วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

สงครามเมื่อกองทัพเวียดนามกัมพูชาและลาวร่วมกัน เปิดฉากโจมตีประเทศไทย


หลังจากเวียดนามสามารถขับไล่อเมริกาและรวมประเทศได้สำเร็จ เวียดนามมีกำลังรบที่มีประสบการณ์และอาวุธที่ทันสมัยที่สุดในอาเซี่ยนในตอนนั้น
เวียดนามมีแผนที่จะยึดครองทุกประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน (กัมพูชา ลาว ไทย ตามลำดับ)และจัดการรวมเป็นประเทศเดียวที่ปกครองแบบคอมมิวนิตส์ แผนการนี้มีชื่อว่า "แผนสหพันธรัฐอินโดจีน"

เวียดนามเข้ายึดครองกัมพูชา

เวียดนามกับเพื่อนบ้านอย่างลาวและกัมพูชานั้นเป็นคอม มิวนิตส์คนละสายกัน เวียดนามนั้นเป็นคอมมิวนิตส์สายรัสเซีย ส่วนลาวและกัมพูชานั้นเป็นคอมมิวนิตส์สายจีน เมื่อจีนกับรัสเซียขัดแย้งกัน เวียดนามจึงมีปัญหากับเพื่อนบ้านทันที
รัฐบาลเขมรแดงอยู่ดีไม่ว่าดีไปโจมตียั่วยุเวียดนามตามแนวชายแดน เวียดนามจึงนำกองทัพบุก กัมพูชา และกัมพูชาในตอนนั้น ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มเขมรแดงกับกลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย การฆ่าฟันกันเองของคนชาติเดียวกันทำให้ประเทศที่ธรรมดาก็สู้เวียดนามไม่ได้อยู่แล้ว ยิ่งอ่อนแอลงไปอีก เวียดนามจึงใช้ความเหนือกว่าทางด้านการทหารบุกเข้ายึดครองกัมพูชาไว้ได้อย่างง่ายดาย

เวียดนามเข้ายึดครองลาว
เมื่อจัดการกัมพูชาเสร็จ เวียดนามส่งกองทัพบุกเข้าไปในลาวซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไป ลาวเป็นประเทศที่รักสงบ เรื่องทหารนั้นเวียดนามเลยกินขาด เวียดนามจึงสามารถเข้ายึดครองลาวได้อย่างง่ายดายเช่นกัน บัดนี้เวียดนามมีชายแดนติดกับประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
(และแล้วก็ถึงเหยื่อรายต่อไป ประเทศไทย)

เวียดนามบุกไทย
ตอนสงครามเวียดนามไทยทำเอาแสบ ส่งทหารไปช่วยอเมริการบถึงเวลาแล้วที่จะมาทวงแค้น ถ้าเทียบกันแล้ว กองทัพไทยในตอนนั้นสู้เวียดนามไม่ได้เลยทั้งเรื่องอาวุธและจำนวนทหารและเทโนโลยี กองทัพไทยประสบปัญหาทั้งเรื่องอาวุธที่ล้าหลังเอามากๆ เทียบไม่ได้กับเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย(สหายรักของเวียดนาม) เวียดนามได้เคลื่อนกำลังทหารกว่า2แสนนายบวกกำลังลาวและกัมพูชาเข้าประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาว และจัดการยิงปืนใหญ่เข้าถล่มชายแดนไทยเป็นการทักทาย ไทยจึงได้ส่งกองทัพเข้าต้านทาน ในช่วงแรกเวียดนามที่ฮึกเหิมและแข็งแกร่งยิ่งนักได้เข้ายึด บ้านร่มเกล้า บ้านช่องบก บ้านทับโท ของไทยได้
ไม่รุ้จริงแท้แค่ไหนมีเล่ากันว่า นายพลเวียดนามบอกว่ากองทัพเวียดนามจะบุกเข้าถึงกรุงเทพ ภายในไม่กี่วัน

