลายูผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่ากว่า 1 แสนคน ที่สิงคโปร์ กว่า 5หมื่น คน ทุกคนเมือเห็นทหารญี่ปุ่น แม้จะมียศเพียงพลทหารก็จะต้อง ทำความเคารพด้วยวิธี คำนับ ทุกครั้งที่เจอ ถ้าไม่ทำจะโดนทำร้ายหรือฆ่าทันที ซ้ำยังมอบดินแดน เปรัค ของมลายู ที่ไทยเคยเสียไป คืนให้ไทยด้วยสะอย่างงั้น และทางตอนเหนือก็ได้ร่วมกับกองทัพไทย ที่ไม่ได้โดนปลดอาวุธแต่อย่างใด แบ่งหน้าที่กันโจมตี กองทัพญี่ปุ่นจะเข้าโจมตี พม่า ส่วนไทยจะบุกตอนเหนือ เข้าเชียงตุง   ที่เป็นสหรัฐไทยเดิม    หลังจากกองทัพไทย ทำสำเร็จ ญี่ปุ่นก็ไม่ได้จะเอาดินแดนที่ไทยยึดได้เป็นของตัวเอง และดินแดนที่ยึดคืนได้ ก็เป็นของประเทศไทย นานกว่า3ปีเต็ม จนสิ้นสุดสงคราม ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้ จึงคืนพื้นที่ที่ยึดไว้ได้คืน


ด้วยไทยเข้าร่วมจึงก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนมากถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ กว่าครึ่งเป็นชาวมลายู ทั้งหมดต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมากวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ


เมือเทียบกับกับสูญเสียของเพื่อนบ้าน ถือว่าไทยสูญเสียน้อยมาก  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ที่พม่า ตายกว่ากว่า 250,000 คน  ที่อินโดนีเซียก้หนัก ตายกว่า 3,000,000 คน  

ส่วนประเทศไทย สูญเสียระหว่างสงคราม คือ ทหาร 5,600 นาย ประชาชน 2,000 คน รวม 7,600 กว่าคน
https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_II_casualties#Total_deaths


ผมคิดว่าผู้นำไทย เลือกข้างได้ฉลาดมาก ในช่วงเวลาคับขัน  ตอนแรกจะเข้าข้างอังกฤษหรอ ดีแท้บอกให้เราสู้ไปก่อน แต่ไม่ส่งอะไรมาช่วย  ผมมั่นใจว่าไทยสู้ญี่ปุ่นไม่ได้แน่ในตอนนั้น แต่ญี่ปุ่นคงเคี้ยวไทยได้ยากกว่าใครเพื่อน  อาจจะไม่ได้รับชัยชนะ อย่างรวดเร็ว แต่อาจจะต้องมาสูญเสียทหารเพื่อสู้กับไทย แล้ว ฝ่ายอังกฤษในพม่าตั้งตัวได้ คงจะไม่ดีแน่นอน  กองทัพไทยตอนนั้นพึ่งจะรบกับฝรั่งเศสมา ไม่นาน ทัพอากาศ ทัพเรือ ทัพบก  ก็ไม่ได้อ่อนแอ ซ้ำยังคุ้นเคยกับพื้นที่ ญี่ปุ่นสู้เชิญเป็นพวกด้วยจะดีกว่า  ส่วนไทยก็คงคิดว่าสู้กับญี่ปุ่นคงเสียหายหนักแน่ จึงได้รับข้อเสนอไว้ในตอนแรกให้เป็นทางผ่าน เท่านั้น   แต่หลังจากนั้นไม่รู้ว่าโดนบังคับ หรือเปรี้ยว ดันไปประกาศสงครามกับสัมพันธ์มิตรสะอย่างงั้น

กติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม 
พ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทย เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ระหว่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหาร
สูงสุด กับ พลโท อีดะ แม่ทัพกองทัพที่ ๑๕ ญี่ปุ่นในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในประเทศไทย 
พลเรือตรี ซาคอง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น และอีก ๑๐ วัน 
ต่อมา ได้มีการลงนามเพิ่มเติมในรายละเอียดของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทยอีกฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ในที่สุดประเทศไทยได้ประกาศสงคราม
กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ นับว่าประเทศ
ไทยได้เข้าสู่สถานะสงครามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489

