วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สงครามโลกครั้งที่2 กองทัพไทยบุกจีน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  กองทัพไทยร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นแบ่งกันโจมตีเอเชีย ญี่ปุ่นจะบุกพม่าฝั่งซ้ายรบกับกองทัพอังกฤษ   ส่วนกองทัพไทยจะบุกฝั่งขวาบน สู้กับกองทัพจีน ไทยได้เคลื่อนกองทัพบุก เชียงตุง สหรัฐไทยเดิม   ผลพลอยได้จากการรบ คือเมื่อไทยยึดเชียงตุงและเมืองต่างๆในรัฐชานฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินได้ ก็ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึงของรัฐไทย

กติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม 
พ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทย เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ระหว่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหาร
สูงสุด กับ พลโท อีดะ แม่ทัพกองทัพที่ ๑๕ ญี่ปุ่นในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในประเทศไทย 
พลเรือตรี ซาคอง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น และอีก ๑๐ วัน 
ต่อมา ได้มีการลงนามเพิ่มเติมในรายละเอียดของข้อตกลงที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างญี่ปุ่น
กับไทยอีกฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ในที่สุดประเทศไทยได้ประกาศสงคราม
กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ นับว่าประเทศ
ไทยได้เข้าสู่สถานะสงครามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สหรัฐไทยเดิม คือดินแดนทางภาคเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือประเทศไทย พื้นที่ราว ๓๙,๘๕๕ ตารางกิโลเมตร ชายแดน พม่า-จีน แถบรัฐฉาน และเมืองเชียงตุง ของพม่า ซึ่งอังกฤษยึดครองไว้แต่พ.ศ. ๒๔๓๓ รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้ไทยสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารกองทัพพายัพ (ส่วนหนึ่งมาจากกองพลที่ ๒ จากปราจีนบุรี) ขึ้นไปยึดจากทหารจีนก๊กมินตั๋ง กองพล ๙๓ ภาคใต้การบังคับบัญชาชองจอมพลเจียงไคเชค ตอนเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาเมื่อเวลาเที่ยงวันของวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กองทัพไทยผนวกดินแดนดังกล่าวเข้าในประเทศไทย โดยอ้างความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กที่ถูกรัฐบาลอังกฤษส่งไปอยู่ชายแดนอินเดียให้กลับมาเป็นผู้ครองเมืองเชียงตุง ตั้งศาลากลางสหรัฐไทยเดิมขึ้นที่เมืองเชียงตุง มี พลตโท ผิน ชุณหวัณ เป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น ๑๒ อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงตุง อำเภอเมืองยอง อำเภอเมืองพยาค อำเภอเมืองยู้ อำเภอเมืองชิง อำเภอเมืองมะ อำเภอเมืองยาง อำเภอเมืองขาก อำเภอเมืองเลน อำเภอเมืองโก อำเภอเมืองสาด และอำเภอเมืองหาง ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๘๘ ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ไทยจึงต้องคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิมให้แก่อังกฤษ


การจัดตั้งกองทัพบก
เมื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ออกคำสั่งจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม 
พ.ศ.๒๔๘๔ โดยสนธิกำลังทหารจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ และแต่งตั้งให้ พลตรี จรูญ รัตนกุล 
เสรีเริงฤทธิ์ี เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพ ได้มีการจัดกองทัพพายัพ ซึ่งประกอบด้วยกองบัญชาการ
กองทัพพายัพ กองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒ จากจังหวัดปราจีนบุรี กองพลที่ ๓ จาก
จังหวัดนครราชสีมา กองพลที่ ๔ จากจังหวัดนครสวรรค์) กองพลทหารม้า ๑ กองพล และกรมทหาร
ม้าอิสระ (กรมทหารม้าที่ ๑๒) ๑ กรม กับหน่วยขึ้นสมทบคือ ๑ กองพันทหารราบ ๒ กองพันทหารปืน
ใหญ่และ ๔ กองพันทหารช่าง นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้บรรจุมอบกองบินน้อยผสมที่ ๘๐ จังหวัด
ลำปาง เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพพายัพด้วย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ยังได้จัดตั้งกองตำรวจ
สนามขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในด้านการปกครอง และการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่ยึดครองกับเพื่อ
สนับสนุนหน่วยทหารในการรักษาพื้นที่บางแห่งที่อยู่ห่างไกล และมีความสำคัญในทางการรบน้อยเป็น
การแบ่งเบาภาระของทหารอีกด้วย




9 มีนาคม 2485 กองทัพญี่ปุ่นยึดย่างกุ้งได้ ทหารอังกฤษถอนตัวจากพม่าในวันที่ 9 พฤษภาคม 2485 กองทัพไทยรุกข้ามชายแดนไทย–พม่า และบุกอย่างต่อเนื่องไปจนถึง เมืองสิบสองปันนาของจีนทหารช่างต้องตัดถนนอย่างยากลำบาก(เส้นทางที่ทหารช่างไทยทำไว้กลายเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางจากท่าขี้เหล็กถึงเมืองลา ตราบจนทุกวันนี้)

ถึงจะตัดถนนได้แต่ยังไม่สามารถใช้รถในการลำเลียงได้เพราะเป็นหล่มโคลนมาก ต้องใช้ ม้า วัวควาย ในการลำเลียง แต่วัวควายกลับติดหล่มจนล้มตายไปจำนวนมาก เลยต้องมาใช้ช้างลำเลียง ตลอดเวลาที่ทหารไทยรุกเข้าไปต้องพบการต่อต้านจากทหารจีน กองทัพไทยรุกผ่านท่าขี้เหล็ก ดอยเหมย ไปถึงเชียงตุงได้ในวันที่ 4 มิถุนายน 2485