แล้วก็เข้าเรื่องกันตรงนี้คับ
การที่เวียดนามรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยบริเวณช่องบกนั้น เนื่องมาจากทางการเวียดนามต้องการควบคุมชายแดนไทยให้ได้อย่างเด็ดขาด เพื่อตัดการสนับสนุนและส่งกำลังบำรุงต่อเขมรแดง เวียดนามเคลื่อนพลรุกล้ำเข้ามาเขตแดนไทยประมาณ ๕ กม. มีการตั้งฐานและยึดเนินสำคัญ ๆ ไว้ ดัดแปลงและปรับปรุงตั้งรับการโจมตีเป็นอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระบบเครื่องปั่นไฟ ตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน และจรวดต่อสู้อากาศยาน อีกทั้งรายล้อมด้วยฐานปืนใหญ่ที่พร้อมให้การยิงสนับสนุนตั้งไว้ในลาวและกัมพูชา เพื่อรับมือกับไทยอย่างเต็มที่ บริเวณช่องบกนี้เป็นเขตพรมแดนต่อกันของ ๓ ประเทศคือ ไทยลาว และกัมพูชา และมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า สามเหลี่ยมมรกต
การรบที่ช่องบก
ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย,ลาว,กัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน มีเส้นทางติดต่อเดินข้ามไปมาหากันได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน มีป่าทึบยากแก่การตรวจการณ์ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ใช้เป็นแหล่งซ่อนพราง และกำบังเป็นอย่างดี
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้ใช้กำลังเข้าผลักดันและขับไล่กองกำลังต่างชาติ ตามแผนยุทธการ ดี-๘ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันป่ารกทึบ มีทุ่นระเบิด กับระเบิดในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายไทยประสบความยากลำบากในการเคลื่อนที่ และการดำเนินกลยุทธ์ ฝ่ายไทยสามารถผลักดันฝ่ายเวียดนามให้ถอนตัวออกจากที่มั่นบนเนินดังกล่าว แต่ฝ่ายเวียดนามยังคงควบคุม และยึดพื้นที่บริเวณเนิน ๕๐๐,๔๐๘,๓๘๒ และ ๓๙๖ อยู่
เมื่อ ธ.ค.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้กำหนดแผนยุทธการ ดี-๙ ใช้กำลังเข้าตีเพื่อผลักดัน และทำลายฝ่ายตรงข้าม ที่ยังยึดพื้นที่อยู่ โดยใช้กำลังจาก กรมทหารราบที่ ๑๖ (กองพันทหารราบที่ ๑๖๒) ปฏิบัติการเข้าตีในห้วง ม.ค.-ก.พ.๒๕๓๐ ถึง ๓ ครั้ง สามารถยึดที่หมาย เนิน ๓๙๖ ได้ ต่อมาได้จัดกำลังเพิ่มเติมจาก กรมทหารราบที่ ๖ (กองพันทหารราบที่ ๖๐๓) วันที่ ๒๕ มี.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติการโดยใช้กำลัง กองพันทหารราบที่ ๑๖๒ กองพันทหารราบที่ ๖๐๓ และกองกำลังทหารพราน เข้าตีต่อที่หมาย เนิน ๔๐๘ และเนิน ๓๘๒ รวมทั้งใช้กำลังจาก ร้อยลาดตระเวณระยะไกล กองกำลังสุรนารี จัดกำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการโจมตีที่หมาย หลังเนิน ๔๐๘ ของฝ่ายเวียดนาม ฝ่ายไทยสามารถตีที่หมายได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาที่หมายได้ เนื่องจากถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง อย่างหนาแน่น จึงต้องถอนตัวออกจากที่หมาย
วันที่ ๑ เม.ย.๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๒ ได้จัดตั้งที่บัญชาการทางยุทธวิธีขึ้น เพื่อควบคุม และอำนวยการยุทธ ออกแผนยุทธการเผด็จศึก สั่งใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวณระยะไกล, ๒๗ ร้อยทหารพราน., ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วย ปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ กองพลทหารราบที่ ๖ ได้รับคำสั่งให้จัดกำลังเพิ่มเติม จากกรมทหารราบที่ ๖ และกรมทหารราบที่ ๒๓ วันที่ ๑๔ เม.ย.๒๕๓๐ กำลังฝ่ายไทยใช้กำลังทุกส่วนทำการเข้าตีที่หมาย เนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ และ ๓๗๖ โดยพร้อมกัน ในขั้นต้นฝ่ายไทยสามารถเข้าที่หมายเนินต่างๆ โดยได้รับการต้านทานอย่างเบาบาง ต่อมาฝ่ายเวียดนาม ได้ทำการตีโต้ตอบ ระดมยิงด้วย ปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และ ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ใช้กำลังเข้าตีเป็นละลอก และต่อเนื่อง ฝ่ายไทยซึ่งมีเวลาจำกัดในการดัดแปลงที่มั่น ขาดความหนุนเนื่อง ในการส่งกำลัง เส้นทางยากลำบาก ไม่สามารถต้านทานได้ จึงทำการถอนกำลังออกจากที่หมายเนินต่าง ๆ
ภายหลังจากการเข้าตีในครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้พัฒนาแนวความคิดทางยุทธวิธี ในการเข้าสู่ที่หมาย ด้วยการใช้กำลังในลักษณะชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก เคลื่อนที่แทรกซึมเข้าหลายทิศทาง ทำการ ลาดตระเวณซุ่มโจมตี เจาะเส้นทางเข้าหาที่มั่น และริดรอนกำลังฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนกำลังลง ห้วง พ.ค.-มิ.ย.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ใช้กำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการเข้าตีต่อที่หมาย เนินต่าง ๆ ในลักษณะการยุทธแบบป้อมค่าย สามารถยึดฐานที่มั่น ฝ่ายเวียดนามได้บางส่วน ขุดคูติดต่อเจาะเข้าหาฐานที่มั่น กดดันฝ่ายเวียดนามอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งฝ่ายเวียดนามได้ถอนกำลัง ออกจากที่หมายเนินต่างๆ และแนวเขตประเทศไทย ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๐
