พระบาทสมเด็จพระมหาโพธิสัตว์เจ้า หรือ พระเจ้าอลองพญา เดิมเป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านมอกโชโบหรือหมู่บ้านคองบองหรือเมืองชเวโบในปัจจุบัน เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 24 กันยายน 1714 ที่หมู่บ้านมอกโชโบของพระราชบิดา ภายหลังการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าธนินท์ตเวแห่งราชวงศ์ตองอู 12 วัน พระนามเดิมคือ อองไจยะ เป็นบุตรชายคนรองของมินเนียวซอกับซอเนียนอู พระปิตุลาของพระองค์ กะยอชวาสิน หรือ สิทธาเมงยี เป็นนายอำเภอของอำเภอมู ทรงสืบเชื้อสายจากนายทหารม้าแห่งอาณาจักรอังวะในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 ผู้ซึ่งเป็นพระอนุชาแห่งกษัตริย์อังวะ ซึ่งหมายถึงทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์พุกามด้วย
ปี 1730 ทรงอภิเษกสมรสกับหยุนซาน ธิดาของศรีบกตละ ผู้ใหญ่บ้านข้างๆ มีพระราชบุตร 6 พระองค์ พระราชธิดา 3 พระองค์ แต่พระราชบุตรองค์ที่ 4 ทรงสิ้นพระชนม์แต่เยาว์วัย
ลักษณะของพระองค์มีความเป็นผู้นำสูงมาก ตามคำอธิบายของชาวอังกฤษกล่าวไว้ว่า พระวรกายสูง 5 ฟุต 11 นิ้ว และมีพระฉวีที่เข้มจากการตากแดด
เวลาช่วงนั้นราชวงศ์ตองอูเข้าสู่ภาวะเสื่อมอย่างหนัก ทั้งภาวะที่เมืองเชียงใหม่แยกตัวออกมาในสมัยเจ้านก การที่ถูกมณีปุระรุกราน รวมถึงปัญหาภายในราชวงศ์ แต่ช่วงนั้น หมู่บ้านมอกโชโบมีความเข้มแข็งผิดปกติจน ตองอูราชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุดต้องเข้ามาตรวจสอบว่าอาจจะมีภัยต่อราชวงศ์ตองอูหรือไม่ เมื่อไม่มีปัญหาอะไร ตองอูราชาจึงทูลเกล้าถวายยศแก่อองไจยาเป็นพระนันทาเกียว มีหน้าที่เป็นคยีเกง คือเก็บภาษีและดูแลรักษาหมู่บ้าน
หลังจากนั้น ทหารมอญซึ่งมีทหารยุโรปด้วยได้ตีเมืองเข้าไปจับกุมกษัตริย์ตองอูได้และมอญขอร้องให้เจ้าเมือง,นายอำเภอ,ผู้ใหญ่บ้านในอาณาจักรตองอูยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี แต่อองไจยะต้องการจะต่อต้านอำนาจมอญอย่างสุดกำลัง
อองไจยะชักชวนนายบ้านในแถบลุ่มน้ำมู 46 หมู่บ้าน เข้าร่วมสงครามและมีคนจำนวนมากเข้าร่วมสู้ด้วย คืนพระจันทร์เต็มดวง 29 กุมภาพันธ์ 1752 อองไจยะปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ใหม่ ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระมหาโพธิสัตว์เจ้า" (อลองพญา) หรือพระนามเต็มๆคือ "สิริภาวรา วิชัยนันทชาตะ มหาธรรมราชาธิราช อลุง มินธารคยี"