ถ้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผมให้สองประเทศที่อยู่ไกล้ๆและอยู่ระหว่างความความรุแรงของสงครามแล้ว นำประเทศให้ได้เปรียบมากที่สุดตามสถานะการณ์

ผมให้อันดับ 1 คือ สวิสแลนด์  ใช้อยู่ว่า สวิสแลนด์ พร้อมที่จะรบ จะแรกกับใครก็ได้ที่คิดจะก้าวข้ามเขตมา  แต่เรื่องแท้จริงแล้ว สวิสแลนด์ใช้เรื่องอื่นข่มขู่ ประเทศมหาอำนาจ ทั้งนาซีเยอรมัน ตอนนั้น ที่มีทรัพย์สินอยู่ใน สวิสแลนด์ จำนวนมาก  สวิสแลนด์จึงไม่ได้ยิงปืนแม้แต่นัดเดียว ทั้งที่เพื่อนบ้านต่างล้มตายกันเป็นล้าน

อันดับที่ 2  ผมให้ประเทศไทย เลย ทั้งที่ไม่มีอำนาจต่อรองทางเศรษกิจ อำนาจทางการทหารก็น้อยกว่า มหาอำนาจ ต่างๆ ที่คอยกดดันไทย   แต่ไทยกลับเลือกข้างได้ถูกต้องเวลาเสมอ แบบดวงดีหรือตั้งใจก็ไม่รู้ได้  จะหันไปทางไหนก็โดนปืนจ่ออยู่   คลั้นให้ไปรบก็เลือกจะบบด้านเหนือกับจีน ที่ไม่ต้องไปบวกกับอังกฤษให้เคืองใจกันมาก


ผมอาจจะวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในแง่มุมที่แตกต่าง และอาจไม่ถูกใจหลายคนนัก แต่ผมขอเป็นมุมมองอีกทางหนึ่งให้ ทุกคนได้ศึกษากันนะคับ  เรืออู




อียูออกแถลงการณ์ประณาม ไทย หนักมาก


อียูออกแถลงการณ์ประณาม ไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ให้จีน 
สหภาพยุโรป ( อียู ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ ประณามกรณีรัฐบาลไทยเนรเทศชาวพื้นเมืองอุยกูร์ราว 100 คน ซึ่งหลบหนีจากจีนเข้ามาในไทยเมื่อเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว กลับคืนให้แก่รัฐบาลปักกิ่งในสัปดาห์นี้ ว่าเป็นการตัดสินใจที่ละเมิดหลักปฏิบัติสำคัญตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล ว่าด้วยการไม่ส่งผู้ลี้ภัยไปยังดินแดนที่มีแนวโน้มสูงว่า เสรีภาพและสิทธิในการดำรงชีวิตจะถูกคุกคาม นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวของทางการไทยต่อกลุ่มชาวอุยกูร์เหล่านี้ยังขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ( ซีเอที ) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( ไอซีพีอาร์ ) ซึ่งเป็นตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ที่ไทยร่วมเป็นรัฐภาคีทั้งสองฉบับ ทั้งนี้ อียูหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กลุ่มชาวอุยกูร์ซึ่งยังอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของทางการไทย จะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศที่ต้องการลี้ภัยด้วยความสมัครใจ“


ส่วนทางอเมริกาก็ออกมาประณามไทยในเรื่องนี้เช่นกัน




จีนเชิญญี่ปุ่นร่วมพิธีระลึกถึงชัยชนะเหนือญี่ปุ่นสะอย่างงั้น


จีนเชิญญี่ปุ่นร่วมพิธีระลึกถึงชัยชนะเหนือญี่ปุ่น
ทางการจีนได้เชิญนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเข้าร่วมพิธีสวนสนามในเดือนกันยายนนี้ ในวาระครบรอบที่จีนมีชัยเหนือญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมพิธีหรือไม่

นักการเมืองจีนมักกล่าวหานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นว่ามองข้ามความโหดร้ายของญี่ปุ่นในช่วงสงคราม นายอาเบะมีกำหนดจะกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญเนื่องในวาระครบรอบ 70 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง  