การปฏิบัติการรบที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้สูญเสีย กำลังพล เสียชีวิต ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๖๔ นาย
สถานการณ์ในช่วงแรกของการรบ เวียดนามเป็นฝ่ายได้เปรียบ การรุกของฝ่ายไทยทำได้อย่างจำกัดและยากลำบากเพราะเป็นป่าทึบ และเวียดนามได้วางกับระเบิดไว้จำนวนมาก นอกจากนั้นแหล่งน้ำบริเวณดังกล่าวยังถูกเวียดนามใส่สารพิษลงไป ซึ่งสารตัวนี้จะมีฤทธิ์ถึง ๓ ปี ถึงแม้น้ำจะแห้งไปแล้วก็ตาม ซึ่ได้มีการส่งตัวอย่างน้ำไปให้กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ทำการตรวจสอบและผลยืนยันว่าน้ำทุกแหล่งที่ส่งมามีสารพิษเจือปน ปัญหาหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับทางไทยเป็นอย่างมาก็คือเรื่องกับระเบิด ซึ่งเป็นชนิดใหม่ มีขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้การฝังแบบปกติ แต่เป็นลูกเล็ก ๆ ซึ่งทางเวียดนามจะส่งกองกำลังแทรกซึมเข้ามาเป็นชุดเล็ก ๆ นำระเบิดมาวางตามแนวป่า และพงหญ้า และถอนกำลังออกไปอย่างรวดเร็ว ระบิดแบบนี้ไม่ทำให้ถึงตาย แต่ทำให้ทหารที่เหยียบขาขาดไปเกือบถึงหัวเข่า ซึ่งทหารที่บาดเจ็บส่วนมาก เนื่องมาจากกับระเบิด
จากรายงานของทหารบางหน่วยแจ้งมาว่าทางเวียดนามมีความสามารถในการรบกวนการติดต่อสื่อสารและเลียนเสียงระบบการสื่อสารของไทย ทันทีที่ทหารไทยติดต่อสั่งการกันทางวิทยุ ทหารเวียดนามจะยิงปืนใหญ่ใส่แหล่งกำลังเนิดเสียงทันที ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างลำบาก ซึ่งระบบนี้ เวียดนามน่าจะได้มาจากโซเวียต ทำให้ทางไทยปรับกลยุทธใหม่ ให้การติดต่อสื่อสารเป็นความลับมากขึ้น และลดการใช้วิทยุสื่อสารลง
ทางเวียดนามยังรุกกลับด้วยการส่งกำลังเข้าตีฐานทหารไทยอย่างหนัก โดยใช้ฐานปืนใหญ่ในลาวและกัมพูชายิงสนับสนุน ซึ่งทำให้การรบที่ช่องบกนี้มีความรุนแรงมาก กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ของไทยถูกส่งเข้ามาในพื้นที่สู้รบอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนด้วยกองกำลังทหารพรานจากค่ายปักธงชัย และหน่วยรบพิเศษจากลพบุรี ถูกส่งเข้าไปในลาวและกัมพูชา เพื่อค้นหาฐานที่ตั้งปืนใหญ่ และทำลายระบบการส่งกำลังบำรุง ในช่วงแรกของการรบฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบมาก แนวคิดการรบแบบเดิม ๆ ที่ทุ่มกำลังทหารจำนวนมาก การยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ และเครื่องบินทิ้งระเบิดใส่ข้าศึก ไม่ได้ผล เพราะทางฝ่ายเวียดนามมีการตั้งรับอย่างดี และโต้ตอบกลับอย่างหนัก ถึงแม้ทางไทยจะสามารถตีฐานของเวียดนามแตก แต่ก็ไม่สามารถที่จะยึดฐานได้ ทำให้แนวคิดการรบแบบป้อมค่าย ที่เคยใช้ได้ผลจากการรบที่เขาค้อ ถูกนำมาใช้กับการรบที่ช่องบก โดยฝ่ายไทยใช้การวางกำลังและระบบส่งกำลังสนับสนุนในแนวหลังให้มั่นคง และต่อเนื่อง จากนั้นใช้ทหารพราน ลาดตระเวณซุ่มโจมตีและแทรกซึมเข้าหาฐานข้าศึกอย่างช้าๆ โดยขุดบังเกอร์เข้าเกาะติดข้าศึกรวมถึงการซุ่มโจมตีฝ่ายเวียดนาม จากวีดีโอที่ทหารไทยบันทึกไว้ในการเข้าตีฐานของทหารเวียดนามแห่งหนึ่งนั้น ซึ่งมีทหารเวียดนามประมาณ 1 กองพันครอบครองอยู่และเป็นทหารภูเขา ทหารพรานจะขุดบังเกอร์รุกเข้าหาฐานทหารเวียดนามอย่างต่อเนื่องและไม่ยิงปะทะโดยไม่จำเป็น เมื่อเข้าไกล้ในระดับหนึ่งจะหยุด แล้วส่งกำลังและอาวุธเข้ามา ตรึงกำลังแบบเผชิญหน้าไว้ แบบมองเห็นหน้ากันได้เลย ทำให้ฝ่ายเวียดนามสับสนและพะว้าพะวง เพราะไม่ทราบว่าทหารไทยจะเอายังไง อีกทั้งยังอยู่ในระยะไกล้ฐาน ยากต่อการยิงปืนใหญ่ การเกาะติดฐานของทหารไทยโดยไม่เข้าโจมตี ทำให้ฝ่ายเวียดนามกดดันเป็นอย่างมาก ทางไทยได้ตั้งฐานปืนใหญ่สนับสนุนการเข้าตีซึ่งได้รับการพรางเป็นอย่างดี และปืนใหญ่สำหรับการยิงถล่มตอบกลับฐานปืนใหญ่ของเวียดนาม เมื่อทางไทยพร้อม กลางดึก ได้ส่งยิงปืนใหญ่และเครื่องบินรบแบบเอฟ ๕ เอฟ เข้าทิ้งระเบิดอย่างหนัก และได้เข้าตีฐานในตอนไกล้รุ่งเช้า การสู้รบเป็นไปอย่างหนักหน่วง ฐานของทหารเวียดนามในเขตลาวถูกทางไทยตรวจพบ และถูกระดมยิงปืนใหญ่ถล่มอย่างหนัก ทำให้ฐานปืนใหญ่ของเวียดนามและคลังกระสุนถูกถล่มราบทั้งฐาน เปลวไฟจากการระเบิดของคลังกระสุนของเวียดนาม มองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งการยิงถล่มครั้งนี้ทางไทยใช้เครื่อง แอล ๑๙ ในการลาดตระเวณและรายงานการยิง ซึ่งเป็นไปได้อย่างแม่นยำ จากการตีฐานครั้งนี้ ยึดศพทหารเวียดนามได้ 4๔๕ ศพ จับได้อีก ๑๒ คน ยึดอาวุธ ยุทโธปกรณ์จำนวนมาก รวมทั้งจรวดแซมแบบยิงประทับบ่าด้วย ทหารเวียดนามแตกถอยกลับเข้าไปในกัมพูชา
หลังจากสูญเสียฐานหลายแห่ง ทหารเวียดนามเริ่มถอนทหารออกไปจากพื้นที่กลับเข้าไปตั้งในกัมพูชา เนื่องจากการสูญเสีย และการส่งกำลังบำรุงที่ถูกรบกวนจากในเขตกัมพูชาเอง จากเขมรแดง และกองกำลังไม่ทราบฝ่าย กองกำลังเขมรแดงได้เข้าตีฐานของทหารเวียดนามที่ตั้งในเขตกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนการยิงปืนใหญ่จากฝั่งไทย ทำให้เวียดนามถูกตีขนาบ จึงต้องถอนกำลังกลับเข้ามาในเขตกัมพูชาเหมือนเดิม หลังจากนั้นทางไทยได้เข้ามายึดและตั้งแนวป้องกัน เนินต่างๆ อย่างแน่นหนา เป็นอันสิ้นสุดของการรบอันดุเดือดที่สุด