หลายๆคนไม่เชื่อว่าพระเจ้าอลองพญาจะสามารถขับไล่ทหารฝรั่งของชาวมอญไปได้ แม้แต่พระราชบิดายังส่งสาส์นบอกว่า ทหารที่มีอยู่ไม่มาก ปืนที่มีไม่กี่กระบอก เมื่อเทียบกับทหารฝรั่งในกรุงอังวะแล้ว ยากยิ่งที่จะทำลายป้อมปราการของอังวะได้ แต่พระเจ้าอลองพญาทรงตอบกลับไปว่า "เมื่อเราสู้เพื่ออาณาจักรของเรา ต่อให้มีทหารเพียงเล็กน้อย แต่มีใจจริงและแขนที่หนักแน่น ก็เพียงพอแล้ว" ทรงได้ทำการป้องกันหมู่บ้านโดยเริ่มจากการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านของพระองค์เป็นชเวโบ และขุดคูน้ำ หลุมและบ่อไว้ในป่านอกหมู่บ้าน รวมถึงสร้างกำแพงด้วย
ต่อมาพระองค์สามารถขับไล่ทหารมอญ ทหารเงี้ยว รวมถึงทหารยุโรปด้วย และทำการยึดเมืองหลายเมือง เช่น ย่างกุ้ง สิเรียม และล้อมเมืองพะโคนาน 14 เดือน จึงสามารถตีเมืองได้สำเร็จในวันที่ 6 พฤษภาคม 1757 ทหารพม่าได้ทำลายเมือง เผาเมือง เข่นฆ่าผู้คนจำนวนมาก ที่เหลืออยู่ก็ถูกจับเป็นทาส ส่วนกษัตริย์มอญ พระเจ้าพินนยา ดาลา หลบหนีได้ แต่ไม่นานก็ต้องออกมา ทรงได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้าอลองพญา และช่วยทำงานให้กับทางรัฐมาส่วนหนึ่ง ก่อนที่ชาวมอญจะก่อกบฎ แล้วถูกพระเจ้ามังระทรงสั่งประหารชีวิตต่อหน้าประชาชนในเวลาต่อมา เนื่องจากถูกสงสัยว่าพระองค์จะทำการก่อกบฎ
หลังจากการทำลายอาณาจักรมอญ เมืองประเทศราชเช่น เชียงใหม่ ทวาย ยะไข่ ต่างยอมส่งเครื่องบรรณาการให้เพื่อแลกกับการที่ไม่ถูกรุกราน
ต่อมาพระองค์ส่งทหารไปที่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน เพื่อทำการยึดเมืองคืนจากราชวงศ์ชิง และประสบความสำเร็จในการยึดเมืองคืนมาหลังจากนั้น ต่อมาพระองค์ได้ยึดแหลมเนกิสคืนจากอังกฤษในวันที่ 6 ตุลาคม 1759 หลังจากนั้น ทรงได้ยึดครองมณีปุระและทำสงครามกับอยุธยา แต่การบุกยึดอยุธยาไม่สำเร็จ เพราะตามประวัติศาสตร์พม่าระบุว่า พระองค์สวรรคตเพราะพระโรคบิด ขณะที่ประวัติศาสตร์ไทยระบุว่าพระองค์ทรงตรวจปืนใหญ่ แต่ปืนใหญ่เกิดระเบิดลั่นใส่พระองค์จนบาดเจ็บและสวรรคตในเวลาต่อมา แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามหลังจากนั้น ทหารพม่าได้ถอดกำลังออกจากอยุธยาในวันที่ 17 เมษายน 1760 มีเพียงแค่มินคลุงเนาวธา หรือ มังฆ้องนรธา ที่สามารถคุมกองพลจำนวน 6,000 นายกับทหารม้า 500 คน เป็นทัพหลัง แม้ว่ามีกองทัพอยุธยาเข้าโจมตี แต่ก็สามารถป้องกันได้ตลอดทางจนพ้นเขตอยุธยา
แม้ว่าพระองค์ไม่สามารถยึดอยุธยาได้ แต่พระองค์ก็ได้พื้นที่ทางตอนใต้ชายฝั่งอันดามันไปได้ แต่อยุธยาสามารถยึดคืนได้เพียงบางส่วน
สุสานของพระองค์ที่ชเวโบ
เจ้าฟ้าเมิงลอก พระราชโอรสองค์โตขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเนียงดอคยี หรือ พระเจ้าเมิงลอก (มังลอก) โดยทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้าเมิงวะ หรือ มังระ พระอนุชา เป็นพระมหาอุปราชา แต่ตลอดรัชสมัย ทรงต้องพบกับการก่อกบฏของประเทศราช,แม่ทัพ หรือแม้กระทั่งพระอนุชาของพระองค์เอง แต่ทรงให้อภัยพระอนุชาเนื่องจากเกรงว่าหากทำอะไรพระอนุชา อาจจะเกิดการนองเลือดขึ้นได้
