วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ปืน HK 33 หรือ ปลย. 11

ปืนเล็กยาว ที่เรารู้จักกันดี HK 33 หรือ ปลย. 11(ผลิตโดยกรมสรรพาวุธ ทบ.)
HK 33 ออกแบบและผลิตโดยทีมงานของ West German armament manufacturer Heckler & Koch GmbH (H&K)(ในขณะนั้นเยอรมันยังแยกประเทศออกเป็นสองส่วน) เป็นปืนเล็กยาวจู่โจม(Assault rifle)ที่พัฒนาขึ้นในยุค 1960 โดยพัฒนามาจาก G3 ปืนเล็กยาวประจัญบาน( Battle rifle) โดย G3 ใช้กระสุนขนาด 7.62x51 mm NATO ส่วน HK 33 ใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm NATO
โดยการพัฒนาHK33 ,มาจากความต้องการสร้างปืนเล็กยาวขนาดเล็ก หลักการทำงานของ HK 33 ใช้ระบบลูกกลิ้งขัดกลอน Roller-delayed blowback ยิงขณะลูกเลื่อนปิด โดยใช้ลูกกลิ้งทรงกระบอกสองชิ้นขัดหลอนท้ายรังเพลิง และมีตัวลิ่มบังคับ เมื่อแรงดันในรังเพลิงลดลงจนถึงจุดหนึ่งระบบลูกเลื่อนจะทำการปลดกลอนตัวเอง เพื่อบรรจุกระสุนและขึ้นนก ยิงนัดต่อไป ระบบลูกกลิ้งขัดกลอนนี้เป็น มรดกมาจากปืนกลตัวร้ายของเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่2 คือ Maschinengewehr MG 42 โหมดการยิง ของHK 33คือห้ามไก ยิงที่ละนัด และยิงเป็นชุด
ปลอกกระสุนที่ยิงจากHK33 จะมีเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งแทบรอยไหม้จากแก๊สร้อน เป็นแทบยาว จากปลายปลอกกระสุนลงมาหากึ่งกลาง มาจากการที่ ทีมออกแบบ ใช้แก๊สจากการเผาไหม้ ในรังเพลิง ย้อนมาเลี้ยงปลอกกระสุนด้านนอกด้วยร่องที่โอบรอบปลอกกระสุน เพื่อลดปัญหาปลอกกระสุนบวมจนติด เรียกว่า Fluted Chamber (จะพบวิธีนี้ได้ในปืนพกอย่าง P7 M8 )
โครงปืนชิ้นบนใช้โลหะแผ่นปั้มขึ้นรูป โครงปืนชิ้นล่าง ในรุ่นแรกสุด โครงปืนชิ้นล่างจะเป็นเหล็กและด้ามจับจะเป็นโพลิเมอร์ synthetic ในรุ่นต่อมา (HK33A2 )โครงปืนชิ้นล่างกับด้ามจับ เป็นชิ้นเดียวกัน พานท้ายปืน ประกับปืน ใช้วัสดุ synthetic สร้างขึ้นมา ซองกระสุนของมัน มี3 ขนาดด้วยกันคือ 25นัด 30นัด และ 40นัด โดยซองกระสุนใช้ แผ่นเหล็กและอลูมีเนียมปั้มขึ้นรูป โครงภายนอก
ระบบ ศูนย์เล็ง ศูนย์หน้าเป็นแบบแผ่นเล็กสามารถเปลี่ยนได้ และศูนย์หลังเป็นแบบทรงกระบอกหมุนได้รอบตัว มีระยะ 100 m เป็นศูนย์บากร่อง V (บางคนจะบอกว่าเล็งยากแต่ถ้าจับทางได้ก็ไม่ยาก ส่ะทีเดียว) ศูนย์รู 200, 300และ 400 mสำหรับศูนย์เล็งแบบกล้องคือ the Hensoldt 4×24 scope
คันปรับโหมดการยิงจะเป็น : "S" หรือ "0"ห้ามไก, "E"หรือ"1"ยิงทีละนัด, "F"หรือ"25"ยิงต่อเนื่อง ยิงเป็นชุดใน Gen ถัดมาจะเป็นแบบ มีโหมดเบิร์น3นัด 4 selection mode grip จะมีการปรับปรุงโครงปืนด้านล่างใหม่ และโหมดการยิงคือ ห้ามไก-ยิงทีละนัด-ยิงชุดสามนัด-ยิงเป็นชุด ใช้สัญลักษณ์ แทนตัวอักษร ในบางรุ่นจะมีโหมดยิงเบิร์น2นัด ด้วย
มีดปลายปืนติดตั้งด้านบนเหนือปลายลำกล้องโดยใส่เข้าไปตรงๆในให้ห่วงคล้องกับปลอกลดแสงและก้านล๊อกมีดเสียบเข้าที่
