ประวัติศาสตร์พม่า
• ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
มอญ
• ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยุเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
• นครรัฐของชาวปยุไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก
• ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
มอญ
• ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยุเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
• นครรัฐของชาวปยุไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก
อาณาจักรพุกาม
• ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อยๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร(เมืองพระนคร) และพุกาม
• อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
อังวะและหงสาวดี
• หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070
• สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
อาณาจักรตองอู
• หลังจากอาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูภายใต้การนำของพระเจ้ามิงคยินโย ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง
• ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
• เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
ราชวงศ์อลองพญา
• ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อยๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร(เมืองพระนคร) และพุกาม
• อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
อังวะและหงสาวดี
• หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070
• สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
อาณาจักรตองอู
• หลังจากอาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูภายใต้การนำของพระเจ้ามิงคยินโย ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง
• ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
• เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
ราชวงศ์อลองพญา
• ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
• สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
• รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้
สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
• สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
• รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้
• ลำดับเหตุการณ์สำคัญในเมียนมาร์
• พ.ศ. 1043 : มีการจารึกเกิดขึ้นครั้งแรกในพม่าของพุทธศาสนาลัทธิอารี ในตำบลมะยิงยาน
• พ.ศ. 1297 : อาณาจักรน่านเจ้ามีอำนาจปกครองพม่าตอนเหนือ
• พุทธศตวรรษที่ 13 : ราชวงศ์วิกรมากำเนิดขึ้นที่เมืองแปร
• พ.ศ. 1343-1345 : ชนเผ่าพยูส่งทูตมายังราชสำนักกรุงจีน
• พุทธศตวรรษที่ 14 : เมืองแปรล่มสลาย
• กลางพุทธศตวรรษี่ 14 : พ่อค้าชาวอาหรับเดินเรือมาถึงพม่าเป็นชาติแรก
• พ.ศ. 1392 : อาณาจักรพุกามก่อตั้งขึ้นริมแม่น้ำอิระวดี
• พ.ศ. 1587 : ยุคทองของพุกาม พระเจ้าอโนรธาพิชิตดินแดนต่างๆเข้าไว้เป็นปึกแผ่น รวมทั้งอาณาจักรสุธรรมวดี(สะเทิม) ของชาวมอญ และทรงนำพุทธศาสนาลัทธิหินยานเข้ามาสู่พม่าตอนเหนือ ลัทธิอารีจึงสูญสิ้นไป
• พ.ศ. 1601 : มีการจารึกเป็นภาษาพม่าเกิดขึ้นครั้งแรก
• พ.ศ. 1602 : พระเจ้าอโนรธาเริ่มสร้างพระเจดีย์ชเวดากอง ลดอำนาจของยะไข่เหนือ เสด็จเยือนเมืองยูนนาน ขุดคลองชื่อกะโยคเซ
• พ.ศ. 1627 : กองทัพชาวเมืองบุกโจมตีเมืองพุกาม
• พ.ศ. 1633 : พระเจ้าจันสิทธะสร้างวัดอานันดา ส่งสมณทูตพม่าไปพุทธคยา
• พ.ศ. 1646 : ทูตพม่าไปเยือนเมืองยูนนาน
• พ.ศ. 1649 : ทูตพม่าไปเยือนราชสำนักพระเจ้ากรุงจีน
• พ.ศ. 1655 : จารึกมยาเจดีย์
• พ.ศ. 1658 : ชินอรหันต์มรณภาพ ทูตพม่าไปยูนนาน
• พ.ศ. 1661 : เลตะยะมินนันฟื้นฟูอาณาจักรยะไข่เหนือ ซ่อมแซมพุทธคยา
• พ.ศ. 1687 : พระเจ้าอลองสิทธูสร้างวิหารธาตุพยินยูหรือวิหารสัพพัญญู
• พ.ศ. 1753 : สร้างเขื่อนกะโยคเซ
• พ.ศ. 1816 : พระเจ้านราธิหะปติสั่งฆ่าคณะทูตจากพระเจ้ากุบไลข่าน
• พ.ศ. 1820 : สงครามงาซางงาม
• พ.ศ. 1823 : สถาปนาอาณาจักรตองอู
• พ.ศ. 1824 : พระเจ้าวเรรุ(พระเจ้าฟ้ารั่ว) ฟื้นฟูอาณาจักรมอญขึ้นใหม่ ตั้งราชธานีที่เมืองเมาะตะมะ