มินคลุงเนาวธา แม่ทัพสนิทของพระชนกนาถได้ก่อกบฏและสามารถยึดเมืองอังวะได้ 5 เดือน ก่อนที่เดือนธันวาคม เขาจะหนีและถูกยิงเสียชีวิตระหว่างหนีออกจากเมือง พระเจ้าเนียงดอคยีทรงเสียพระทัยมาก และตรัสว่า "มันดีแล้วใช่มั้ยที่พวกเจ้ายิงชายผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้"
ต่อมา ธะโด เทียนคธู พระปิตุลาของพระองค์ได้ก่อกบฏและล้อมเมืองจนมกราคม 1762 พระองค์ให้อภัยกับพระปิตุลาและเหล่ากองทัพ แต่ถึงกระนั้น พระองค์ยังต้องเผชิญกับการก่อกบฎของล้านนาและมณีปุระ เจ้าขี้หุด เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ให้ตละบาน แม่ทัพของมอญได้อยู่เชียงใหม่เพื่อเตรียมทำศึกกับพม่า ปลายปี 1761 กองทัพตละบานเข้าโจมตีเมาะตะมา แต่กองทัพเขาไม่สามารถรวบรวมกำลังพลและแตกกระจายไปที่ต่างๆ ตละบานต้องหนีเข้าป่าและทำสงครามแบบกองโจร พระเจ้าเนียงดอคยีจึงส่งทหารจำนวน 8,000 นายและยึดเชียงใหม่ได้ในปี 1763 และจับครอบครัวเขาเป็นตัวประกัน ทำให้เขาต้องออกมาสวามิภักดิ์และทำงานรับใช้ราชวงศ์ตลอดอายุขัย
กบฏมณีปุระซึ่งนำโดยอดีตกษัตริย์แห่งมณีปุระพยายามตั้งอาณาจักรเดิมของตนโดยขอให้บริษัทอินเดียตะวันออกช่วยพวกตน แต่ต่อมาทหารอังกฤษไม่ได้สนใจ จึงทำให้กบฏแตกสลายไปในที่สุด แต่เวลาต่อมา พวกเขาได้ขออีกครั้ง ทำให้ได้ดินแดนคืนมาในเวลาสั้นๆ เพื่อที่ทางพม่าจะสามารถทำการค้าได้สะดวก
พระเจ้าเนียงดอคยีสวรรคตด้วยพระโรคบิดเช่นเดียวกับพระราชบิดาของพระองค์ เจ้าฟ้าเมิงวะ ขึ้นครองราชย์ โดยมีพระนามเต็มว่า "สิริสุริยาธรรมราชาธิบดี สินพยูฉิน" หรือพระเจ้าสินพยูฉิน
หลังการขึ้นครองราชย์ ทรงตีเมืองมณีปุระคืนมาได้ และยึดลาวกับล้านนาได้ รวมถึงให้มังมหานรธากับเนเมียวสีหบดีรุกอยุธยาและตีเมืองสำเร็จในวันที่ 7 เมษายน 1767
ระหว่างนั้นจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิงทรงส่งกำลังทหารเข้ามารุกตีพม่า แต่กองทัพพม่าสามารถต้านทานไว้ได้ แต่ครั้งต่อมา พระยาสีหสุระ หรือ อะแซหวุ่นกี้ ได้ยอมให้ทหารจีนถอนกำลังออกไปได้ และทำสัญญากับจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ทรงไม่ยอมรับ พระเจ้าสินพยูฉินทรงพิโรธมากที่อะแซหวุ่นกี้ทำไปโดยไม่รู้ทันการณ์ จึงฉีกสัญญาทิ้ง แต่อะแซหวุ่นกี้ได้แก้มืออีกครั้งโดยการตีมณีปุระได้ และได้รบกับพระเจ้าตากสิน แต่ยังรบไม่เสร็จ พระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคตในวันที่ 10 มิถุนายน 1776 สิริพระชนมายุ 39 พรรษา
ธงชาติพม่ายุคราชวงศ์คองบอง