คลิปเหตุการณ์หาดูยาก



★★ นาฬิกา สไตล์ทหาร ภาพสินค้าจริง
►► Promotion พิเศษ!! ปกติ ราคา 750 บาท ✪
➜ พิเศษเรือนล่ะ 390 ค่าบริการส่ง EMS ทั่วไทย 50 บาท
สนใจ สั่งซื้อหรือดูรูปสินค้า คลิ๊กลิ๊งเฟสบุคได้เลย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=341019429593198&id=100919363603207


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

สงครามเจ็ดปี สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (ยิ่งใหญ่จนน่าจะเป็นสงครามโลกได้เลย)


สงครามเจ็ดปี สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 
(น่าจะเป็นสงครามโลกได้เลย)

Seven Years' War หรือ Third Silesian War) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1756 จนถึงปี ค.ศ. 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างปรัสเซียและบริเตนใหญ่และกลุ่มนครรัฐเล็กในเยอรมนีที่ต่อต้านฝ่ายพันธมิตรที่ประกอบด้วยออสเตรีย, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สวีเดน และแซกโซนี โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม

ต่อมาโปรตุเกส (ฝ่ายบริเตนใหญ่) และสเปน (ฝ่ายฝรั่งเศส) ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม และเนเธอร์แลนด์ที่เป็นกลางก็เข้าร่วมเมื่อถูกโจมตีในอินเดีย เพราะความกว้างขวางของสงครามที่กระจายไปทั่วโลกทำให้สงครามเจ็ดปีได้รับการบรรยายว่าเป็น “สงครามโลกครั้งแรก” ที่มีผลให้ผู้คนเสียชีวิตไปประมาณ 900,000 ถึง 1,400,000 คน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางอำนาจต่อผู้เข้าร่วมหลายประเทศ


สงครามเจ็ดปีเริ่มขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงเข้ารุกรานแซกโซนี การต่อสู้ระหว่างบริเตน, ฝรั่งเศสและพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายในทวีปอเมริกาเหนือเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1754 สองปีก่อนที่สงครามโดยทั่วไปจะเกิดขึ้น การต่อสู้ในอเมริกาเหนือบางครั้งก็ถือว่าเป็นสงครามอีกสงครามหนึ่งที่เรียกว่าสงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน (French and Indian War)

แม้ว่าทวีปยุโรปจะเป็นสมรภูมิหลักของสงครามโดยทั่วไปแต่ผลของสงครามก็มิได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปมากจากก่อนสงครามเท่าใดนัก กลับกลายเป็นว่าผลกระทบกระเทือนในเอเชียและอเมริกามีมากกว่าและส่งผลที่ยาวนานกว่า สงครามยุติความเป็นมหาอำนาจการครองครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกา ที่เสียดินแดนเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเวสต์อินดีสบางส่วน ปรัสเซียยังคงเป็นมหาอำนาจและยังคงครอบครองบริเวณไซลีเซียที่เดิมเป็นของออสเตรีย บริเตนใหญ่กลายเป็นมหาอำนาจในการเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้ใดในการครอบครองอาณานิคม


ในแคนาดา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คำว่า “สงครามเจ็ดปี” หมายถึงความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ ที่รวมทั้งความขัดแย้งในยุโรปและเอเชียด้วย ความขัดแย้งนี้แม้ว่าจะเรียกว่า “สงครามเจ็ดปี” แต่อันที่จริงแล้วเป็นสงครามที่ยาวเก้าปีเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1754 จนถึงปี ค.ศ. 1763 ในสหรัฐอเมริกาสงครามส่วนที่เกิดขึ้นที่นั่นมักจะเป็นที่รู้จักกันว่า “สงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน” แต่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านในสหรัฐอเมริกาเช่นเฟรด แอนเดอร์สันเรียกสงครามนี้ตามที่เรียกกันในประเทศอื่นว่า “สงครามเจ็ดปี” ไม่ว่าสงครามจะเกิดขึ้นที่ใด ในควิเบคความขัดแย้งนี้บางครั้งก็เรียกว่า “La Guerre de la Conquête” ที่แปลว่า “สงครามแห่งการพิชิต” ส่วนในอินเดียก็เรียกว่า “สงครามคาร์เนติค” (Carnatic Wars) ขณะที่การต่อสู้ระหว่างปรัสเซียและออสเตรียเรียกว่า “สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3”

วินสตัน เชอร์ชิลล์ บรรยายสงครามนี้ว่าเป็น “สงครามโลก” เพราะเป็นความขัดแย้งที่นำมาซึ่งสงครามไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แม้ว่าผู้ที่มีความขัดแย้งกันส่วนใหญ่มาจากยุโรปและจากอาณานิคมโพ้นทะเลที่เป็นของประเทศเหล่านั้น ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสในการขยายจักรวรรดิ สงครามเป็นเหตุการณ์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของสงครามร้อยปีครั้งที่ 2

flag of the Russian Empire ราคา ผืนล่ะ 290 บาท น่าสะสม สนใจคลิ๊กลิ๊งได้เลยจร้า https://goo.gl/o4Bi15

สงครามเจ็ดปีมักจะถือกันว่าเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1740 – ค.ศ. 1748 เมื่อพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียหรือพระเจ้าฟรีดริชมหาราชได้ดินแดนไซลีเซียมาจากออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียทรงจำต้องลงพระนามในสนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปลเพื่อเป็นการยุติสงคราม และซื้อเวลาในการสร้างเสริมกองทัพออสเตรีย และเสาะหาพันธมิตรทางการทหารใหม่ซึ่งทรงได้รับความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง แผนที่การเมืองของยุโรปได้รับการร่างใหม่ภายในสองสามปีหลังจากที่ออสเตรียยุติการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษหลังจากที่ดำเนินมากว่ายี่สิบห้าปี ระหว่างช่วงที่เรียกกันว่าการปฏิรูปทางการทูตของปี ค.ศ. 1756 คู่อริเก่าที่ประกอบด้วยฝรั่งเศส ออสเตรีย และ รัสเซียก็ตกลงเป็นพันธมิตรในการต่อต้านปรัสเซียร่วมกัน