การขึ้นลูกเลื่อนจะดึงทางด้านซ้าย และปล่อยกลับในทันทีหรือค้างไว้ในร่องค้าง แล้วตบให้ลูกเลื่อนเดินหน้าเข้าที่
การพัฒนาของHK33 มีต่อไปนี้หลัก รุ่นแรก
 HK33 รุ่นแรกนั้น ประกับมือมีลักษณะกลมเล็ก และโครงปืนชิ้นล่างแบบแยกชิ้นกับด้ามจับ(นำมาจาก G3) พานท้ายเต็มแบบ synthetic stock
HK33 A1 ใช้ประกับมือใหญ่ขึ้นทรงสี่เหลี่ยมคางหมู แบบปัจจุบัน
HK33 A2 โครงปืนชิ้นล่างเป็นชิ้นเดียวกัน
ในกลุ่มHK 33 A2 มี ด้วยกันสามรุ่นคือ (ขออ้างอิงแค๊ตตาล๊อกของHK ช่วง1980น่ะครับ)
HK33 E (HK33A2 (Fixed stock)) เป็นตัวมาตรฐาน ลำกล้องยาว 390 mm พานท้ายเต็ม
HK33 EK(HK33A3 (Retractable stock)) พานท้ายสามารถ ยืดออกและ หดเข้าเก็บได้ ลำกล้อง ยาว
HK 33KE ((HK33KA3,HK33K (Carbine)).พานท้ายสามารถ ยืดออกและ หดเข้าเก็บได้ ลำกล้องสั้นลงมาจากรุ่นมาตรฐานคือ 332 mm
HK33SG/1 มาพร้อมขาทรายและกล้องเล็ง ที่แผ่นรองแก้มที่พานท้ายปืน เป็นเวอร์ชั่นพลแม่นปืน(DMC)
จากนั้นก็มีรุ่นที่แตกย่อยออกมาอีกคือ
HK 53 มีการตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือ 211 mmเปลี่ยนประกับมือใหม่(คล้ายกับของMP5) เพื่อให้เป็นปืนเล็กกล มีด้วยกันสองGen. คือ แบบโหมดปกติ( standard grip) ห้ามไก-ยิงทีละนัด-ยิงเป็นชุด S-E-F และรุ่น) มีโหมดเบิร์น3นัด(4 selection mode grip จะมีการปรับปรุงโครงปืนด้านล่างใหม่ และโหมดการยิงคือ ห้ามไก-ยิงทีละนัด-ยิงชุดสามนัด-ยิงเป็นชุด ใช้สัญลักษณ์ แทนตัวอักษร
HK 13 เป็นรุ่นที่พัฒนาเพื่อเป็นปืนกลเบา สามารถเปลี่ยนลำกล้องได้แบบเร่งด่วน ( quick adaptor) ลำกล้องหนาขึ้น ประกับลำกล้องเป็นโลหะ มีขาทรายแบบสองขาติดตั้งมาให้ (bipod)
HK 21 คล้ายกับแบบHK13 แต่ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนและสามารถติดตั้งกล่องกระสุนขนาด 60 นัดได้ มีอุปกรณ์เสริมคือ ขาทรายแบบ สามขา( tripod )
HK23E เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อมาจาก HK 21 เพิ่มโหมดการยิงแบบสามนัดเข้าไป(4 selection mode grip)
G41-TGS (อวตาลของM16A1)เป็นรุ่นที่ใช้ซองกระสุนของ ปืนตระกูลAR( M16 –M4 ) มีคันส่งลูกเลื่อน และฝากันฝุ่น แบบM16,M4 โหมดการยิงแบบ 4 selection mode grip พร้อมหูหิ้ว โดยประกับมือยังมีความคล้ายคลึงกันอีกด้วย หรือกล่าวได้ว่าทำมาสำหรับคนที่ถนัดใช้ปืนตระกูลM16เลยก็ว่าได้ มีรุ่นที่ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ HK 79 ขนาด 40mm.พร้อมศูนย์เล็งของเครื่องยิงลูกระเบิด
และยังแยกไปเป็นรุ่นเพื่อการกีฬาและพานิช
HK 43 ยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ เท่านั้น (semi-automatic only )และรุ่น HK93ที่สร้างขึ้นตามข้อกำหนด ของ Gun Control Act of 1968 คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับอาวุธปืนของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีรุ่นย่อย KA1,A2 และ A3