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาอุยกูร์ เป็นเหตุชาวตุรกีแห่ ทำลาย สถานทูตไทย

ปัญหารุกราม ต้นเหตุไทยส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน

นายตันจู บิลกิก โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตุรกี แถลงแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานกงสุลของไทยในนครอิสตันบูล แต่ยังคงกล่าวว่าการที่รัฐบาลไทย "บังคับเนรเทศ" กลุ่มชาวพื้นเมืองอุยกูร์ราว 100 คน ที่ลี้ภัยมาจากจีนเมื่อปีที่แล้วกลับคืนให้แก่รัฐบาลปักกิ่ง เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายสากล“

ด้านตำรวจปราบจลาจลหลายร้อยนายกระจายกำลังกันอารักขาสถานเอกอัครราชทูตไทยและจีนในกรุงอังการา ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่ง พากันถือธงสีฟ้าที่เป็นสัญลักษณ์ของแนวร่วมเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของชาวอุยกูร์ โดยกลุ่มประท้วงพยายามฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ทำให้เกิดการปะทะกัน และเจ้าหน้าที่ต้องใช้กระบองและฉีดสเปรย์พริกไทยเป็นระยะเพื่อควบคุมสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม น.ส.หัว เจิ้นอิง โฆษกหญิงกระทรวงการต่างประเทศจีน สงวนท่าทีต่อคำถามที่เกี่ยวข้องกับกรณีทางการไทยส่งตัวกลุ่มชาวพื้นเมืองอุยกูร์ลักลอบเข้าเมืองกลับไปยังจีน โดยเธอกล่าวเพียงว่า สำหรับรัฐบาลปักกิ่ง ชาวพื้นเมืองอุยกูร์ก็คือ "ชาวจีน" และปฏิเสธรายงานหลายกระแสที่ว่า รัฐบาลไม่อนุญาตให้ชาวพื้นเมืองอุยกูร์ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ที่รวมถึงการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน“
รวมภาพเหตุการณ์ 





ขอบคุณภาพจาก AP 

สงครามโลกครั้งที่2 กองทัพไทยบุกจีน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  กองทัพไทยร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นแบ่งกันโจมตีเอเชีย ญี่ปุ่นจะบุกพม่าฝั่งซ้ายรบกับกองทัพอังกฤษ   ส่วนกองทัพไทยจะบุกฝั่งขวาบน สู้กับกองทัพจีน ไทยได้เคลื่อนกองทัพบุก เชียงตุง สหรัฐไทยเดิม   ผลพลอยได้จากการรบ คือเมื่อไทยยึดเชียงตุงและเมืองต่างๆในรัฐชานฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินได้ ก็ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึงของรัฐไทย

กติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม 
พ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทย เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ระหว่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหาร
สูงสุด กับ พลโท อีดะ แม่ทัพกองทัพที่ ๑๕ ญี่ปุ่นในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในประเทศไทย 
พลเรือตรี ซาคอง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น และอีก ๑๐ วัน 
ต่อมา ได้มีการลงนามเพิ่มเติมในรายละเอียดของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทยอีกฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ในที่สุดประเทศไทยได้ประกาศสงคราม
กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ นับว่าประเทศ
ไทยได้เข้าสู่สถานะสงครามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สหรัฐไทยเดิม คือดินแดนทางภาคเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือประเทศไทย พื้นที่ราว ๓๙,๘๕๕ ตารางกิโลเมตร ชายแดน พม่า-จีน แถบรัฐฉาน และเมืองเชียงตุง ของพม่า ซึ่งอังกฤษยึดครองไว้แต่พ.ศ. ๒๔๓๓ รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้ไทยสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารกองทัพพายัพ (ส่วนหนึ่งมาจากกองพลที่ ๒ จากปราจีนบุรี) ขึ้นไปยึดจากทหารจีนก๊กมินตั๋ง กองพล ๙๓ ภาคใต้การบังคับบัญชาชองจอมพลเจียงไคเชค ตอนเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาเมื่อเวลาเที่ยงวันของวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กองทัพไทยผนวกดินแดนดังกล่าวเข้าในประเทศไทย โดยอ้างความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กที่ถูกรัฐบาลอังกฤษส่งไปอยู่ชายแดนอินเดียให้กลับมาเป็นผู้ครองเมืองเชียงตุง ตั้งศาลากลางสหรัฐไทยเดิมขึ้นที่เมืองเชียงตุง มี พลตโท ผิน ชุณหวัณ เป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น ๑๒ อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงตุง อำเภอเมืองยอง อำเภอเมืองพยาค อำเภอเมืองยู้ อำเภอเมืองชิง อำเภอเมืองมะ อำเภอเมืองยาง อำเภอเมืองขาก อำเภอเมืองเลน อำเภอเมืองโก อำเภอเมืองสาด และอำเภอเมืองหาง ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๘๘ ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ไทยจึงต้องคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิมให้แก่อังกฤษ