พันธมิตรหลักของปรัสเซียก็มีเพียงบริเตนใหญ่ ที่มีผู้ครองที่เป็นเจ้าของอาณาจักรเลือกตั้งแห่งฮาโนเวอร์ ผู้มีความพะวงถึงอันตรายของฮาโนเวอร์ที่มาจากฝรั่งเศส เมื่อดูตามสถานะการณ์แล้วคู่พันธมิตรดังกล่าวก็เป็นคู่ที่เหมาะสมกันอย่างที่สุด บริเตนมีราชนาวีที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลกในขณะนั้น ขณะที่ปรัสเซียมีกองทัพบกที่เป็นที่น่าเกรงขามที่สุดในยุโรป ซึ่งเป็นผลทำให้บริเตนใหญ่สามารถหันความสนใจไปในด้านการขยายตัวของอาณานิคมได้อย่างเต็มที่ บริเตนมีความหวังว่าการปฏิรูปทางการทูตจะมีผลให้สันติภาพมีโอกาสได้ดำเนินอยู่ต่อไป แต่อันที่จริงแล้วกลับเป็นสาเหตุของการปะทุของสงครามในปี ค.ศ. 1756
กองทัพออสเตรียได้รับการปรับปรุงสร้างเสริมขึ้นใหม่ตามแบบของระบบปรัสเซีย จักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซาผู้มีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหารไม่น้อยกว่าผู้ใดทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความกดดันที่เป็นผลให้เกิดการปฏิรูประบบการทหารขึ้น ออสเตรียได้รับความพ่ายแพ้อันน่าอับอายหลายครั้งต่อปรัสเซียในสงครามก่อนหน้านั้น และมีความไม่พึงพอใจต่อความช่วยเหลืออันจำกัดของฝ่ายบริติช ออสเตรียจึงได้ตั้งความหวังใหม่ว่าฝรั่งเศสจะมาเป็นพันธมิตรผู้สามารถช่วยกู้ไซลีเซียคืนจากปรัสเซียได้และยุติการขยายอำนาจของปรัสเซีย

สาเหตุที่สองของสงครามมาจากความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศสเรื่องการขยายอาณานิคม ที่เป็นผลให้มีการกระทบกระทั่งกันอย่างประปราย ความขัดแย้งหนึ่งคืออำนาจในดินแดนโอไฮโอ (Ohio Country) ซึ่งเป็นหัวใจของทั้งสองจักรวรรดิในการขยายอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือ จักรวรรดิทั้งสองจึงอยู่ในสถานะภาพของสงครามมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1754 แต่การปะทะกันขณะนั้นยังคงจำกัดอยู่แต่ในทวีปอเมริกาเท่านั้น

คู่ขัดแย้ง
1.ปรัสเซีย
2.สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ และอาณานิคม
3.ราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ ฮาโนเวอร์
4.สหพันธ์อิรคว็อยซ์
5.โปรตุเกส
6.บรันสวิค-วูล์เฟ็นบืตเตล
7.รัฐเฮสส์ เฮสเส-คาสเซิล

vs

1.ฝรั่งเศส และอาณานิคม
2.ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
3.จักรวรรดิรัสเซีย
4. สวีเดน
5. สเปน และอาณานิคม
6.แซกโซนี
7.ซาร์ดีเนีย ซาร์ดิเนีย


ขายธง polska ของ โปแลนด์ ราคา 320 บาท   สนใจสั่งซื้อ คลิ๊กลิ๊งเลยจร้า  https://goo.gl/DPwt8i



วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

เจาะสเปคเรือดำน้ำ S26T Yuan modified-class ของจีน อนาคตน้องใหม่ทัพเรือไทย

ไม่ว่าผลจะได้ซื้อหรือไม่ตอนนี้ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่จะจัดสินใจที่จะซื้อเรือดำน้ำจีน 3 ลำมูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาทของกองทัพเรือหรือไม่  โดยเรือดำนำจำนวน 3 ลำ จากประเทศจีนเป็นเรือดำน้ำชั้นหยวน แบบเอส 26 ที ระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ผูกพันงบประมาณ 7-10 ปี ใช้เวลาต่อเรือ 5-6 ปี โดยเป็นการจัดซื้อแบบแพ็คเก็จรวมอาวุธ พร้อมระบบ AIP ( AIP เป็นระบบช่วยต่อเครื่องยนต์แบบไม่พึ่งพาออกซิเจน ทำให้เรือดำน้ำได้นานมากขึ้น ไม่ต้องมาเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ)  ที่พัฒนาขึ้นเพื่อศักยภาพการปฏิบัติงานต่อเนื่องใต้ทะเลนาน 3 สัปดาห์ ซึ่งบริษัทที่ขายคือ China Shipbuilding & Offshore International หรือ CSOC  
นอกจากนี้สรรพคณยังครบเครื่อง มีความเงียบด้วยเครื่องยนต์สเตอร์ลิง  พรางตัว ต่างจากเรือดำน้ำอื่นทั่วไป  โดยสเปค S-26T   มี ระวางขับ 2600 ตัน  ระบบติดจรวดเรือผิวน้ำที่มีความทันสมัยที่สุด Yuan Class S26T ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการต่อเรือที่มาจากเรือดำน้ำชั้นกิโลของ "รัสเซีย" เป็นเรือดำน้ำดีเซล และมีระบบ AIP ที่ไม่ต้องขึ้นมาผิวน้ำเพื่อชาร์จไฟฟ้า  อย่างไรก็ต้องติดตามว่าเรื่องนี้จะผ่านหรือไม่ เป็นจุดผ่านที่สำคัญของกองทัพเรือไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว
เว็บไซต์ globalfirepower.com ซึ่งจัดอันดับกองทัพทหารที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกในทุกๆ ปี โดยจากการจัดอันดับในปี 2015 จำนวน 126 ประเทศ "ไทย" ติดอันดับ20 กองทัพมีอิทธิพลในโลกปี 2015 โดยพิจารณาจาก 50 ปัจจัย ทั้งด้านการเงิน เทคโนโลยี ทรัพยากร และภูมิศาสตร์ โดยปีที่แล้ว ไทยอยู่อันดับที่ 24 มีรถถังจำนวน 740 คัน อากาศยาน 543 ลำ งบประมาณด้านการทหาร 5,390,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในปี 2015 อยู่ในอันดับที่ 20 มีงบประมาณด้านการทหารเท่าเดิม มีรถถังจำนวน 722 คัน อากาศยาน 573 ลำ
แต่ถ้าหากดูเฉพาะกองกำลังทางน้ำ โดยเฉพาะ "เรือดำน้ำ" ข้อมูลจาก globalfirepower จัดอันดับ 10 ประเทศ ที่มีเรือดำน้ำมากที่สุด ได้แก่1. สหรัฐอเมริกา  มีเรือดำน้ำ 72 ลำ 2. เกาหลีเหนือ    มีเรือดำน้ำ 70 ลำ 3. จีน   มีเรือดำน้ำ 67 ลำ 4. รัสเซีย  มีเรือดำน้ำ 55 ลำ 5. อิหร่าน  มีเรือดำน้ำ 32 ลำ 6. ญี่ปุ่น    มีเรือดำน้ำ 16 ลำ 7. อินเดีย  มีเรือดำน้ำ 15 ลำ 8. เกาหลีใต้ มีเรือดำน้ำ 13 ลำ 9. ตุรกี มีเรือดำน้ำ 13 ลำ 10. โคลัมเบีย มีเรือดำน้ำ 11 ลำ
โดยประเทศไทยติดอันดับที่ 47 ซึ่งข้อมูลระบุว่า ไทยมีเรือดำน้ำ 0 ลำ   หากไทยมีเรือดำน้ำรวดเดียว 3 ลำ ไทยจะขยับอันดับประเทศครอบครองเรือดำน้ำเทียบเท่ากับ เวียดนาม แอฟริกาใต้ อาร์เจนติน่า และสเปน ที่มีเรือดำน้ำประเทศละ 3 ลำ โดยไทยจะแซงหน้าเพื่อนบ้าน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีประเทศละ 2 ลำ ส่วนสิงคโปร์มีเรือดำน้ำ 6 ลำ อยู่อันดับที่ 15



เครดิต: #‎คมชัดลึกออนไลน์
เครดิต Photoshop by:Thanasak Saisood
เครดิต www.http://www.skyscrapercity.com/THAILAND's MILITARY
เครดิต https://pantip.com/topic/34284105  สมากชิกpantipคุณ เจ้าหนอน กุ๊ดจิ๊กๆ

★★ นาฬิกา สไตล์ทหาร ภาพสินค้าจริง
►► Promotion พิเศษ!! ปกติ ราคา 750 บาท ✪
➜ พิเศษเรือนล่ะ 390 ค่าบริการส่ง EMS ทั่วไทย 50 บาท
สนใจ สั่งซื้อหรือดูรูปสินค้า คลิ๊กลิ๊งเฟสบุคได้เลย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=341019429593198&id=100919363603207






วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

7 มกราคม กองทัพเวียดนาม บุกเข้ากรุงพนมเปญ ปิดฉากเขมรแดง สงครามเวียดนาม กัมพูชา

วันที่ 7 มกราคมเป็นวันที่ กองทัพเวียดนาม บุกเข้ากรุงพนมเปญ ได้สำเร็จ
ชนวนสงครามเกิดจากความซ่าของเขมรแดง ที่พยายามแหย่เวียดนามตามชายแดนเสมอ และครั้งที่หนักที่สุดคือการบุดยึดเกาะ Phú Quốc ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2518 หลังจากสงครามเวียดนามจบลงได้เพียง 1 วัน เป็นการท้าทาย ประเทศเวียดนามมาก ที่พึ่งจะสามารถรวมประเทศได้เวียดนามตอบสนองอย่างทันควัน รีบส่งกองทัพเข้าบุกยึดเกาะคืน จากนั้นก็มีการปะทะกันจนลามไปถึงขั้นเกิดสงคราม Cambodian–Vietnamese War และในที่สุดกองทัพเวียดนามก็บุกเข้ายึดครองเขมรได้สำเร็จ
ด้วยความที่ประเทศกัมพูชา แตกแยกหลายฝ่าย จึงมีฝ่ายที่สนับสนุน กองทัพเวียดนาม เข้ายึดครองกัมพูชาสะเอง


ในวันที่กองทัพต่างชาติเหยียบกรุงพนมเปญ ประชาชน กัมพูชาออกมา ยินดีต้อนรับทหารเวียดนามตามท้องถนน 
เนื่องจากถูก เขมรแดงปกครองอย่างโหดร้าย



สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากเข้ายึดอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อทำตามแนวความคิดเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบบ เหมาเจ๋อตุงโมเดล มีทั้ง ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ หรือผู้ที่ใส่แว่นตาแล้วคล้ายจะเป็นคนมีความรู้ ก็ต้องโดนทรมาณจำกัดทิ้ง เพื่อที่จะควบคุมคนง่ายขึ้นในระบอบใหม่นี้



การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนราว 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตายไปกว่าครึ่งประเทศ

ฝ่ายเวียดนาม 
มีโซเวียด ประเทศลาว และเขมร เฮงสำริน ฮุนเซน เป็นพันธมิตร
ใช้กองกำลังราว 200000 นาย