หลังยุคพระเจ้าสินพยูฉินแล้ว พระเจ้าซินกูมินได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่ก็ถูกพระเจ้าหม่องหม่องแย่งราชสมบัติอีก แต่อยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ ก็ถูกเจ้าฟ้าโบดอยึดอำนาจ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าโบดอพญา หรือพระเจ้าปดุง ในรัชกาลของพระองค์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่อมรปุระ และได้มีการรุกรานอาณาจักรยะไข่และตีสำเร็จในเวลาต่อมา พระองค์ทรงเหิมเกริมถึงขั้นยกทัพ 9 ทัพแต่ถูกสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ต้านทานไว้ได้ รวมถึง การช่วยเหลือราชวงศ์อาหมในการยึดอาณาจักรอัสสัมคืนด้วย
ในรัชกาลของพระองค์มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ที่มีชื่อว่า "มันตาลาจีสถูป" หรือเจดีย์มิงกุน และระฆังมิงกุน แต่โชคร้ายที่พระองค์สวรรคตก่อน พระราชนัดดาของพระองค์ เจ้าฟ้าสะกาย ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าพาคยีดอ
ในรัชกาลของพระองค์ อาณาจักรมณีปุระกับอาณาจักรอาหมหรืออัสสัมถูกยึดไว้ได้เรียบร้อย จนนำมาซึ่งปัญหากับอังกฤษจนเกิดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ซึ่งนำไปสู่ความพ่ายแพ้ และการลงสัญญายันดาโบ ซึ่งระบุดังนี้
1.ยกดินแดนอัสสัม,มณีปุระ,ยะไข่,ตะนาวศรี และทางตอนใต้ของแม่น้ำสาละวิน
2.ไม่แทรกแซงกาชาร์กับไจน์ติญา
3.จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ล้านปอนด์
4.อนุญาตให้มีการติดต่อผู้แทนระหว่างอังวะกับกัลกาตา
5.เซ็นสัญญาร่วมการค้า
นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ https://goo.gl/DNifLi
2.ไม่แทรกแซงกาชาร์กับไจน์ติญา
3.จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ล้านปอนด์
4.อนุญาตให้มีการติดต่อผู้แทนระหว่างอังวะกับกัลกาตา
5.เซ็นสัญญาร่วมการค้า
นาฬิกาทหารสวยๆ 390บาท สนใจคลิ๊กรูปหรือลิ๊งได้เลยคับ https://goo.gl/DNifLi
หลังจากนั้น พระเจ้าพาคยีดอทรงเสียพระทัยจนไม่คิดว่าราชการ ยกพระราชอำนาจให้กับพระมเหสีเมนูและพระเชษฐา จนเจ้าฟ้าธาราวดีทรงปราบปรามและจับพระเชษฐาไว้ในตำหนัก และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าธาราวดี พระองค์ไม่ได้มีบทบาทเด่นใดๆนอกจากทรงสร้างระฆังไว้ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ชเวดากอง
หลังการสวรรคตของพระองค์ เจ้าฟ้าพุกามทรงปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าพุกาม ในรัชสมัยของพระองค์ พม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษอีกครั้งจนต้องเสียดินแดนพะโคและพม่าตอนใต้เกือบทั้งหมด