• พ.ศ. 1830 : กองทัพชาวมองโกลของพระเจ้ากุบไลข่านตีกรุงพุกามแตกในสมัยพระเจ้านราธิหะปติ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักร พุกามซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาถึง 438 ปี
• พ.ศ. 1912 : มอญย้ายเมืองหลวงมี่เมืองหงสาวดี โดยมีเมืองท่าคือ “ดากอง” หรือ “ตะเกิง”
• พ.ศ. 2029-2395 : อาณาจักรราชวงศ์ตองอูเจริญรุ่งเรือง
• พ.ศ. 2086 : พระเจ้าตะเบงชเวตี้ยกทัพมาตีไทย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยออกรบถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้างสิ้นพระชนม์
• พ.ศ. 2094 : “บายิ่นเนาน์” หรือพระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ยึดครองหงสาวดีของมอญ ล้มราชวงศ์มอญแล้วครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดี รวบรวมชาวพม่าเป็นปึกแผ่นเป็นสมัยที่2
• พ.ศ. 2112 : พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่1
• พ.ศ. 2127 : สมเด็จพระนเรศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่า
• พ.ศ. 2143 : กองทัพยะไข่จากแคว้นอาระกัน ตีกรุงหงสาวดีแตกในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง
• พ.ศ. 2295 : พระเจ้าอลองพญา ต้นราชวงศ์คองบอง รบชนะมอญรวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นสมัยที่3และตั้งราชธานีที่ชเวโบ
• พ.ศ. 2298 : พระเจ้าอลองพญามีชัยชนะเหนือมอญเบ็ดเสร็จ เปลี่ยนชื่อเมือง “ตะเกิง” หรือ “ดากอง” เมืองท่าของมอญ เป็น “ย่างกุ้ง” หรือ “ยางกอน” ซึ่งแปลว่า “สิ้นสุดสงคราม” หรือ “สิ้นสุดศัตรู”
• พ.ศ. 2303 : พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชย์หลังจากพระเจ้าอลองพญาสวรรคต ย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ
• พ.ศ. 2310 : พระเจ้ามังระตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่2
• พ.ศ. 2367 : อังกฤษยึดครองอินเดียได้แล้วก็รุกคืบสู่ลุ่มน้ำอิระวดี เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่า ครั้งที่1 จากนั้นอังกฤษก็ยึดดินแดนของพม่าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งี่2และครั้งที่3
• พ.ศ. 2396-2428 : ราชวงศ์คองบองหรืออลองพญา พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์แล้วย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังมัณฑะเลย์
• พ.ศ. 2428 : พม่าเสียเมืองให้แก่อังกฤษในสมัยพระเจ้าสีป่อแห่งกรุงมัณฑะเลย์ แล้วได้ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงย่างกุ้ง
• พ.ศ. 2444 : นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อตั้ง “ยุวพุทธสมาคม” เป็นจุดกำเนิดของขบวนการกู้ชาติพม่า (Yong Men Buddhist Association-YMBA)
• พ.ศ. 2460 : เกิดกรณี “ห้ามสวมเกือก” (No Footwear) ยุวพุทธ-สมาคมประท้วงชาวอังกฤษที่สวมรองเท้าเข้าวัด เพราะชาวพม่าถือว่าเป็นการกระทำที่ลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสนามาก และพระสงฆ์ชื่อ “อูวิสาร” ได้ทำการอดอาหารประท้วงอังกฤษจนมรณภาพ
• พ.ศ. 2473 : เกิดกบฏ “ซายาซาน” หรือ “กบฏผู้มีบุญ” เป็นการลุกฮือของชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ โดยบารมีอาจารย์ซายาซาน อดีตหมอยาแผนโบราณผู้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ สุดท้ายอังกฤษปราบได้ ซายาซานถูกแขวนคอและได้ประกาศก่อนตายอย่างอาจหาญว่า “เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษได้ตลอดไป”
• พ.ศ. 2478 : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนพม่าทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่ามากคือ “เที่ยวเมืองพม่า”
• พ.ศ. 2484 : 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (30 Comrades) ภายใต้การนำของอองซานร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
• พ.ศ. 2485 : ญี่ปุ่นปกครองพม่าและรัฐฉาน อองซานได้เป็นนายพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม อายุเพียง28ปีเท่านั้น
• พ.ศ. 2486 : ญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า
• พ.ศ. 2488 : สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา และนางาซากิยุติสงครามโลกครั้งที่2อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง อองซานตั้งสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
• พ.ศ. 2490 : อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่าในสนธิสัญญา “แอตลี่อองซาน” โดยมีอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “สหภาพพม่า” ในเดือนมกราคม ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์อองซานลงนามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า แยกตัวเป็นอิศระได้ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี
• กรกฎาคม 2490 : อองซานถูกบุกยิงที่อาคารรัฐสภา เสียชีวิตพร้อมกับรัฐมนตรีและทหารรักษาการณ์รวม8คน จากฝีมือของอูซอ (อดีต30สหาย) และพรรคพวกที่ไม่พอใจที่อองซานขึ้นตำแหน่งสูงสุดอย่างรวดเร็ว ต่อมาอองซานได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งเอกราชของพม่า”
• 4 มกราคม 2491 : พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง63ปี โดยมีอูนุ ( อดีต30สหาย )เป็นนายกรัฐมนตรี
• พ.ศ. 2500 : อูนุประกาศปฏิเสธที่จะใช้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง เกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆตามแนวชายแดน
• พ.ศ. 2505 : นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ประกาศปกครองพม่าแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย” ไม่ติดต่อกับโลกภายนอก
• พ.ศ. 2531 : นางอองซานซูจี บุตรสาวนายพลอองซาน ทำงานในองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คและภูฏานเดินทางกลับพม่าเพื่อรักษาแม่ที่กำลังป่วยหนัก
• 8 สิงหาคม 2531 : เกิดกรณี “8.8.88” (วันที่ 8 เดือน8 ค.ศ.1988) เมื่อทหารพม่าปราบปรามฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดกลียุค มีผู้บาดเจ็บ ตาย และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก
• กันยายน 2531 : ทหารพม่าของนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์ค” (State Law and Order Restoration Council-SLORC) โดยสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ขณะที่นางอองซานซูจีจัดตั้งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย
• พ.ศ. 2533 : มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30ปี พรรคของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับและไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ซ้ำยังสั่งกักบริเวณนางอองซานซูจีในบ้านของนางเอง
• กันยายน 2534 : นางอองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล
• พ.ศ. 2535 : สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “พม่า” (Burma) เป็น “เมียนมาร์” (Myanmar)
• พ.ศ. 2538 : สลอร์คให้อิสรภาพแก่นางอองซานซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี
• พ.ศ. 2539 : สลอร์คประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยวพม่าถึงปี 2540 และเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมประเทศลาว
• พ.ศ. 2540 : สลอร์คเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” (State of Peace And Development Council = SPDC) มีพลเอกตานฉ่วยเป็นประธานสภาฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีพลโทขิ่น ยุ้นต์ เป็นเลขาธิการสภาฯพลโทหม่อง เอย์ คุมกำลังทหารในส่วนภูมิภาคทั้งหมด
• พ.ศ. 1043 : มีการจารึกเกิดขึ้นครั้งแรกในพม่าของพุทธศาสนาลัทธิอารี ในตำบลมะยิงยาน
• พ.ศ. 1297 : อาณาจักรน่านเจ้ามีอำนาจปกครองพม่าตอนเหนือ
• พุทธศตวรรษที่ 13 : ราชวงศ์วิกรมากำเนิดขึ้นที่เมืองแปร
• พ.ศ. 1343-1345 : ชนเผ่าพยูส่งทูตมายังราชสำนักกรุงจีน
• พุทธศตวรรษที่ 14 : เมืองแปรล่มสลาย
• กลางพุทธศตวรรษี่ 14 : พ่อค้าชาวอาหรับเดินเรือมาถึงพม่าเป็นชาติแรก
• พ.ศ. 1392 : อาณาจักรพุกามก่อตั้งขึ้นริมแม่น้ำอิระวดี
• พ.ศ. 1587 : ยุคทองของพุกาม พระเจ้าอโนรธาพิชิตดินแดนต่างๆเข้าไว้เป็นปึกแผ่น รวมทั้งอาณาจักรสุธรรมวดี(สะเทิม) ของชาวมอญ และทรงนำพุทธศาสนาลัทธิหินยานเข้ามาสู่พม่าตอนเหนือ ลัทธิอารีจึงสูญสิ้นไป
• พ.ศ. 1601 : มีการจารึกเป็นภาษาพม่าเกิดขึ้นครั้งแรก
• พ.ศ. 1602 : พระเจ้าอโนรธาเริ่มสร้างพระเจดีย์ชเวดากอง ลดอำนาจของยะไข่เหนือ เสด็จเยือนเมืองยูนนาน ขุดคลองชื่อกะโยคเซ
• พ.ศ. 1627 : กองทัพชาวเมืองบุกโจมตีเมืองพุกาม
• พ.ศ. 1633 : พระเจ้าจันสิทธะสร้างวัดอานันดา ส่งสมณทูตพม่าไปพุทธคยา