ฝ่ายเขมรแดงมี 
มีกองกำลังราว 80000 นาย
มีประเทศจีน และประเทศไทยเป็นพันธมิตร

ประเทศเทศจีนและประเทศไทยสนับสนุน ในการจัดส่งอาวุธให้ฝ่ายเขมรแดง

★★ นาฬิกา สไตล์ทหาร ภาพสินค้าจริง
►► Promotion พิเศษ!! ปกติ ราคา 750 บาท ✪
➜ พิเศษเรือนล่ะ 390 ค่าบริการส่ง EMS ทั่วไทย 50 บาท
สนใจ สั่งซื้อหรือดูรูปสินค้า คลิ๊กลิ๊งเฟสบุคได้เลย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=341019429593198&id=100919363603207




วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

มหาสงคราม จีนปะทะเวียดนาม รบกันแผ่นดินสะเทือนเพียงแค่16วัน คลิปเหตุการณ์หาดูยาก


สงคราม จีนเวียดนาม หรือจะเรียก สงคราม 16 วัน  สงครามสั่งสอน  ก็ได้เหมือนกัน

ผม เรืออู จะมาเล่าสู่กันฟัง สงครามครั้งนี้ อาจจะไม่มีใครรู้จักเท่ากับ สงครามเกาหลี สงครามอเมริกาเวียดนาม ในช่วงเวลาไกล้เคียงกัน

2ชาตินี้อดีตเคยรัก หอมแก้มกันขจัดระบอบ เสรี ออกไป แต่พอเวียดนามได้รวมชาติ และเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นพร้อมกับ ไม่ยอมใช้หลักการเหมาเจ๋อตุงในการ ปกครองกลับไปหอมแก้มกับรัสเซียแทน เวียดนามเริ่มขยายอิทธิพลเหนือชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งกองกำลังเข้าไปในประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น ลาว กัมพูชา และการที่เวียดนามขับไล่เขมรแดงลูกน้องหมายเลข1ของจีน ทำให้ จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก และอาจจะรวมถึงไทยด้วย ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน

กองทัพเวียดนาม



กองทัพเวียดนามในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นกองทัพแข็งแกร่งมาก  ทั้งประสบการณ์ที่โชกโชน และอาวุธอันทันสมัยมากมาย ทั้งจาก ค่ายรัสเซีย และยึดมาจาก กองทัพเวียดนามใต้ จำนวนมาก   กำลังใจเต็มเปี่ยม
กำลังพล ราวๆ150000 ที่ได้เข้าทำการสู้รบ  กองทัพเวียดนามมีจำนวนมากแต่ประจำการอยู่นอกประเทศ


กองทัพจีน


กองทัพจีนในช่วงเวลานั้น ถือว่าแข็งแกร่งพอสมควร ถึงจะมีเทคโนโลยีทางการทหาร จะล้าสมัยกว่าเวียดนามอยู่มาก สังเกตุภาพปืนประจำกายส่วนมากยังใช้ ไรเฟิล TYPE 63 กันอยู่เลย แต่จีนเรื่องปริมาณเอาเยอะเข้าว่า ซึ่งประสบความสำเร็จในสงครามเกาหลีมาแล้ว มีประสบการณ์จากสงครามเกาหลี
กำลังพลราวๆ 200000 จีนอ้าง กำลังพลราว 600000 ฝ่ายเวียดนามอ้าง
จีนใช้กำลังจากกองทัพภาค คุนหมิง และ กวางเจา




ทั้งสองแทบจะเรียกได้ว่ารู้ไส้รู้พุงกันเป็นอย่างดี เพราะร่วมด้วยช่วยกันมาตลอด แต่จีนจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย อาจจะรู้มากกว่า เพราะเป็นคนฝึกการรบแบบกองโจรให้กับเวียดนามเองกับมือ
ลำดับเหตุการณ์รบ
17 กุมภาพันธ์ จีนเปิดฉากถล่มยิงปืนใหญ่เข้าสู่เวียดนาม และเคลื่อนกำลังพลจำนวนมากข้ามพรมแดน กองพล 3 กองพัน 346 กรม 677 กองพลปืนใหญ่ 188 กองพล 345 และ กองพล 316 จีนรุกเข้าเวียนามเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร


18 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนเริ่มมีการสูญเสียอย่างหนักเนื่องจากการบุกโจมตีแบบคลื่นมนุษย์ วิ่งเข้าหาแนวตั้งรับของเวียดนาม ภาพทหารหญิงเวียดนามคุมตัวเชลยจีน

19 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนทุ่มกำลังตีผ่าจนสามารถ ยึดด่านหล่าวกาย และยังสามารถจับผู้บัญชาการกองพลที่ 346 ของเวียดนามไว้ได้
20 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนปิดล้อม เกาบัง แต่สูญเสียกองพลรถถังไป

21 กุมภาพันธ์ จีนโจมตีลังซอนและดงแดน


22 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนยิงถล่มด้ยปืนใหญ่อย่างหนักทุกตารางนิ้วกันเลยทีเดียว พื้นแผ่นดินสะเทือนจนสามารถยึด กัมดงและบ้านกัมได้สำเร็จ

ทหารหญิงเวียดนามยอมจำนน ในสภาพ อ่อนแรง เพราะเจอกองทัพจีนโจมตีอย่างหนัก
23 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนยังระดมโจมตีอย่างหนัก อย่างไรความปราณี สงครามที่เวียดนามถนัด นักซุ่มตามภูเขาหรือหลบเข้าไปในอุโมงใช้ไม่ได้ผลกับจีน จีนยิงถล่มภูเขาทั้งลูก แล้วยังใช้ปืนพ่นไฟ ฉีดเข้าไปในอุโมงค์ต่างๆ บวกระเบิดแบบทำลายอุโมงด้วย เครื่องพ้นไฟหลายประเทศยกเลิกการใช้เนื่องจากเหตุผลเรื่องมนุษย์ธรรม ในวันเดียวกันนั้น กองพล 3 ของเวียดนามแตก กองพล 171 ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเวียดนาม เข้าสู้รบเต็มกำลัง แต่โดนถล่มหนักหน่วงจนละลายในสนามรบไป
ทหารจีนควบคุมเชลยเวียดนาม
24 กุมภาพันธ์ กองทัพจีนเปิดฉากโจมตีเมืองลังซอนอย่างหนัก แ ซึ่งลังซอน อยู่ห่างจากกรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม เพียง80ไมล์เท่านั้น เมืองที่กองทัพจีนเดินทัพผ่านโดนถล่มพังยับเยิน