เป็นเวลากว่า 80 ปี ที่เราเสียเชียงตุงไปในสมัยรัชการที่ 3 เมื่อกองทัพไทยมาถึงเชียงตุงตอนแรก ชาวบ้านต่างเผาบ้านเรือนหนีไปอยู่ป่าหมด เพราะคิดว่าเป็นทหารญี่ปุ่น 

ภาพกองทัพไทยเดินทัพเข้าเชียงตุง



วันรุ่งขึ้น 5 มิถุนายน 2485 ทหารไทยเดินขบวนเข้าเชียงตุงอย่างเป็นทางการ
เจ้าบุญวาศ ณ เข็มรัฐ ผู้ครองนครเชียงตุง ได้ออกมาต้อนรับทหารไทยและทำพิธีส่งเมือง ให้ จอมพล ผิน ชุนหวัน
(รูป เจ้าบุญวาศ ณ เข็มรัฐ เจ้าฟ้าผู้ครองเชียงตุงลำดับที่40 ผู้ได้ต้อนรับทหารไทย )
(รูป จอมพล ผิน ชุนหวัน แม่ทัพพายัพ ผู้พิชิตรัฐฉาน)

ตลอดเวลาที่ทหารไทยเข้ามาในเมืองเชียงตุงไม่ได้มีปฏิกิริยาดีใจไชโย โห่ร้องอะไร นอกจากความสงสารที่มีแก่ชนเชื้อชาติเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันนับถือศาสนาเดียวกัน คือคนไทยใหญ่ต้องล้มตายจากสงคราม และซากเมืองที่พังพินาศ นอกจากนั้นทหารไทยยังอ่อนล้าจากการสู้รบและโรคระบาด โดยเฉพาะมาลาเรียที่ทหาร 25% ต้องหมดสภาพในการสู้รบจากการติดเชื้อ
ทหารจีนถอยร่นไปเรื่อยๆทหารไทยตามตีอย่างไม่ลดละ สิ่งที่ยากลำบากกว่าการสู้รบ คือ การเดินทางที่ยากลำบากทหารจีนระเบิดสะพานทุกแห่งเพื่อสกัดการติดตาม แต่การสร้างสะพานขึ้นมาใหม่กลับลำบากยิ่งกว่า เพราะฐานสะพานที่อ่อนแอลง ทำให้ทหารช่างหลายคนต้องเสียชีวิตและพลัดตกลงไปในเหวและแม่น้ำ เวลาพักผ่อนของทหารก็ไม่เต็มที่เนื่องจากถูกรบกวนจาก ยุง ริ้น เลือด ไร

(รูป พิธีชักธงชาติไทย ขึ้นที่เชียงตุง)
เมื่อทำการบุกต่อเนื่องจนสามารถครอบครองรัฐฉานได้ทั้งหมด ในเดือน มกราคม 2486 ไทยได้สถาปนาดินแดนแห่งนี้ใหม่ว่า สหรัฐไทยใหญ่ ธงไตรรงค์ของเราโบกสะบัดอยู่ที่เชียงตุงนาน 3 ปี

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม เรืออู เพิ่มเติมเรื่อง ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่น  ไทยถูกญี่ปุ่นบังคับจริงๆหรือ หรือว่าไทยยินดีแต่ร่วมด้วยตั้งแต่ต้น  ก่อนหน้านี้ไทยก็ได้รับการข่มเหงจากต่างชาติเช่นฝรั่งเศสมาหยกๆ กองทัพไทย ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ พึ่งได้รับชัยชนะมาไม่นาน  เป็นไปได้หรือไม่ ที่รถบรรทุกทหารของกองทัพญี่ปุ่น วิ่งเข้าประเทศไทยจนถึงกรุงเทพโดยไม่ได้รับการต่อต้าน  ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก แล้วกองทัพเรือไทยไปไหนสะล่ะ ไทยในตอนนั้นถึงจะเทียบญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้มีกองทัพที่อ่อนแอถึงขนาดนี้  แล้วทหารหลักๆแทบไม่ได้สู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นเลย  มีเพียง ยุวชนทหาร ตำรวจ และทหารบางส่วน หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าการสื่อสารล่าช้า จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันขึ้น นายกรัฐมนตรี ไม่อยู่วันนั้นเป๊ะๆ สะอย่างงั้น  ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นยางนานและยังดีจนถึงปัจจุบัน    ผมเพียงสงใสว่าไทยเต็มใจเข้าร่วมตั้งแต่แรกแล้ว หรือป่าว  ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเรืออูนะครับ    

1 ความคิดเห็น:

  1. ย่อหน้าสุดท้าย ตอบ ไม่หรอกครับมันมีส่วนที่ท่านไม่ทราบอยู่ตอนญี่ปุ่นเข้ามาเจรจาขอใช้ผ่านทาง เวลาไม่มีถ้ามีเวลาก็ทำอย่างท่านว่าได้ มีหลายส่วนที่ท่านยังไม่ทราบในช่วงญี่ปุ่นเข้ามา จำเป็นต้องยอม ญี่ปุ่นไม่ให้เวลาไทยคิดหรือประชุมรัฐบาล เหมือนว่ามีสายลับคอยรายงานญี่ปุ่นว่า ไทยเตรียมตั้งรับ เขาเลยรุกๆเข้ามาเร็ว

    ตอบลบ