การจัดตั้งกองทัพบก
เมื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ออกคำสั่งจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม 
พ.ศ.๒๔๘๔ โดยสนธิกำลังทหารจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ และแต่งตั้งให้ พลตรี จรูญ รัตนกุล 
เสรีเริงฤทธิ์ี เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพ ได้มีการจัดกองทัพพายัพ ซึ่งประกอบด้วยกองบัญชาการ
กองทัพพายัพ กองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒ จากจังหวัดปราจีนบุรี กองพลที่ ๓ จาก
จังหวัดนครราชสีมา กองพลที่ ๔ จากจังหวัดนครสวรรค์) กองพลทหารม้า ๑ กองพล และกรมทหาร
ม้าอิสระ (กรมทหารม้าที่ ๑๒) ๑ กรม กับหน่วยขึ้นสมทบคือ ๑ กองพันทหารราบ ๒ กองพันทหารปืน
ใหญ่และ ๔ กองพันทหารช่าง นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้บรรจุมอบกองบินน้อยผสมที่ ๘๐ จังหวัด
ลำปาง เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพพายัพด้วย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ยังได้จัดตั้งกองตำรวจ
สนามขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในด้านการปกครอง และการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดครองกับเพื่อ
สนับสนุนหน่วยทหารในการรักษาพื้นที่บางแห่งที่อยู่ห่างไกล และมีความสำคัญในทางการรบน้อยเป็น
การแบ่งเบาภาระของทหารอีกด้วย




9 มีนาคม 2485 กองทัพญี่ปุ่นยึดย่างกุ้งได้ ทหารอังกฤษถอนตัวจากพม่าในวันที่ 9 พฤษภาคม 2485 กองทัพไทยรุกข้ามชายแดนไทย–พม่า และบุกอย่างต่อเนื่องไปจนถึง เมืองสิบสองปันนาของจีนทหารช่างต้องตัดถนนอย่างยากลำบาก(เส้นทางที่ทหารช่างไทยทำไว้กลายเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางจากท่าขี้เหล็กถึงเมืองลา ตราบจนทุกวันนี้)

ถึงจะตัดถนนได้แต่ยังไม่สามารถใช้รถในการลำเลียงได้เพราะเป็นหล่มโคลนมาก ต้องใช้ ม้า วัวควาย ในการลำเลียง แต่วัวควายกลับติดหล่มจนล้มตายไปจำนวนมาก เลยต้องมาใช้ช้างลำเลียง ตลอดเวลาที่ทหารไทยรุกเข้าไปต้องพบการต่อต้านจากทหารจีน กองทัพไทยรุกผ่านท่าขี้เหล็ก ดอยเหมย ไปถึงเชียงตุงได้ในวันที่ 4 มิถุนายน 2485

เป็นเวลากว่า 80 ปี ที่เราเสียเชียงตุงไปในสมัยรัชการที่ 3 เมื่อกองทัพไทยมาถึงเชียงตุงตอนแรก ชาวบ้านต่างเผาบ้านเรือนหนีไปอยู่ป่าหมด เพราะคิดว่าเป็นทหารญี่ปุ่น 