25 กุมภาพันธ์ จีนใช้ทหารในราวๆ 1แสนกว่านายบุกโจมตี เวียดนามวางกำลังไว้ที่ 1 แสน ไว้ป้องกัน
ทหารหญิงจีนเข้าร่วมเป็นพยาบาลในแนวหน้า
27 กุมภาพันธ์ จีนยึดเนินคูมาซัน และยึดสนามบินดวนเทียกที่เกาบังได้สำเร็จ
28 กุมภาพันธ์ เวียดนามถอนทยอยถอนกำลังออกจากลังซอน

1 มีนาคม จีนยึดซาปา ยิงปืนใหญ่รึงแนวรบที่ลังซอน
2 มีนาคม จีนสามารถยึดลังซอนได้สำเร็จ
3 มีนาคม จีนยึด ดวท ลอง
4 มีนาคม เวียดนามรวบรวมกองกำลังทั้งหมด ป้องกัน ฮานอย เต็มกำลัง
5 มีนาคม กองทัพจีนถอนทัพกลับสะเฉยๆ โดยไม่บุกต่อเข้าฮานอย แล้วประกาศชัยชนะว่าเสร็จสิ้นเป้าหมายแล้ว ส่วนทางเวียดนามประกาศชัยชนะสงครามเช่นกัน
สงครามครั้งนี้จึงจบลงแบบ งงๆ และจบลงอย่างรวดเร็วมาก ทางจีนประกาศระหว่างถอนทัพหากมีกองกำลังเวียดนามโจมตี จะกลับมาบุกยึดฮานอยทันที และระหว่างทางกลับ จีนได้ทำลายทุกอย่างของเวียดนาม ทั้งทางคมนาคม ทางการเกษตร ก่อนจีนจะเดินขบวนกลับเข้าพรมแดนจีน ทิ้งปัญหาให้เวียดนามแก้
จากความเห็นความผม ย้ำอีกครั้งว่าความเห็นของผม เรืออู ที่จีนประกาศถอนกำลังเนื่องจาก ยิ่งรุกขึ้นหน้า กำลังบำรุงจีนจะยิ่งยืดยาว จีนยังคงใช้ ม้าลา จักรยาน พลเดินเท้าจัดส่งอยู่ รถบรรทุกมีก็จำนวนไม่เพียงพอสำหรับกองกำลังจำนวนมหาศาล สู้ถอนกำลังดีกว่า กองกำลังเวียดนามที่รวบรวมกันมาใช่ว่าจีนจะเอาชนะได้ง่ายๆ สู้ตัดจบแบบนี้ดีที่สุด สงครามครั้งนี้กองทัพจีนสูญเสียจำนวนมาก แต่ผมก็ยังคิดว่าจีนบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จในการหยุดยั้งการขยายอิทธิพล แล้วต้องกลับมาฟื้นฟูประเทศตัวก่อน
สงครามครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ได้ใช้กองทัพอากาศกันเลย เพราะทางจีน รู้ดีว่าเทคโนโลยีสู้เวียดนามได้ จรวดsam ของรัสเซียจำนวนมากยังอยู่ในมือกองทัพเวียดนาม กองทัพเวียดนามก็แข็งแกร่งเพียงใด แต่ด้วยกองกำลังที่กระจายกันออกไปมากมายหลายพื้นที่ จึงเป็นเหตุให้ ปกป้องดินแดนตนเองไว้ไม่ได้
สงครามครั้งนี้เวียดนามโดดเดี่ยวมาก เนื่องจากทางรัสเซีย ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยสหายเวียดนามเลย ได้เพียงแต่ขู่จีน แต่จีนดันยกกองทัพนับล้านประชิดชายแดนรัสเซีย ถ้าอยากมีปัญหาก็ลองแลกกันดู รัสเซียคงเห็นว่าจีนเอาจริง จึงทำอะไรไม่ได้มาก ได้แต่ดูประเทศสหาย โดนจีนถล่มไป
ด้วยเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้เวียดนาม ต้องป้องกันหลังบ้าน ทำให้ประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน ที่ต้องเผชิญหน้ากับกองทัพเวียดนาม ตามแนวชายแดน ลาว กัมพูชา ไม่ได้เปิดศึกใหญ่กัน หลังทำการรบกันพอหอมปากหอมคอ ทำให้วีรบุรุษทหารกล้าของไทย เสียชีวิตไปจำนวนมาก เพื่อป้องกันรักษาดินแดน
บางครั้งมีคนบอกว่าจีนช่วยไทยหรือไม่ แต่ผมเห็นว่า จีนหมั้นไส้เวียดนามอยู่แล้วไม่ต้องให้ไทยไปขอให้ช่วย จีนก็ถล่มเวียดนามอยู่ดี
คลิปหาดูยากในช่วงสงครามจีนเวียดนาม เป็นภาพจากฝั่งจีน



 ★★ นาฬิกา สไตล์ทหาร ภาพสินค้าจริง
►► Promotion พิเศษ!! ปกติ ราคา 750 บาท ✪
➜ พิเศษเรือนล่ะ 390 ค่าบริการส่ง EMS ทั่วไทย 50 บาท
สนใจ สั่งซื้อหรือดูรูปสินค้า คลิ๊กลิ๊งเฟสบุคได้เลย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=341019429593198&id=100919363603207


หมวกกองทัพจีน PLA ราคา 100 บาท
 หมวกกันหนาว กองทัพจีน PLA    ราคา 360 บาท
สนใจสั่งซื้อได้ที่ กดลิ๊งเฟสบุคเพจได้เลย inbox สอบถามสินค้าในเพจได้เลยคับผม

สงครามจีนเวียดนาม  สงคราม16วัน sino vietnam war  สงครามสั่งสอน