C 93 ผลิตโดย Century International Arms, Inc. USA ผลิตในสหรัฐอเมริกา โดย ยึดแบบHK 93 นั้นเอง
ยังมีประเทศที่ได้รับลิขสิทธิ์ไปผลิต อีก
ตุรกี HK33E Turkey ปัจจุบัน MKEK. ตุรกีพัฒนาให้สามารถใช้ซองกระสุนของG36 ได้ มีการปรับปรุง ประกับมือ และพัฒนารุ่น 4 selection mode grip อีก และยังทำเพื่อจำหน่ายใช้ในกองทัพและขายแกผู้สนใจ(น่าจะส่ง นายทหารเราไปดูงานจริงๆ)
ประเทศไทย ซื้อลิขสิทธิ์ รวมถึงเครื่องจักรและโรงงาน เพื่อผลิต HK 33 เพื่อป้อนให้กับกองทัพ โดย ใช้ชื่อว่า “ปืนเล็กยาวแบบ 11 “หรือ”ปลย. 11” ทหารอากาศเรียกว่า ปลยอ.5.56-3 ตามปีที่รับเข้าประจำการ พ.ศ.2511 ที่เรารู้จักกันดี โดย บริษัท West German armament manufacturer Heckler & Koch GmbH (H&K) ได้สร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักร ไว้ที่ บริเวณกรมสรรพาวุธทหารบก สะพานแดงบางซื่อ มีชื่อเรียกว่า”โรงงานอาวุธ3” แต่ปีที่เราสร้างโรงงานผมเองยังไม่ทราบแน่ชัดครับ(เดี๋ยวขอไปถาม จนท.ประจำ ร.ร.สพ.ทบ ก่อนจะมาบอกครับ) มีการแจกจ่ายไปใช้งานไม่ใช้แค่ ในกองทัพบก เท่านั้นยังมีส่วนอื่นๆอีก เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรมประมง ฯลฯ ปัจจุบัน ไม่มีการผลิตขึ้นทั้งกระบอกแล้ว(เรื่องนี้ ให้ สมช.อภิปลายกันครับผมขอนั่งดูห่างๆน่ะ) มีเพียงการผลิต ชิ้นส่วนเพื่อการซ่อมปรับปรุง ปืนที่เข้ามาซ่อมปรับปรุงตามวงรอบและงบประมาณที่ได้รับ (มันถึงยังมีหลายๆหน่วยยังไม่ได้รับเวียนของที่ซ่อมแล้วไปใช้ไงครับ) หลังจากยกเลิกการผลิตไป ก็มีความพยายามที่จะพัฒนากันมาเรื่อยๆ เช่น
ใน พ.ศ.2529 พ.ท.ธีระ เจริญเอม ผอ.กชส.ศอ.สพ.ทบ ได้เอาข้อดีของกลไก ปลย. แบบ ต่างๆ เข้ามาผสมผสานกันคือ
- ระบบขัดกลอนแบบลูกกลิ้งขัดกลอนใช้ของ ปลย.11
- ระบบปลดกลอน ใช้ระบบปลดกลอนด้วยแก๊ส ของ ปลย. AK-47 มาใช้แทนการปลดกลอนด้วยระบบ DELAY BLOW BACK ของ ปลย.11
- ระบบพานท้ายใช้ของ ปลย.เอ็ม 16 แบบสั้น
ซึ่งได้ออกแบบสาเร็จและเริ่มผลิตต้นแบบ เมื่อ 27 ก.ค.29 ใช้ชื่อว่า ปลย.11 – ตส.1แต่เมื่อในไปทดสอบในสนามกลับไม่ประสบความสำเร็จและพับโครงการไปในที่สุด
จากนั้นก็มีการนำมาดัดแปลง เป็นปืน Bullpup (สตช.ก็ทำของตัวเองด้วย)โดยเวอร์ชั่นแรกนำไปผสมกับ M16 และเวอร์ชั่นล่าสุดนำไปผสมกับG36 ปลย11 จะยังอยู่กับกองทัพไปไปอีกนานครับตราบเท่าที่ กองทัพบกยังไม่ รื้อโรงงานทิ้งหรือมีการให้พัฒนา ปลย.แบบของเราเอง เพราะตอนนี้เครื่องจักรและคน นั้นใช้ในการซ่อมสร้าง ปรับปรุง อาวุธแบบอื่นๆด้วย เช่น ปืนตระกูล AR,TAR 21และปืนแบบอื่นๆอีก โดยใช้เครื่องมือ จากสมัย นั้น
ส่วนการที่เราจะสามารถพัฒนาและสร้างอาวุธเองได้หรือไม่ มันอยู่ที่ วิสัยทัศน์ ของผู้นำเหล่าทัพ นั้นแหล่ะครับ เทคโนโลยีมันตามทันกันหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น