ภาพกองทัพไทยเดินทัพเข้าเชียงตุง



วันรุ่งขึ้น 5 มิถุนายน 2485 ทหารไทยเดินขบวนเข้าเชียงตุงอย่างเป็นทางการ
เจ้าบุญวาศ ณ เข็มรัฐ ผู้ครองนครเชียงตุง ได้ออกมาต้อนรับทหารไทยและทำพิธีส่งเมือง ให้ จอมพล ผิน ชุนหวัน
(รูป เจ้าบุญวาศ ณ เข็มรัฐ เจ้าฟ้าผู้ครองเชียงตุงลำดับที่40 ผู้ได้ต้อนรับทหารไทย )
(รูป จอมพล ผิน ชุนหวัน แม่ทัพพายัพ ผู้พิชิตรัฐฉาน)

ตลอดเวลาที่ทหารไทยเข้ามาในเมืองเชียงตุงไม่ได้มีปฏิกิริยาดีใจไชโย โห่ร้องอะไร นอกจากความสงสารที่มีแก่ชนเชื้อชาติเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันนับถือศาสนาเดียวกัน คือคนไทยใหญ่ต้องล้มตายจากสงคราม และซากเมืองที่พังพินาศ นอกจากนั้นทหารไทยยังอ่อนล้าจากการสู้รบและโรคระบาด โดยเฉพาะมาลาเรียที่ทหาร 25% ต้องหมดสภาพในการสู้รบจากการติดเชื้อ
ทหารจีนถอยร่นไปเรื่อยๆทหารไทยตามตีอย่างไม่ลดละ สิ่งที่ยากลำบากกว่าการสู้รบ คือ การเดินทางที่ยากลำบากทหารจีนระเบิดสะพานทุกแห่งเพื่อสกัดการติดตาม แต่การสร้างสะพานขึ้นมาใหม่กลับลำบากยิ่งกว่า เพราะฐานสะพานที่อ่อนแอลง ทำให้ทหารช่างหลายคนต้องเสียชีวิตและพลัดตกลงไปในเหวและแม่น้ำ เวลาพักผ่อนของทหารก็ไม่เต็มที่เนื่องจากถูกรบกวนจาก ยุง ริ้น เลือด ไร

(รูป พิธีชักธงชาติไทย ขึ้นที่เชียงตุง)
เมื่อทำการบุกต่อเนื่องจนสามารถครอบครองรัฐฉานได้ทั้งหมด ในเดือน มกราคม 2486 ไทยได้สถาปนาดินแดนแห่งนี้ใหม่ว่า สหรัฐไทยใหญ่ ธงไตรรงค์ของเราโบกสะบัดอยู่ที่เชียงตุงนาน 3 ปี

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม เรืออู เพิ่มเติมเรื่อง ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่น  ไทยถูกญี่ปุ่นบังคับจริงๆหรือ หรือว่าไทยยินดีแต่ร่วมด้วยตั้งแต่ต้น  ก่อนหน้านี้ไทยก็ได้รับการข่มเหงจากต่างชาติเช่นฝรั่งเศสมาหยกๆ กองทัพไทย ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ พึ่งได้รับชัยชนะมาไม่นาน  เป็นไปได้หรือไม่ ที่รถบรรทุกทหารของกองทัพญี่ปุ่น วิ่งเข้าประเทศไทยจนถึงกรุงเทพโดยไม่ได้รับการต่อต้าน  ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก แล้วกองทัพเรือไทยไปไหนสะล่ะ ไทยในตอนนั้นถึงจะเทียบญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้มีกองทัพที่อ่อนแอถึงขนาดนี้  แล้วทหารหลักๆแทบไม่ได้สู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นเลย  มีเพียง ยุวชนทหาร ตำรวจ และทหารบางส่วน หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าการสื่อสารล่าช้า จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันขึ้น นายกรัฐมนตรี ไม่อยู่วันนั้นเป๊ะๆ สะอย่างงั้น  ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นยางนานและยังดีจนถึงปัจจุบัน    ผมเพียงสงใสว่าไทยเต็มใจเข้าร่วมตั้งแต่แรกแล้ว หรือป่าว  ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเรืออูนะครับ