พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช
ในปลายทศวรรษที่ 1830 สมัยที่สยามยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปในยุโรป เจ้าชายสยามองค์หนึ่งทรงทำให้ชื่อของประเทศสยามระบือลื่อเลื่องลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในอังกฤษ ชื่อเสียงขจรขจายทั่วประเทศอื่นๆในยุโรปที่สนใจกีฬา เพราะทรงชนะเลิศอันดับหนึ่งของการแข่งรถระหว่างชาติทั่วทวีปยุโรป 3 ปีซ้อน คือปี 1936 ปี 1937 และ ปี 1938 จนคว้าตำแหน่ง " ดาราทอง " ของสมาคมนักแข่งรถอังกฤษมาครองได้
เกียรติประวัติที่ควรจารึกไว้ คือ
เกียรติประวัติที่ควรจารึกไว้ คือ
- ทรงชนะที่หนึ่ง 4 ครั้ง จากการชิงถ้วยเจ้าชายเรนีย์แห่งโมนาโก ชิงรางวัลระหว่างชาติที่บรูคแลนด์ส ชิงรางวัลใหญ่ของปีการ์ดี และชิงรางวัลของอาลบี
- ชนะที่สอง 2 ครั้ง จากการแข่งที่เกาะแห่งเมน และการแข่งขันที่กรุงดับลิน
- ชนะที่สาม 2 ครั้งจากการแข่งที่ภูเขาไอเฟิล และการชิงแชมเปี้ยนภูเขาที่บรูคแลนด์ส
เจ้าชายสยามองค์นั้นคือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือคนไทยเรียกกันสั้นๆว่า “พระองค์พีระ”
เมื่อเสด็จกลับสยาม สื่อมวลชนไทยในสมัยนั้นถวายสมญาว่า " เจ้าดาราทอง " ราษฎรไปรับเสด็จกันคับคั่ง ทรงกลายเป็นวีรบุรุษในวงการกีฬาและขวัญใจประชาชน สีฟ้าสดของรถแข่งที่ทรงขับ เรียกกันว่าสีฟ้าพีระ หรือ Bira blue กลายเป็นสีฮิตกันพักใหญ่ของสาวๆ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นต้อนรับพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช แขกสาวๆในงานแต่งกายด้วยสีฟ้าสด สวยละลานตากันทั้งงาน
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ประสูติเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2457 ทรงถือกำเนิดเป็นหม่อมเจ้า พระโอรสในเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้เป็นพระราชอนุชาพระองค์เล็กร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมมารดาของพระองค์พีระ คือหม่อมเล็ก สกุลเดิม ยงใจยุทธ เป็นป้าของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนหม่อมเจ้าพีรพงศ์ภาณุเดชขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ภาษาชาวบ้านเรียกว่า " พระองค์เจ้าตั้ง " คือพระองค์เจ้าที่เลื่อนขึ้นจากหม่อมเจ้า โอรสธิดาของท่านดำรงฐานันดรเป็นหม่อมราชวงศ์ ตามลำดับฐานันดรเดิมของท่านพ่อ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตของพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ในเบื้องต้น ดำเนินไปเหมือนเจ้าชายในเทพนิยาย นอกจากชาติกำเนิดสูงแล้ว เจ้าชายสยามก็ยังมีการศึกษาดีเยี่ยมสำหรับเจ้าชายไทยในสมัยนั้น
ในปีพ.ศ.2463ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อพระชนม์ 13 ชันษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน อีตัน ณ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขึ้นชื่อที่สุดของอังกฤษ มีแต่เจ้านายและลูกผู้ดีมีตระกูลเรียนกันทั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยทรงศึกษาที่นี่เช่นกัน
พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นเด็กชายลักษณะดี เป็นที่เมตตาของผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาประหนึ่งเป็นพระราชบุตร ทรงรับไว้ในปกครอง
เมื่อเสด็จไปอังกฤษ พระองค์พีระทรงพบกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์( พระโอรสในเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) ซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ถ้าลำดับญาติกันแล้วพระองค์พีระอยู่ในฐานะอา และพระองค์จุลเป็นหลาน แต่ว่าพระองค์จุลทรงมีพระชันษาแก่กว่า 7 ปี เกิดถูกชะตาเหมือนเป็นพี่ชายน้องชายแท้ๆ
พระองค์จุลจึงทรงทูลขอ พระบรมราชา นุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอเป็นผู้ปกครองพระองค์พีระแทน ทรงสนับสนุนให้เข้าแข่งกีฬา จนได้ชัยชนะ โดยที่ทรงดูแลออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ และทรงอุปการะพระองค์พีระอย่างดีจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
เมื่อเสด็จกลับสยาม สื่อมวลชนไทยในสมัยนั้นถวายสมญาว่า " เจ้าดาราทอง " ราษฎรไปรับเสด็จกันคับคั่ง ทรงกลายเป็นวีรบุรุษในวงการกีฬาและขวัญใจประชาชน สีฟ้าสดของรถแข่งที่ทรงขับ เรียกกันว่าสีฟ้าพีระ หรือ Bira blue กลายเป็นสีฮิตกันพักใหญ่ของสาวๆ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นต้อนรับพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช แขกสาวๆในงานแต่งกายด้วยสีฟ้าสด สวยละลานตากันทั้งงาน