เจ้าฟ้ามินดง พระอนุชาได้ก่อกบฎที่ชเวโบและทำการยึดอำนาจและปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ามินดง ส่วนพระเชษฐายังคงมีชีวิตต่อไปจนสุดพระชนมายุ พระเจ้ามินดงทรงสั่งปล่อยนักโทษชาวยุโรป เพื่อสร้างความสันติสุขกับอังกฤษ แต่ทรงปฏิเสธที่จะยกดินแดนให้กับอังกฤษอีก
พระสถูปพระเจ้าปดุง
พระเจ้ามินดงถือเป็นกษัตริย์ที่ดีพระองค์หนึ่งของพม่า ตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรงใช้เวลาในการปฏิรูปประเทศพม่ากับป้องกันการรุกรานจากอังกฤษ
พระองค์ทรงย้ายราชธานีไปที่กรุงมัณฑะเลย์ และทรงส่งนักวิชาการศึกษาในทวีปยุโรปช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิรูปในรัชสมัยพระองค์ได้แก่การปรับปรุงเงินของข้าราชการ การเก็บภาษีรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการจัดระเบียบของตำรวจและทหารใหม่ นอกจากนี้ทรงสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นรอบที่ 5 และจารึกลงในศิลาหินและตั้งไว้ที่วัดกุโสดอ
ปลายรัชสมัยได้เกิดความวุ่นวายในราชสำนัก เมื่อพระราชโอรส 2 พระองค์สังหารพระมหาอุปราชาและยึดมัณฑะเลย์ไว้ ก่อนที่จะหนีไปหาอังกฤษที่พม่าใต้ รวมไปถึงการสังหารหมู่พระราชวงศ์จำนวนมากหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้ามินดงแล้ว
พระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า ต้องยอมประกาศสงครามกับอังกฤษอีกครั้ง เนื่องจากถูกอังกฤษเอาเปรียบเรื่องการค้าไม้ จนท้ายสุด ด้วยอาวุธและเทคโนโลยีที่ดีกว่า ทำให้อังกฤษชนะ และพระเจ้าธีบอถูกบังคับให้สละราชสมบัติ เดิมอังกฤษยังคงตั้งใจจะให้มีกษัตริย์ต่อ แต่หลังจากพบว่าพระราชวงศ์ถูกสังหารเกือบหมดสิ้นแล้ว ก็ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ในพม่า และยุบเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช ก่อนที่จะนำพระเจ้าธีบอ,พระมเหสีกับพระราชวงศ์ที่เหลือขึ้นเรือกลไฟไปยังเมืองรัตนคีรีซึ่งอยู่ใกล้กับบอมเบย์ และทรงได้ใช้ชีวิตอย่างสิ้นหวัง ด้วยพระตำหนักที่ค่อนข้างใหญ่โต แต่เทียบไม่ได้กับพระราชวังมัณฑะเลย์ ทรงสวรรคตในวันที่ 19 ธันวาคม 1916 พระมเหสีได้รับอนุญาตให้อาศัยในย่างกุ้งได้จนสิ้นพระชนม์เมื่อ 24 พฤศจิกายน 1925
ยุคสมัยของราชวงศ์พม่านับตั้งแต่อาณาจักรพุกามจนถึงราชอาณาจักรพม่าของราชวงศ์คองบองสิ้นสุดลงด้วยระยะเวลารวม 1,000 กว่าปี ตลอดเวลานั้นมีการแก่งแย่งชิงระหว่างอาณาจักรจนไปถึงสายตระกูลด้วยกัน จนสิ้นสุดลงเมื่ออังกฤษยึดครอง หลังจากนั้นมา ประเทศพม่าจึงดำรงอยู่สุขอีกครั้งหนึ่ง "ในเวลาสั้นๆ"
พระเจ้าธีบอกับพระมเหสี
ขอบคุณเครดิต สมาชิกหมายเลข 701555
http://pantip.com/topic/31963831