• พ.ศ. 1646 : ทูตพม่าไปเยือนเมืองยูนนาน
• พ.ศ. 1649 : ทูตพม่าไปเยือนราชสำนักพระเจ้ากรุงจีน
• พ.ศ. 1655 : จารึกมยาเจดีย์
• พ.ศ. 1658 : ชินอรหันต์มรณภาพ ทูตพม่าไปยูนนาน
• พ.ศ. 1661 : เลตะยะมินนันฟื้นฟูอาณาจักรยะไข่เหนือ ซ่อมแซมพุทธคยา
• พ.ศ. 1687 : พระเจ้าอลองสิทธูสร้างวิหารธาตุพยินยูหรือวิหารสัพพัญญู
• พ.ศ. 1753 : สร้างเขื่อนกะโยคเซ
• พ.ศ. 1816 : พระเจ้านราธิหะปติสั่งฆ่าคณะทูตจากพระเจ้ากุบไลข่าน
• พ.ศ. 1820 : สงครามงาซางงาม
• พ.ศ. 1823 : สถาปนาอาณาจักรตองอู
• พ.ศ. 1824 : พระเจ้าวเรรุ(พระเจ้าฟ้ารั่ว) ฟื้นฟูอาณาจักรมอญขึ้นใหม่ ตั้งราชธานีที่เมืองเมาะตะมะ
• พ.ศ. 1830 : กองทัพชาวมองโกลของพระเจ้ากุบไลข่านตีกรุงพุกามแตกในสมัยพระเจ้านราธิหะปติ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักร พุกามซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาถึง 438 ปี
• พ.ศ. 1912 : มอญย้ายเมืองหลวงมี่เมืองหงสาวดี โดยมีเมืองท่าคือ “ดากอง” หรือ “ตะเกิง”
• พ.ศ. 2029-2395 : อาณาจักรราชวงศ์ตองอูเจริญรุ่งเรือง
• พ.ศ. 2086 : พระเจ้าตะเบงชเวตี้ยกทัพมาตีไทย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยออกรบถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้างสิ้นพระชนม์
• พ.ศ. 2094 : “บายิ่นเนาน์” หรือพระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ยึดครองหงสาวดีของมอญ ล้มราชวงศ์มอญแล้วครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดี รวบรวมชาวพม่าเป็นปึกแผ่นเป็นสมัยที่2
• พ.ศ. 2112 : พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่1
• พ.ศ. 2127 : สมเด็จพระนเรศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่า
• พ.ศ. 2143 : กองทัพยะไข่จากแคว้นอาระกัน ตีกรุงหงสาวดีแตกในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง
• พ.ศ. 2295 : พระเจ้าอลองพญา ต้นราชวงศ์คองบอง รบชนะมอญรวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นสมัยที่3และตั้งราชธานีที่ชเวโบ
• พ.ศ. 2298 : พระเจ้าอลองพญามีชัยชนะเหนือมอญเบ็ดเสร็จ เปลี่ยนชื่อเมือง “ตะเกิง” หรือ “ดากอง” เมืองท่าของมอญ เป็น “ย่างกุ้ง” หรือ “ยางกอน” ซึ่งแปลว่า “สิ้นสุดสงคราม” หรือ “สิ้นสุดศัตรู”
• พ.ศ. 2303 : พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชย์หลังจากพระเจ้าอลองพญาสวรรคต ย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ
• พ.ศ. 2310 : พระเจ้ามังระตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่2
• พ.ศ. 2367 : อังกฤษยึดครองอินเดียได้แล้วก็รุกคืบสู่ลุ่มน้ำอิระวดี เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่า ครั้งที่1 จากนั้นอังกฤษก็ยึดดินแดนของพม่าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งี่2และครั้งที่3
• พ.ศ. 2396-2428 : ราชวงศ์คองบองหรืออลองพญา พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์แล้วย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังมัณฑะเลย์
• พ.ศ. 2428 : พม่าเสียเมืองให้แก่อังกฤษในสมัยพระเจ้าสีป่อแห่งกรุงมัณฑะเลย์ แล้วได้ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงย่างกุ้ง
• พ.ศ. 2444 : นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อตั้ง “ยุวพุทธสมาคม” เป็นจุดกำเนิดของขบวนการกู้ชาติพม่า (Yong Men Buddhist Association-YMBA)
• พ.ศ. 2460 : เกิดกรณี “ห้ามสวมเกือก” (No Footwear) ยุวพุทธ-สมาคมประท้วงชาวอังกฤษที่สวมรองเท้าเข้าวัด เพราะชาวพม่าถือว่าเป็นการกระทำที่ลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสนามาก และพระสงฆ์ชื่อ “อูวิสาร” ได้ทำการอดอาหารประท้วงอังกฤษจนมรณภาพ
• พ.ศ. 2473 : เกิดกบฏ “ซายาซาน” หรือ “กบฏผู้มีบุญ” เป็นการลุกฮือของชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ โดยบารมีอาจารย์ซายาซาน อดีตหมอยาแผนโบราณผู้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ สุดท้ายอังกฤษปราบได้ ซายาซานถูกแขวนคอและได้ประกาศก่อนตายอย่างอาจหาญว่า “เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษได้ตลอดไป”
• พ.ศ. 2478 : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนพม่าทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่ามากคือ “เที่ยวเมืองพม่า”
• พ.ศ. 2484 : 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (30 Comrades) ภายใต้การนำของอองซานร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
• พ.ศ. 2485 : ญี่ปุ่นปกครองพม่าและรัฐฉาน อองซานได้เป็นนายพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม อายุเพียง28ปีเท่านั้น
• พ.ศ. 2486 : ญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า
• พ.ศ. 2488 : สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา และนางาซากิยุติสงครามโลกครั้งที่2อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง อองซานตั้งสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
• พ.ศ. 2490 : อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่าในสนธิสัญญา “แอตลี่อองซาน” โดยมีอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “สหภาพพม่า” ในเดือนมกราคม ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์อองซานลงนามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า แยกตัวเป็นอิศระได้ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี
• กรกฎาคม 2490 : อองซานถูกบุกยิงที่อาคารรัฐสภา เสียชีวิตพร้อมกับรัฐมนตรีและทหารรักษาการณ์รวม8คน จากฝีมือของอูซอ (อดีต30สหาย) และพรรคพวกที่ไม่พอใจที่อองซานขึ้นตำแหน่งสูงสุดอย่างรวดเร็ว ต่อมาอองซานได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งเอกราชของพม่า”
• 4 มกราคม 2491 : พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง63ปี โดยมีอูนุ ( อดีต30สหาย )เป็นนายกรัฐมนตรี
• พ.ศ. 2500 : อูนุประกาศปฏิเสธที่จะใช้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง เกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆตามแนวชายแดน
• พ.ศ. 2505 : นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ประกาศปกครองพม่าแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย” ไม่ติดต่อกับโลกภายนอก
• พ.ศ. 2531 : นางอองซานซูจี บุตรสาวนายพลอองซาน ทำงานในองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คและภูฏานเดินทางกลับพม่าเพื่อรักษาแม่ที่กำลังป่วยหนัก
• 8 สิงหาคม 2531 : เกิดกรณี “8.8.88” (วันที่ 8 เดือน8 ค.ศ.1988) เมื่อทหารพม่าปราบปรามฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดกลียุค มีผู้บาดเจ็บ ตาย และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก
• กันยายน 2531 : ทหารพม่าของนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์ค” (State Law and Order Restoration Council-SLORC) โดยสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ขณะที่นางอองซานซูจีจัดตั้งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย
• พ.ศ. 2533 : มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30ปี พรรคของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับและไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ซ้ำยังสั่งกักบริเวณนางอองซานซูจีในบ้านของนางเอง
• กันยายน 2534 : นางอองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล
• พ.ศ. 2535 : สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “พม่า” (Burma) เป็น “เมียนมาร์” (Myanmar)
• พ.ศ. 2538 : สลอร์คให้อิสรภาพแก่นางอองซานซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี
• พ.ศ. 2539 : สลอร์คประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยวพม่าถึงปี 2540 และเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมประเทศลาว
• พ.ศ. 2540 : สลอร์คเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” (State of Peace And Development Council = SPDC) มีพลเอกตานฉ่วยเป็นประธานสภาฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีพลโทขิ่น ยุ้นต์ เป็นเลขาธิการสภาฯพลโทหม่อง เอย์ คุมกำลังทหารในส่วนภูมิภาคทั้งหมด
ขอบคุณเครดิต http://www.oceansmile.com/Phama/PhamaHistory.htm
ยิ่งใหญ่รวมอาณาจักรได้เยอะแต่ภายในไม่นานก็ล่มสลายดูแล้วสาเหตุที่ผิดพลาดที่สุดน่าจะเพราะรีบบวกกับอังกฤษทั้งไม่พร้อม ถ้าดูตามคาบเวลาแล้วน่าจะเป็นช่วงที่เพ่อเสร็จศึกใหญ่กับไทยไปกำลังรบอาวุธคนเก่งๆก้อคงเสียไปไม่น้อยแต่ก้อบวกกะอังกฤษ
ตอบลบคหสต.