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ประสูติเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2457 ทรงถือกำเนิดเป็นหม่อมเจ้า พระโอรสในเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้เป็นพระราชอนุชาพระองค์เล็กร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมมารดาของพระองค์พีระ คือหม่อมเล็ก สกุลเดิม ยงใจยุทธ เป็นป้าของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนหม่อมเจ้าพีรพงศ์ภาณุเดชขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ภาษาชาวบ้านเรียกว่า " พระองค์เจ้าตั้ง " คือพระองค์เจ้าที่เลื่อนขึ้นจากหม่อมเจ้า โอรสธิดาของท่านดำรงฐานันดรเป็นหม่อมราชวงศ์ ตามลำดับฐานันดรเดิมของท่านพ่อ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตของพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ในเบื้องต้น ดำเนินไปเหมือนเจ้าชายในเทพนิยาย นอกจากชาติกำเนิดสูงแล้ว เจ้าชายสยามก็ยังมีการศึกษาดีเยี่ยมสำหรับเจ้าชายไทยในสมัยนั้น
ในปีพ.ศ.2463ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อพระชนม์ 13 ชันษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน อีตัน ณ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขึ้นชื่อที่สุดของอังกฤษ มีแต่เจ้านายและลูกผู้ดีมีตระกูลเรียนกันทั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยทรงศึกษาที่นี่เช่นกัน
พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นเด็กชายลักษณะดี เป็นที่เมตตาของผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาประหนึ่งเป็นพระราชบุตร ทรงรับไว้ในปกครอง
เมื่อเสด็จไปอังกฤษ พระองค์พีระทรงพบกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์( พระโอรสในเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) ซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ถ้าลำดับญาติกันแล้วพระองค์พีระอยู่ในฐานะอา และพระองค์จุลเป็นหลาน แต่ว่าพระองค์จุลทรงมีพระชันษาแก่กว่า 7 ปี เกิดถูกชะตาเหมือนเป็นพี่ชายน้องชายแท้ๆ
พระองค์จุลจึงทรงทูลขอ พระบรมราชา นุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอเป็นผู้ปกครองพระองค์พีระแทน ทรงสนับสนุนให้เข้าแข่งกีฬา จนได้ชัยชนะ โดยที่ทรงดูแลออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ และทรงอุปการะพระองค์พีระอย่างดีจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
นอกจากความสามารถในการแข่งรถ พระองค์พีระยังเป็นนักกีฬาที่โปรดการเล่นเรืออีกด้วย ที่น่าทึ่งมากคือทรงมี "หัว" ทางศิลปะ ควบคู่ไปกับการกีฬาจนตัดสินพระทัยไม่เข้าศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ แต่เบนเข็มไปศึกษาด้านประติมากรรมแทน
ทรงไปศึกษาเรื่องการวาดลายเส้นที่ Byam Shaw Art School ที่นี่เองทรงพบหญิงสาวสวยชาวอังกฤษชื่อ ซีริล เฮย์ค็อก ซีริลนั้นเป็นลูกผู้ดี พ่อมีเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ ส่วนทางตระกูลแม่ ก็เป็นพ่อค้าที่ร่ำรวยจนได้บรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ ญาติคนหนึ่งเคยเป็นนายกเทศมนตรีของลอนดอนผู้เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแล้ว
พระองค์พีระและซีริลหลงรักกันตั้งแต่แรกพบ จนกระทั่งได้แต่งงานกันในที่สุด เธอก็เลยกลายมาเป็นหม่อมซีริล ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เดินทางมาประเทศไทยพร้อมกับพระสวามี เธอชอบประเทศไทยมาก
หลังจากอยู่สยามได้ระยะหนึ่ง พระองค์พีระก็พาหม่อมกลับอังกฤษเพื่อเตรียมตัวแข่งขันรถ Grand Prix ต่อไปหลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี สงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้นจากเยอรมันบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ พระองค์พีระยังทรงอยู่ที่อังกฤษ ไม่ได้กลับสยาม
เหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศตอนนั้นวุ่นวายมาก ในตอนแรกสยามก็ดูจะเข้าข้างพันธมิตร แต่ต่อมา ญี่ปุ่นบุกไทยเป็นทางผ่านไปสู่พม่า รัฐบาลตัดสินใจยอมประนีประนอมเพื่อไม่ให้เสียเลือดเนื้อคนไทย แล้วก็ตกบันไดพลอยโจนคบญี่ปุ่นเป็นมหามิตร จนถึงขั้นประกาศเป็นฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น แล้วเลยกลายเป็นศัตรูกับฝ่ายพันธมิตรไปด้วย
ทูตไทยถูกเรียกตัวกลับ สถานทูตปิด พระองค์พีระไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย ก็ตัดสินพระทัยสมัครเข้าร่วมรบเป็นฝ่ายเดียวกับพันธมิตร เสด็จไปเข้าศูนย์ฝึกอบรมการบิน เข้าประจำศูนย์ในฐานะครูฝึกเครื่องร่อนซึ่งทรงชำนาญอยู่แล้ว ได้ตำแหน่งเป็นเรืออากาศโท มีลูกศิษย์ลูกหาชาวอังกฤษมากมาย เจ้านายสยามหลายพระองค์ที่อยู่อังกฤษ เข้าร่วมรบกับพันธมิตรต่อต้านเยอรมัน พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาพพระอนุชาพระองค์พีระ ที่เป็นพระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัครเข้าเป็นนักบินอาสาสมัคร นำเครื่องบินไปส่งลงเรือรบ นักเรียนไทยรวมกันจัดตั้งขบวนการเสรีไทย มีหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์เป็นหัวหน้า
น่าเสียดายว่าพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาพประสบอุบัติเหตุเครื่องบินชนภูเขาสิ้นพระชนม์ ส่วนพระองค์พีระทรงอยู่รอดปลอดภัยมาได้ตลอดสงคราม จนกระทั่งเยอรมันและญี่ปุ่นแพ้ฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกก็สงบลงใน พ.ศ. 2488 สันติภาพคืนมาสู่ยุโรป
ทรงไปศึกษาเรื่องการวาดลายเส้นที่ Byam Shaw Art School ที่นี่เองทรงพบหญิงสาวสวยชาวอังกฤษชื่อ ซีริล เฮย์ค็อก ซีริลนั้นเป็นลูกผู้ดี พ่อมีเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ ส่วนทางตระกูลแม่ ก็เป็นพ่อค้าที่ร่ำรวยจนได้บรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ ญาติคนหนึ่งเคยเป็นนายกเทศมนตรีของลอนดอนผู้เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแล้ว
พระองค์พีระและซีริลหลงรักกันตั้งแต่แรกพบ จนกระทั่งได้แต่งงานกันในที่สุด เธอก็เลยกลายมาเป็นหม่อมซีริล ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เดินทางมาประเทศไทยพร้อมกับพระสวามี เธอชอบประเทศไทยมาก
หลังจากอยู่สยามได้ระยะหนึ่ง พระองค์พีระก็พาหม่อมกลับอังกฤษเพื่อเตรียมตัวแข่งขันรถ Grand Prix ต่อไปหลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี สงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้นจากเยอรมันบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ พระองค์พีระยังทรงอยู่ที่อังกฤษ ไม่ได้กลับสยาม
เหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศตอนนั้นวุ่นวายมาก ในตอนแรกสยามก็ดูจะเข้าข้างพันธมิตร แต่ต่อมา ญี่ปุ่นบุกไทยเป็นทางผ่านไปสู่พม่า รัฐบาลตัดสินใจยอมประนีประนอมเพื่อไม่ให้เสียเลือดเนื้อคนไทย แล้วก็ตกบันไดพลอยโจนคบญี่ปุ่นเป็นมหามิตร จนถึงขั้นประกาศเป็นฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น แล้วเลยกลายเป็นศัตรูกับฝ่ายพันธมิตรไปด้วย
ทูตไทยถูกเรียกตัวกลับ สถานทูตปิด พระองค์พีระไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย ก็ตัดสินพระทัยสมัครเข้าร่วมรบเป็นฝ่ายเดียวกับพันธมิตร เสด็จไปเข้าศูนย์ฝึกอบรมการบิน เข้าประจำศูนย์ในฐานะครูฝึกเครื่องร่อนซึ่งทรงชำนาญอยู่แล้ว ได้ตำแหน่งเป็นเรืออากาศโท มีลูกศิษย์ลูกหาชาวอังกฤษมากมาย เจ้านายสยามหลายพระองค์ที่อยู่อังกฤษ เข้าร่วมรบกับพันธมิตรต่อต้านเยอรมัน พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาพพระอนุชาพระองค์พีระ ที่เป็นพระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัครเข้าเป็นนักบินอาสาสมัคร นำเครื่องบินไปส่งลงเรือรบ นักเรียนไทยรวมกันจัดตั้งขบวนการเสรีไทย มีหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์เป็นหัวหน้า
น่าเสียดายว่าพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาพประสบอุบัติเหตุเครื่องบินชนภูเขาสิ้นพระชนม์ ส่วนพระองค์พีระทรงอยู่รอดปลอดภัยมาได้ตลอดสงคราม จนกระทั่งเยอรมันและญี่ปุ่นแพ้ฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกก็สงบลงใน พ.ศ. 2488 สันติภาพคืนมาสู่ยุโรป
เมื่อสันติภาพคืนมาสู่สังคมยุโรปอีกครั้ง กิจกรรมสังคมอย่างการกีฬาก็เฟื่องฟูขึ้นมาอีก ชีวิตของเจ้าชายหนุ่มสยาม และชายาสาวชาวอังกฤษดำเนินไปเหมือนความฝันเท่าที่มนุษย์จะพึงมีได้ พรั่งพร้อมทั้งสุข ความรัก ชื่อเสียง ความสำเร็จ มีโอกาสท่องเที่ยวอย่างเศรษฐีไปในสถานที่สวยงามหลายแห่งของโลกด้วยกันทั้งยุโรปและอเมริกา
ไม่ว่าไปไหน ทรงเป็นแขกเกียรติยศของสมาคมและบุคคลสำคัญ ในฐานะบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ครั้งหนึ่งได้รับเชิญให้เข้าเฝ้าพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งอังกฤษ (พระราชบิดาของพระราชินีนาถเอลิซาเบธในปัจจุบัน)เพราะโปรดเรื่องรถแข่งมาก ทรงต้อนรับเจ้าชายสยามด้วยพระอัธยาศัยดีเหมือนเป็นพระญาติสนิทด้วยกัน
หม่อมมณี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา(คุณหญิงมณี สิริวรสาร)อดีตชายาของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต บันทึกเอาไว้เกี่ยวกับท่านในหนังสือ " ชีวิตเหมือนฝัน " ว่า
" นิสัยใจคอของสองพระองค์นั้นต่างกันมาก พระองค์จิรศักดิ์ฯ นั้นโปรดการสนทนาปราศรัยกับคนอื่น และมีจิตใจนึกถึงแต่ส่วนรวมเสมอ ส่วนพระองค์พีระฯทรงสนุกสนานร่าเริงกับสิ่งที่พอพระทัย ไม่สนพระทัยกับเรื่องราวของคนอื่นๆเลย
วันหนึ่งดิฉันล้อเลียนท่านว่า พระองค์เป็นเศรษฐีขี้คร้าน The Idle rich ไม่เห็นทรงทำสิ่งใดให้เป็นประโยชน์ คิดแต่ความสนุกสนานของท่านฝ่ายเดียว พระองค์พีระก็ทรงพระสรวลอย่างอารมณ์ดีและตรัสว่า
