สงครามเจ็ดปี สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3
(น่าจะเป็นสงครามโลกได้เลย)Seven Years' War หรือ Third Silesian War) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1756 จนถึงปี ค.ศ. 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศม
ต่อมาโปรตุเกส (ฝ่ายบริเตนใหญ่) และสเปน (ฝ่ายฝรั่งเศส) ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม และเนเธอร์แลนด์ที่เป็นกลาง
สงครามเจ็ดปีเริ่มขึ้นเมื่อ
แม้ว่าทวีปยุโรปจะเป็นสมรภู
ในแคนาดา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คำว่า “สงครามเจ็ดปี” หมายถึงความขัดแย้งในทวีปอเ
วินสตัน เชอร์ชิลล์ บรรยายสงครามนี้ว่าเป็น “สงครามโลก” เพราะเป็นความขัดแย้งที่นำม
flag of the Russian Empire ราคา ผืนล่ะ 290 บาท น่าสะสม สนใจคลิ๊กลิ๊งได้เลยจร้า https://goo.gl/o4Bi15

สงครามเจ็ดปีมักจะถือกันว่าเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1740 – ค.ศ. 1748 เมื่อพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียหรือพระเจ้าฟรีดริชมหาราชได้ดินแดนไซลีเซียมาจากออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียทรงจำต้องลงพระนามในสนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปลเพื่อเป็นการยุติสงคราม และซื้อเวลาในการสร้างเสริมกองทัพออสเตรีย และเสาะหาพันธมิตรทางการทหารใหม่ซึ่งทรงได้รับความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง แผนที่การเมืองของยุโรปได้รับการร่างใหม่ภายในสองสามปีหลังจากที่ออสเตรียยุติการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษหลังจากที่ดำเนินมากว่ายี่สิบห้าปี ระหว่างช่วงที่เรียกกันว่าการปฏิรูปทางการทูตของปี ค.ศ. 1756 คู่อริเก่าที่ประกอบด้วยฝรั่งเศส ออสเตรีย และ รัสเซียก็ตกลงเป็นพันธมิตรในการต่อต้านปรัสเซียร่วมกัน
พันธมิตรหลักของปรัสเซียก็มีเพียงบริเตนใหญ่ ที่มีผู้ครองที่เป็นเจ้าของอาณาจักรเลือกตั้งแห่งฮาโนเวอร์ ผู้มีความพะวงถึงอันตรายของฮาโนเวอร์ที่มาจากฝรั่งเศส เมื่อดูตามสถานะการณ์แล้วคู่พันธมิตรดังกล่าวก็เป็นคู่ที่เหมาะสมกันอย่างที่สุด บริเตนมีราชนาวีที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลกในขณะนั้น ขณะที่ปรัสเซียมีกองทัพบกที่เป็นที่น่าเกรงขามที่สุดในยุโรป ซึ่งเป็นผลทำให้บริเตนใหญ่สามารถหันความสนใจไปในด้านการขยายตัวของอาณานิคมได้อย่างเต็มที่ บริเตนมีความหวังว่าการปฏิรูปทางการทูตจะมีผลให้สันติภาพมีโอกาสได้ดำเนินอยู่ต่อไป แต่อันที่จริงแล้วกลับเป็นสาเหตุของการปะทุของสงครามในปี ค.ศ. 1756
กองทัพออสเตรียได้รับการปรับปรุงสร้างเสริมขึ้นใหม่ตามแบบของระบบปรัสเซีย จักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซาผู้มีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหารไม่น้อยกว่าผู้ใดทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความกดดันที่เป็นผลให้เกิดการปฏิรูประบบการทหารขึ้น ออสเตรียได้รับความพ่ายแพ้อันน่าอับอายหลายครั้งต่อปรัสเซียในสงครามก่อนหน้านั้น และมีความไม่พึงพอใจต่อความช่วยเหลืออันจำกัดของฝ่ายบริติช ออสเตรียจึงได้ตั้งความหวังใหม่ว่าฝรั่งเศสจะมาเป็นพันธมิตรผู้สามารถช่วยกู้ไซลีเซียคืนจากปรัสเซียได้และยุติการขยายอำนาจของปรัสเซีย
สาเหตุที่สองของสงครามมาจากความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศสเรื่องการขยายอาณานิคม ที่เป็นผลให้มีการกระทบกระทั่งกันอย่างประปราย ความขัดแย้งหนึ่งคืออำนาจในดินแดนโอไฮโอ (Ohio Country) ซึ่งเป็นหัวใจของทั้งสองจักรวรรดิในการขยายอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือ จักรวรรดิทั้งสองจึงอยู่ในสถานะภาพของสงครามมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1754 แต่การปะทะกันขณะนั้นยังคงจำกัดอยู่แต่ในทวีปอเมริกาเท่านั้น
คู่ขัดแย้ง
1.ปรัสเซีย
2.สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ และอาณานิคม
3.ราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ ฮาโนเวอร์
4.สหพันธ์อิรคว็อยซ์
5.โปรตุเกส
6.บรันสวิค-วูล์เฟ็นบืตเตล
7.รัฐเฮสส์ เฮสเส-คาสเซิล
vs
1.ฝรั่งเศส และอาณานิคม
2.ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
3.จักรวรรดิรัสเซีย
4. สวีเดน
5. สเปน และอาณานิคม
6.แซกโซนี
7.ซาร์ดีเนีย ซาร์ดิเนีย
พันธมิตรหลักของปรัสเซียก็ม
กองทัพออสเตรียได้รับการปรั
สาเหตุที่สองของสงครามมาจาก
คู่ขัดแย้ง
1.ปรัสเซีย
2.สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ และอาณานิคม
3.ราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ ฮาโนเวอร์
4.สหพันธ์อิรคว็อยซ์
5.โปรตุเกส
6.บรันสวิค-วูล์เฟ็นบืตเตล
7.รัฐเฮสส์ เฮสเส-คาสเซิล
vs
1.ฝรั่งเศส และอาณานิคม
2.ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิท
3.จักรวรรดิรัสเซีย
4. สวีเดน
5. สเปน และอาณานิคม
6.แซกโซนี
7.ซาร์ดีเนีย ซาร์ดิเนีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น