" ที่จริงพวกเธอน่ะสิที่ชอบวุ่นวาย อยากให้ความช่วยเหลือคนอื่นๆทั้งๆที่พวกเขาไม่เห็นต้องการ เช่นพวกมิชชั่นนารีเป็นต้น พวกนั้นพร้อมที่จะเสียสละทุกอย่างไปอยู่ต่างแดน ทำงานไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก แต่พวกเขาก็ไม่เห็นได้ทำอะไรให้เป็นผลสำเร็จมากนัก
ปรัชญาชีวิตของฉันก็คือว่า ไม่ขอไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตของคนอื่น และฉันทำสิ่งที่ฉันพอใจถ้าหากสามารถทำได้ ถึงแม้ว่าฉันจะมิได้ทำประโยชน์อะไรให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใด แต่ก็ไม่เคยทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อน การที่อยู่เฉยๆโดยไม่เบียดเบียนใครก็เป็นผลดีอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ "
ความสุขเหมือนฝันของพระองค์พีระและหม่อมซีริลยืนยาวได้แค่ 11 ปี ขึ้นปีที่ 12 ปรัชญาชีวิตของพระองค์พีระก็ก่อผลกระทบต่อหม่อม ในข้อที่ว่า “ขอทำสิ่งที่พอใจ ถ้าหากสามารถทำได้”
ความที่ทรงเป็นคนดัง บุคลิกดี ตรัสได้คล่องทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส และยังใช้ชีวิตอย่างเศรษฐี สิ่งเหล่านี้กลายเป็นแรงดึงดูดหญิงสาวอื่นๆให้เข้ามาหลงใหลท่าน พระองค์พีระมิได้เลิกรักหม่อมซีริล เพียงแต่ว่าทรงพอพระทัยที่จะทำตามพระทัยมากกว่าจะฝืนพระประสงค์ขององค์เอง ถ้าหากว่าหม่อมซีริลโอนอ่อนผ่อนตามได้ไม่เดือดร้อน ด้วยการทำใจเสียว่าหญิงอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่มีความหมายกับท่านเท่าภรรยาตามกฎหมาย ก็คงจะครองชีวิตคู่กันต่อไปได้ แต่ว่าหม่อมซีริลทำใจไม่ได้ที่พระองค์พีระมีหญิงอื่น แม้จะไม่ทรงจริงจังด้วยนัก เธอถือว่าเป็นความเดือดร้อนสาหัสของภรรยา เธอจึงตัดสินใจขอแยกกันอยู่พักหนึ่งเพื่อระงับจิตใจ
ระหว่างที่แยกกันอยู่โดยยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน สถานการณ์ก็ยิ่งทำให้ทั้งสองห่างเหินกันมากขึ้นอีก พระองค์พีระเสด็จไปแข่งรถที่อาร์เจนตินา ก็ได้พบชาลิต้า หญิงสาวเลือดละติน ผู้สวยสดงดงามราวกับดาราหนัง เมื่อทรงบาดเจ็บจากการแข่งรถ ก็มีหล่อนคอยปรนนิบัติดูแล
ในที่สุดก็ทรงพาชาลิต้ากลับมาอังกฤษด้วยกัน ประทับอยู่กับหล่อน ไม่ได้กลับบ้านไปหาหม่อมซีริล หม่อมซีริลจึงตัดสินใจขอหย่าขาดจากพระองค์พีระตามกฎหมาย เมื่อ พ.ศ.2493 ทั้งที่ยังรัก พระองค์พีระเองก็ทั้งรักและอาลัยหม่อม ทรงอ้อนวอนให้หม่อมเปลี่ยนใจไม่หย่า แต่ก็ไม่ทรงคิดที่จะสละชาลิต้าไปได้อยู่ดี ทั้งคู่จากกันด้วยน้ำตา เพราะรู้ตัวว่าสามารถครองคู่กันได้เพียงแค่นี้ เหลือแต่ความเป็นเพื่อนกันเท่านั้น
หม่อมซีริลไม่ได้แต่งงานใหม่ เธอมีเพื่อนใจเป็นหนุ่มโสดอายุ 40 กว่า คบหากันมาจนเขาตายจากไปโดยไม่ได้สมรสกัน ส่วนทางฝ่ายพระองค์พีระ ทรงลังเลอยู่ถึง 3 ปีถึงตัดสินพระทัยเสกสมรสใหม่กับหม่อมชาลิต้า แต่ก็ยังระลึกถึงหม่อมซีริลเสมอ ทรงเป็นมิตรกับเพื่อนชายของหม่อมซีริล แล้วพาชาลิต้าไปด้วยเพื่อให้รู้จักกับหม่อม ไปไหนมาไหนกัน 4 คนแต่หม่อมซีริลก็ไม่ได้กลับมาหาท่านอีก คงพบปะกันอย่างเพื่อนสนิทเท่านั้น
ไม่ว่าไปไหน ทรงเป็นแขกเกียรติยศของสมาคมและบุคคลสำคัญ ในฐานะบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ครั้งหนึ่งได้รับเชิญให้เข้าเฝ้าพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งอังกฤษ (พระราชบิดาของพระราชินีนาถเอลิซาเบธในปัจจุบัน)เพราะโปรดเรื่องรถแข่งมาก ทรงต้อนรับเจ้าชายสยามด้วยพระอัธยาศัยดีเหมือนเป็นพระญาติสนิทด้วยกัน
หม่อมมณี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา(คุณหญิงมณี สิริวรสาร)อดีตชายาของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต บันทึกเอาไว้เกี่ยวกับท่านในหนังสือ " ชีวิตเหมือนฝัน " ว่า
" นิสัยใจคอของสองพระองค์นั้นต่างกันมาก พระองค์จิรศักดิ์ฯ นั้นโปรดการสนทนาปราศรัยกับคนอื่น และมีจิตใจนึกถึงแต่ส่วนรวมเสมอ ส่วนพระองค์พีระฯทรงสนุกสนานร่าเริงกับสิ่งที่พอพระทัย ไม่สนพระทัยกับเรื่องราวของคนอื่นๆเลย
วันหนึ่งดิฉันล้อเลียนท่านว่า พระองค์เป็นเศรษฐีขี้คร้าน The Idle rich ไม่เห็นทรงทำสิ่งใดให้เป็นประโยชน์ คิดแต่ความสนุกสนานของท่านฝ่ายเดียว พระองค์พีระก็ทรงพระสรวลอย่างอารมณ์ดีและตรัสว่า
" ที่จริงพวกเธอน่ะสิที่ชอบวุ่นวาย อยากให้ความช่วยเหลือคนอื่นๆทั้งๆที่พวกเขาไม่เห็นต้องการ เช่นพวกมิชชั่นนารีเป็นต้น พวกนั้นพร้อมที่จะเสียสละทุกอย่างไปอยู่ต่างแดน ทำงานไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก แต่พวกเขาก็ไม่เห็นได้ทำอะไรให้เป็นผลสำเร็จมากนัก
ปรัชญาชีวิตของฉันก็คือว่า ไม่ขอไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตของคนอื่น และฉันทำสิ่งที่ฉันพอใจถ้าหากสามารถทำได้ ถึงแม้ว่าฉันจะมิได้ทำประโยชน์อะไรให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใด แต่ก็ไม่เคยทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อน การที่อยู่เฉยๆโดยไม่เบียดเบียนใครก็เป็นผลดีอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ "
ความสุขเหมือนฝันของพระองค์พีระและหม่อมซีริลยืนยาวได้แค่ 11 ปี ขึ้นปีที่ 12 ปรัชญาชีวิตของพระองค์พีระก็ก่อผลกระทบต่อหม่อม ในข้อที่ว่า “ขอทำสิ่งที่พอใจ ถ้าหากสามารถทำได้”
ความที่ทรงเป็นคนดัง บุคลิกดี ตรัสได้คล่องทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส และยังใช้ชีวิตอย่างเศรษฐี สิ่งเหล่านี้กลายเป็นแรงดึงดูดหญิงสาวอื่นๆให้เข้ามาหลงใหลท่าน พระองค์พีระมิได้เลิกรักหม่อมซีริล เพียงแต่ว่าทรงพอพระทัยที่จะทำตามพระทัยมากกว่าจะฝืนพระประสงค์ขององค์เอง ถ้าหากว่าหม่อมซีริลโอนอ่อนผ่อนตามได้ไม่เดือดร้อน ด้วยการทำใจเสียว่าหญิงอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่มีความหมายกับท่านเท่าภรรยาตามกฎหมาย ก็คงจะครองชีวิตคู่กันต่อไปได้ แต่ว่าหม่อมซีริลทำใจไม่ได้ที่พระองค์พีระมีหญิงอื่น แม้จะไม่ทรงจริงจังด้วยนัก เธอถือว่าเป็นความเดือดร้อนสาหัสของภรรยา เธอจึงตัดสินใจขอแยกกันอยู่พักหนึ่งเพื่อระงับจิตใจ
ระหว่างที่แยกกันอยู่โดยยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน สถานการณ์ก็ยิ่งทำให้ทั้งสองห่างเหินกันมากขึ้นอีก พระองค์พีระเสด็จไปแข่งรถที่อาร์เจนตินา ก็ได้พบชาลิต้า หญิงสาวเลือดละติน ผู้สวยสดงดงามราวกับดาราหนัง เมื่อทรงบาดเจ็บจากการแข่งรถ ก็มีหล่อนคอยปรนนิบัติดูแล
ในที่สุดก็ทรงพาชาลิต้ากลับมาอังกฤษด้วยกัน ประทับอยู่กับหล่อน ไม่ได้กลับบ้านไปหาหม่อมซีริล หม่อมซีริลจึงตัดสินใจขอหย่าขาดจากพระองค์พีระตามกฎหมาย เมื่อ พ.ศ.2493 ทั้งที่ยังรัก พระองค์พีระเองก็ทั้งรักและอาลัยหม่อม ทรงอ้อนวอนให้หม่อมเปลี่ยนใจไม่หย่า แต่ก็ไม่ทรงคิดที่จะสละชาลิต้าไปได้อยู่ดี ทั้งคู่จากกันด้วยน้ำตา เพราะรู้ตัวว่าสามารถครองคู่กันได้เพียงแค่นี้ เหลือแต่ความเป็นเพื่อนกันเท่านั้น
หม่อมซีริลไม่ได้แต่งงานใหม่ เธอมีเพื่อนใจเป็นหนุ่มโสดอายุ 40 กว่า คบหากันมาจนเขาตายจากไปโดยไม่ได้สมรสกัน ส่วนทางฝ่ายพระองค์พีระ ทรงลังเลอยู่ถึง 3 ปีถึงตัดสินพระทัยเสกสมรสใหม่กับหม่อมชาลิต้า แต่ก็ยังระลึกถึงหม่อมซีริลเสมอ ทรงเป็นมิตรกับเพื่อนชายของหม่อมซีริล แล้วพาชาลิต้าไปด้วยเพื่อให้รู้จักกับหม่อม ไปไหนมาไหนกัน 4 คนแต่หม่อมซีริลก็ไม่ได้กลับมาหาท่านอีก คงพบปะกันอย่างเพื่อนสนิทเท่านั้น
ชีวิตในช่วงที่สอง เป็นช่วงโชคดีของพระองค์พีระอีกครั้ง เพราะนอกจากจะมีหม่อมสาวสวยคนใหม่ที่รักกันดูดดื่มแล้ว ก็ยังได้รับมรดกก้อนใหญ่จากการขายมรดกวังบูรพาแบ่งกันในระหว่างเจ้าพี่เจ้าน้อง ทรงโอนเงินไปไว้ที่ปารีสทั้งหมด เงินจำนวนนี้มากพอจะทำให้พระองค์พีระทรงซื้อรถยนต์บูอิคเปิดประทุนสีฟ้าพีระ มีเรือยอชต์ใหม่ และปรับปรุงวิลลาที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสที่ทรงซื้อไว้แล้ว เพื่อดำเนินชีวิตอย่างเศรษฐี
การใช้ชีวิตในช่วงนี้หรูหรามาก เวลาขับบูอิคคันงามไปไหนมาไหนชาวปารีสมองกันจนเหลียวหลังสมกับเป็นคนดังระดับนานาชาติ แต่ข้อเสียคือการใช้ชีวิตอย่างเศรษฐี มีแต่รายจ่าย เมื่ออยู่วิลล่าที่เมืองคานส์ ก็ต้องเปลืองเงินทั้งค่าภาษีและค่าซ่อมแซมดูแลคฤหาสน์ด้วยราคาแพงลิบ เมื่อโปรดขับรถเร็ว วันหนึ่งก็ทรงขับบูอิคไปชนกับรถอีกคัน รถใหม่เอี่ยมพังยับเยิน ไม่มีประกันเสียด้วย ต้องทรงจ่ายเงินอีกก้อนใหญ่ซ่อมรถกับจ่ายให้คู่กรณี
ในที่สุด ถึงปลายปีพ.ศ. 2497 ก็ทรงเห็นว่าพ้นยุคที่จะทรงแข่งรถอีกต่อไปแล้ว รถแข่งรุ่นใหม่ๆสมรรถภาพดีเกิดขึ้น แซงหน้ารถที่ทรงขับไปได้ง่ายๆ ถ้าจะลงทุนซื้อรถใหม่พร้อมการดูแลในการแข่งรถอีกก็เป็นเรื่องสิ้นเปลืองมหาศาล ประกอบกับหม่อมชาลิต้ามีโอรส คือหม่อมราชวงศ์ พีรเดช จึงตัดสินพระทัยแขวนนวมอำลาชีวิตนักแข่ง พาครอบครัวกลับมาตั้งรกรากในเมืองไทยใน พ.ศ. 2499 ทรงจบบทบาทของเจ้าดาราทองที่โด่งดังไปทั่วยุโรปและอเมริกา เมื่อพระชนม์ได้ 42 พรรษา
ถ้าหากว่าชีวิตของพระองค์พีระเป็นนิยาย ฉากสุดท้ายก็คงเป็นตอนที่ทรงอำลาชีวิตนักแข่งรถ แล้วเสด็จกลับบ้านเกิดเมืองนอนพร้อมครอบครัวที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนพ่อ แม่และลูกชายวัยน่ารัก จบลงอย่างมีความสุขทั้งคนดูและผู้ประพันธ์เรื่อ
ในเมื่อเป็นชีวิตจริง เรื่องยังไม่จบแค่นั้น ยังมีความยุ่งยากตามมาอีกมากมาย เริ่มต้นด้วย หม่อมชาลิต้าไม่มีความสุขที่อยู่ในประเทศไทย เธอทนอยู่ได้แค่ 11 วันก็บินกลับไปฝรั่งเศส อีก 7 เดือนต่อมาพระองค์พีระก็ทรงบินไปหย่าขาดจากหม่อมคนที่สอง โดยตกลงกันว่าคุณชายพีรเดชจะอยู่ในความปกครองของมารดาจนอายุ 21 ปี
ก่อนหน้านี้พระองค์พีระเคยพบปะแอร์โฮสเตสสาวสวยคนไทยคนหนึ่งแล้ว ทรงพอพระทัยมากถึงกับเคยเชิญเธอไปเป็นแขก ณ วิลล่าที่เมืองคานส์ ทำให้หม่อมชาลิต้าหึงหวงอยู่พักใหญ่ แต่ก็จบลงด้วยการที่ทรงคืนดีกับหม่อมแล้วใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกันต่อมา หญิงสาวสวยชาวไทยคนนี้ ก็คือคุณสาลิกา กะลันตานนท์
คุณสาลิกาคือหม่อมคนที่สามของพระองค์พีระ ทรงสมรสด้วยเมื่อพ.ศ. 2500 ส่วนเรื่องงาน ก็ทรงเริ่มชีวิตนักธุรกิจ ตั้งบริษัท Bira Sport เป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ nectar จากเยอรมัน
วงล้อแห่งโชคชะตาได้หมุนพาพระองค์พีระขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่พระชนม์ยี่สิบเศษๆ มาแล้ว แล้วหยุดนิ่งอยู่ตรงจุดสูงสุด จนถึงพระชนม์สี่สิบเศษ หลังจากนั้นวงล้อก็เริ่มหมุนลง
เริ่มต้นด้วยธุรกิจรถยนต์สั่งจากเยอรมัน ต้องล้มเลิกไป พระองค์พีระเป็นนักกีฬาระดับอัจฉริยะก็จริง แต่ไม่ทรงมีหัวทางธุรกิจ เพียงสามปีก็ทรงจำต้องเลิกกิจการ แล้วตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Bira Commmerce Co. แทน ต่อมาทรงดำริจะตั้งบริษัทเกี่ยวกับการบินชื่อ Bira Air Transport เพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างไทยกับลอนดอนแต่ธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอดอีก
การใช้ชีวิตในช่วงนี้หรูหรามาก เวลาขับบูอิคคันงามไปไหนมาไหนชาวปารีสมองกันจนเหลียวหลังสมกับเป็นคนดังระดับนานาชาติ แต่ข้อเสียคือการใช้ชีวิตอย่างเศรษฐี มีแต่รายจ่าย เมื่ออยู่วิลล่าที่เมืองคานส์ ก็ต้องเปลืองเงินทั้งค่าภาษีและค่าซ่อมแซมดูแลคฤหาสน์ด้วยราคาแพงลิบ เมื่อโปรดขับรถเร็ว วันหนึ่งก็ทรงขับบูอิคไปชนกับรถอีกคัน รถใหม่เอี่ยมพังยับเยิน ไม่มีประกันเสียด้วย ต้องทรงจ่ายเงินอีกก้อนใหญ่ซ่อมรถกับจ่ายให้คู่กรณี
ในที่สุด ถึงปลายปีพ.ศ. 2497 ก็ทรงเห็นว่าพ้นยุคที่จะทรงแข่งรถอีกต่อไปแล้ว รถแข่งรุ่นใหม่ๆสมรรถภาพดีเกิดขึ้น แซงหน้ารถที่ทรงขับไปได้ง่ายๆ ถ้าจะลงทุนซื้อรถใหม่พร้อมการดูแลในการแข่งรถอีกก็เป็นเรื่องสิ้นเปลืองมหาศาล ประกอบกับหม่อมชาลิต้ามีโอรส คือหม่อมราชวงศ์ พีรเดช จึงตัดสินพระทัยแขวนนวมอำลาชีวิตนักแข่ง พาครอบครัวกลับมาตั้งรกรากในเมืองไทยใน พ.ศ. 2499 ทรงจบบทบาทของเจ้าดาราทองที่โด่งดังไปทั่วยุโรปและอเมริกา เมื่อพระชนม์ได้ 42 พรรษา
ถ้าหากว่าชีวิตของพระองค์พีระเป็นนิยาย ฉากสุดท้ายก็คงเป็นตอนที่ทรงอำลาชีวิตนักแข่งรถ แล้วเสด็จกลับบ้านเกิดเมืองนอนพร้อมครอบครัวที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนพ่อ แม่และลูกชายวัยน่ารัก จบลงอย่างมีความสุขทั้งคนดูและผู้ประพันธ์เรื่อ
ในเมื่อเป็นชีวิตจริง เรื่องยังไม่จบแค่นั้น ยังมีความยุ่งยากตามมาอีกมากมาย เริ่มต้นด้วย หม่อมชาลิต้าไม่มีความสุขที่อยู่ในประเทศไทย เธอทนอยู่ได้แค่ 11 วันก็บินกลับไปฝรั่งเศส อีก 7 เดือนต่อมาพระองค์พีระก็ทรงบินไปหย่าขาดจากหม่อมคนที่สอง โดยตกลงกันว่าคุณชายพีรเดชจะอยู่ในความปกครองของมารดาจนอายุ 21 ปี
ก่อนหน้านี้พระองค์พีระเคยพบปะแอร์โฮสเตสสาวสวยคนไทยคนหนึ่งแล้ว ทรงพอพระทัยมากถึงกับเคยเชิญเธอไปเป็นแขก ณ วิลล่าที่เมืองคานส์ ทำให้หม่อมชาลิต้าหึงหวงอยู่พักใหญ่ แต่ก็จบลงด้วยการที่ทรงคืนดีกับหม่อมแล้วใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกันต่อมา หญิงสาวสวยชาวไทยคนนี้ ก็คือคุณสาลิกา กะลันตานนท์
คุณสาลิกาคือหม่อมคนที่สามของพระองค์พีระ ทรงสมรสด้วยเมื่อพ.ศ. 2500 ส่วนเรื่องงาน ก็ทรงเริ่มชีวิตนักธุรกิจ ตั้งบริษัท Bira Sport เป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ nectar จากเยอรมัน
วงล้อแห่งโชคชะตาได้หมุนพาพระองค์พีระขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่พระชนม์ยี่สิบเศษๆ มาแล้ว แล้วหยุดนิ่งอยู่ตรงจุดสูงสุด จนถึงพระชนม์สี่สิบเศษ หลังจากนั้นวงล้อก็เริ่มหมุนลง
เริ่มต้นด้วยธุรกิจรถยนต์สั่งจากเยอรมัน ต้องล้มเลิกไป พระองค์พีระเป็นนักกีฬาระดับอัจฉริยะก็จริง แต่ไม่ทรงมีหัวทางธุรกิจ เพียงสามปีก็ทรงจำต้องเลิกกิจการ แล้วตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Bira Commmerce Co. แทน ต่อมาทรงดำริจะตั้งบริษัทเกี่ยวกับการบินชื่อ Bira Air Transport เพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างไทยกับลอนดอนแต่ธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอดอีก
หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลงในพ.ศ. 2488 ประเทศไทยได้มหามิตรรายใหม่คือสหรัฐอเมริกา วัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบอเมริกันหลั่งไหลเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมยุโรปที่เคยรับมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 รถยนต์อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมันที่คนไทยเคยชอบก็ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ยี่ห้อต่างๆของอเมริกาแทนรถอเมริกันอย่างไครสเลอร์ คาดิลแลค โอลสโมบิล พลีมัธ วิ่งกันหนาตาในช่วงปีพ.ศ. 2500 – 2510 กิจการบริษัทของพระองค์พีระก็ต้องปิดลงอีกครั้ง
เรื่องที่สองคือผู้เป็นที่รักยิ่งของท่าน จากไปทั้งสองคนในปีเดียวกัน พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เมื่อพ.ศ. 2506 ส่วนหม่อมสาลิกาผู้ครองรักกันอย่างเป็นสุขมา 6 ปีก็จำใจทูลลาหย่าขาดจากท่าน จากกันด้วยน้ำตาเช่นเดียวกับหม่อมซีริล
ความสูญเสียของพระองค์พีระไม่ได้จบลงแค่นี้ 8 ปีต่อมา หม่อมราชวงศ์ พีรเดช ผู้กำลังเป็นหนุ่มวัยรุ่น น่าจะมีอนาคตอีกไกล กลับเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับ อย่างไม่น่าเชื่อสำหรับเด็กหนุ่มวัยนี้
หลังพ.ศ.2506 เมื่อหม่อมสาลิกาแยกทางไปแล้ว ชีวิตหลังจากนั้นค่อนข้างคลุมเครือสำหรับผู้สนใจศึกษาชีวประวัติ ทราบแต่ว่า พระองค์เจ้าพีระทรงมีหม่อมอีก 2 คนที่ไม่ปรากฏชื่อในสังคม และหนึ่งในจำนวนนี้มีโอรส(หรือธิดา)ด้วยกัน แต่ไม่มีรายละเอียดให้ทราบมากกว่านั้น
ที่รู้คือในพ.ศ. 2514 เสด็จไปยุโรปอีกครั้ง เพื่อเตรียมแข่งขันเรือใบสำหรับกีฬาโอลิมปิคที่เยอรมนี แล้วแวะเยี่ยมหม่อมซีริลที่อิตาลี ต่อจากนั้น ข่าวคราวของพระองค์พีระหายเงียบไปจากสังคม อาจจะมีแต่พระญาติสนิทเท่านั้นที่รู้ว่าทรงอยู่ที่ไหนอย่างไร
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังสงครามโลก เป็นหนุ่มสาวในทศวรรษ 1960 เกือบทั้งหมดไม่รู้จักพระนามเจ้าดาราทองอีกแล้วสังคมไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไปมากมาย ความสนใจของหนุ่มสาวมุ่งไปที่เสียงเพลงมากกว่ากีฬา หรือถ้ามีการแข่งขันกีฬาใหญ่โตอย่างเอเชียนเกมส์ ความสนใจก็พุ่งไปที่กีฬาฟุตบอล วิ่ง ว่ายน้ำ เสียมากกว่า
เวลาผ่านไปจนถึงทศวรรษ 1970 ความโอ่อ่ารุ่งเรืองในอดีตกลายเป็นเรื่องที่ถูกเก็บลงหีบ หมดสิ้นไปกับกาลเวลา พระองค์พีระมีพระชนม์หกสิบเศษ อาจจะเสด็จปะปนไปกับฝูงชนริมถนนในกรุงเทพมหานครโดยไม่มีใครรู้จักว่าชายชราผู้นี้คือใคร ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ เท่าที่ทราบคือทรงดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย ฐานะความเป็นอยู่ก็ไม่อำนวยให้ทรงอยู่ได้อย่างชั้นหนึ่งเหมือนเมื่อก่อนอีก
เมื่อพ.ศ. 2526 เสด็จกลับไปอังกฤษอีกครั้ง เก็บพระองค์อย่างชายชราที่ไม่มีใครรู้จัก ทรงแวะเยี่ยมหม่อมซีริลเป็นครั้งสุดท้าย
สองวันก่อนคริสต์มาส 23 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ผู้คนในลอนดอนกำลังชุลมุนวุ่นวายจับจ่ายซื้อข้าวของต้อนรับเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวคริสต์ ชายชราคนหนึ่งล้มลงที่สถานีรถไฟบารอนส์คอร์ต สิ้นลมหายใจก่อนแก้ไขทัน
ไม่มีใครทราบว่าชายชาวเอเชียคนนี้เป็นใคร ไม่มีหลักฐานชื่อที่อยู่ในตัวเขา นอกจากจดหมายเขียนเป็นภาษาที่ตำรวจอ่านไม่ออก สก๊อตแลนด์ยาร์ดส่งจดหมายไปสอบถามผู้เชียวชาญทางภาษาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน กินเวลาถึง 7 วันก่อนจะรู้และแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ในลอนดอนว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เจ้าดาราทองผู้โด่งดังที่สุดเมื่อ 50 ปีก่อนสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระชนม์ 71 พรรษา
BBC ออกข่าวโทรทัศน์ทั่วประเทศทั้งเช้า กลางวัน เย็น ถือเป็นข่าวใหญ่ ITV ออกข่าวไปทั่วโลก ข่าวสิ้นพระชนม์ลงข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยทุกฉบับ รวมทั้งนสพ.อังกฤษและประเทศอื่นๆที่เคยทรงทำชื่อเสียงไว้
สถานทูตจัดพิธีสวดพระอภิธรรมถวายอย่างสมพระเกียรติ บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่อยู่ในอังกฤษได้รับแจ้งข่าวนี้ทั้งหมด เมื่อพระศพถูกเคลื่อนย้ายไปที่สุสานเพื่อถวายพระเพลิง นักแข่งรถดังๆสมัยเดียวกันรวมตัวกันทั่วยุโรป บินมาร่วมแสดงความคารวะ หม่อมราชวงศ์ นริศรา จักรพงษ์ ธิดาในพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เป็นผู้อัญเชิญธูปเทียนพระราชทานมาร่วมงาน ข้าราชการไทยในสถานทูตไปร่วมงานกันทั้งหมด
หม่อมราชวงศ์ มาลินี จักรพันธุ์ ผู้รวบรวมประวัติของท่าน ส่งท้ายไว้อย่างงดงามว่า
“ ดวงพระวิญญาณลอยละล่องขึ้นสู่สรวงสวรรค์ พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างโดดเดี่ยว เพียงแค่จดหมายภาษาไทยหนึ่งฉบับที่ทรงทิ้งไว้เพื่อส่งท้ายให้ได้ทราบว่าพระองค์คือใคร เทพส่งพระองค์ท่านลงมาจุติอย่างงามสง่า พระนามขจรขจายก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปทั่วโลก และเทพได้นำพระองค์ท่าน “ เจ้าดาราทอง” เสด็จกลับขึ้นไปอย่างเดียวดาย เหมือนสวรรค์แกล้งให้โลกลืม” หนังสืออ้างอิง
เรื่องที่สองคือผู้เป็นที่รักยิ่งของท่าน จากไปทั้งสองคนในปีเดียวกัน พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เมื่อพ.ศ. 2506 ส่วนหม่อมสาลิกาผู้ครองรักกันอย่างเป็นสุขมา 6 ปีก็จำใจทูลลาหย่าขาดจากท่าน จากกันด้วยน้ำตาเช่นเดียวกับหม่อมซีริล
ความสูญเสียของพระองค์พีระไม่ได้จบลงแค่นี้ 8 ปีต่อมา หม่อมราชวงศ์ พีรเดช ผู้กำลังเป็นหนุ่มวัยรุ่น น่าจะมีอนาคตอีกไกล กลับเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับ อย่างไม่น่าเชื่อสำหรับเด็กหนุ่มวัยนี้
หลังพ.ศ.2506 เมื่อหม่อมสาลิกาแยกทางไปแล้ว ชีวิตหลังจากนั้นค่อนข้างคลุมเครือสำหรับผู้สนใจศึกษาชีวประวัติ ทราบแต่ว่า พระองค์เจ้าพีระทรงมีหม่อมอีก 2 คนที่ไม่ปรากฏชื่อในสังคม และหนึ่งในจำนวนนี้มีโอรส(หรือธิดา)ด้วยกัน แต่ไม่มีรายละเอียดให้ทราบมากกว่านั้น
ที่รู้คือในพ.ศ. 2514 เสด็จไปยุโรปอีกครั้ง เพื่อเตรียมแข่งขันเรือใบสำหรับกีฬาโอลิมปิคที่เยอรมนี แล้วแวะเยี่ยมหม่อมซีริลที่อิตาลี ต่อจากนั้น ข่าวคราวของพระองค์พีระหายเงียบไปจากสังคม อาจจะมีแต่พระญาติสนิทเท่านั้นที่รู้ว่าทรงอยู่ที่ไหนอย่างไร
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังสงครามโลก เป็นหนุ่มสาวในทศวรรษ 1960 เกือบทั้งหมดไม่รู้จักพระนามเจ้าดาราทองอีกแล้วสังคมไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไปมากมาย ความสนใจของหนุ่มสาวมุ่งไปที่เสียงเพลงมากกว่ากีฬา หรือถ้ามีการแข่งขันกีฬาใหญ่โตอย่างเอเชียนเกมส์ ความสนใจก็พุ่งไปที่กีฬาฟุตบอล วิ่ง ว่ายน้ำ เสียมากกว่า
เวลาผ่านไปจนถึงทศวรรษ 1970 ความโอ่อ่ารุ่งเรืองในอดีตกลายเป็นเรื่องที่ถูกเก็บลงหีบ หมดสิ้นไปกับกาลเวลา พระองค์พีระมีพระชนม์หกสิบเศษ อาจจะเสด็จปะปนไปกับฝูงชนริมถนนในกรุงเทพมหานครโดยไม่มีใครรู้จักว่าชายชราผู้นี้คือใคร ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ เท่าที่ทราบคือทรงดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย ฐานะความเป็นอยู่ก็ไม่อำนวยให้ทรงอยู่ได้อย่างชั้นหนึ่งเหมือนเมื่อก่อนอีก
เมื่อพ.ศ. 2526 เสด็จกลับไปอังกฤษอีกครั้ง เก็บพระองค์อย่างชายชราที่ไม่มีใครรู้จัก ทรงแวะเยี่ยมหม่อมซีริลเป็นครั้งสุดท้าย
สองวันก่อนคริสต์มาส 23 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ผู้คนในลอนดอนกำลังชุลมุนวุ่นวายจับจ่ายซื้อข้าวของต้อนรับเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวคริสต์ ชายชราคนหนึ่งล้มลงที่สถานีรถไฟบารอนส์คอร์ต สิ้นลมหายใจก่อนแก้ไขทัน
ไม่มีใครทราบว่าชายชาวเอเชียคนนี้เป็นใคร ไม่มีหลักฐานชื่อที่อยู่ในตัวเขา นอกจากจดหมายเขียนเป็นภาษาที่ตำรวจอ่านไม่ออก สก๊อตแลนด์ยาร์ดส่งจดหมายไปสอบถามผู้เชียวชาญทางภาษาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน กินเวลาถึง 7 วันก่อนจะรู้และแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ในลอนดอนว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เจ้าดาราทองผู้โด่งดังที่สุดเมื่อ 50 ปีก่อนสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระชนม์ 71 พรรษา
BBC ออกข่าวโทรทัศน์ทั่วประเทศทั้งเช้า กลางวัน เย็น ถือเป็นข่าวใหญ่ ITV ออกข่าวไปทั่วโลก ข่าวสิ้นพระชนม์ลงข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยทุกฉบับ รวมทั้งนสพ.อังกฤษและประเทศอื่นๆที่เคยทรงทำชื่อเสียงไว้
สถานทูตจัดพิธีสวดพระอภิธรรมถวายอย่างสมพระเกียรติ บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่อยู่ในอังกฤษได้รับแจ้งข่าวนี้ทั้งหมด เมื่อพระศพถูกเคลื่อนย้ายไปที่สุสานเพื่อถวายพระเพลิง นักแข่งรถดังๆสมัยเดียวกันรวมตัวกันทั่วยุโรป บินมาร่วมแสดงความคารวะ หม่อมราชวงศ์ นริศรา จักรพงษ์ ธิดาในพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เป็นผู้อัญเชิญธูปเทียนพระราชทานมาร่วมงาน ข้าราชการไทยในสถานทูตไปร่วมงานกันทั้งหมด
หม่อมราชวงศ์ มาลินี จักรพันธุ์ ผู้รวบรวมประวัติของท่าน ส่งท้ายไว้อย่างงดงามว่า
“ ดวงพระวิญญาณลอยละล่องขึ้นสู่สรวงสวรรค์ พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างโดดเดี่ยว เพียงแค่จดหมายภาษาไทยหนึ่งฉบับที่ทรงทิ้งไว้เพื่อส่งท้ายให้ได้ทราบว่าพระองค์คือใคร เทพส่งพระองค์ท่านลงมาจุติอย่างงามสง่า พระนามขจรขจายก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปทั่วโลก และเทพได้นำพระองค์ท่าน “ เจ้าดาราทอง” เสด็จกลับขึ้นไปอย่างเดียวดาย เหมือนสวรรค์แกล้งให้โลกลืม” หนังสืออ้างอิง
- ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ " เจ้าชายดาราทอง " โดย หญิงหมัด (หม่อมราชวงศ์ มาลินี จักรพันธุ์ )
- ชีวิตเหมือนฝัน เล่ม 1 โดย คุณหญิงมณี สิริวรสาร
ขอบคุณเครดิต https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/chaodarathong/05.html